ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    045911 สิทธิในการดูแลบุตรเบื่อชีวิตครอบครัว28 พฤศจิกายน 2554

    คำถาม
    สิทธิในการดูแลบุตร

    เรียน ท่านอาจารย์

            ปัจจุบันแต่งงานจดทะเบียน มีบุตร 2 คน 3 ขวบ กับ 1 ขวบ รับราชการทั้งคู่ ผมเงินเดือน ห้าหมื่นกว่าบาท ภรรยา หมื่นกว่าบาท   ปัญหาที่ไกล้หมดความอดทน

    - ภรรยาไม่เคยปฏิบัติหน้าที่ตามที่ควรจะปฏิบัติเลย ตลอด  5 ปี หลังการแต่งงาน

    - ไม่เคยให้เกียรติ  นิสัยก้าวร้าว เอาแต่ใจตัวเอง

    - ทุกสิ่งทุกอย่างที่หามาให้เก็บออม  ให้ใช้  ประเคนให้ญาติพี่น้องถลุงหมด

    - พยามแยกครอบครัวเพื่อสร้างฐานะ แต่ก็ไม่สามารถทำได้เลย  พี่ชาย น้องชาย ขนลูก (ลิงเรียกพี่ )มาฝากให้ดูแล เป็นสิบ วันๆ มีแต่ทะเลาะ เสียงด่าหยาบคายทั้งวัน  ผมต้องรับค่าใช้จ่ายทุกอย่าง และไม่อยากให้ลูกโตมากับสิ่งแวดล้อมแบบนี้

       ขอร้องด้วยการพูดคุยดีๆ ให้แยก หรือลาออกมาเลี้ยงลูก  ให้พี่ ให้น้องเขามีความรับผิดชอบบ้าง แต่ไม่รับรู้ โมโห เกรี้ยวกราด ทั้งที่ครอบครัวของพ่อตาแม่ยาย ผมต้องรับผิดชอบเกือบร้อยเปอร์เซ็น แต่สิ่งที่ได้รับมีแต่ดูถูกนานา  ทุกวันนี้ทนเพราะไม่อยากให้ลูกลำบาก  อยากอย่าขาดเพื่อเอาเด็กมาส่งเสียให้เรียนโดยที่ผมไม่คิดมีครอบครัวใหม่อีกแล้ว  สามารถทำได้อย่างไรในการดูแลเด็ก ซึ่งหากให้ภรรยาเลี้ยงดูก็ไม่พ้นภาคบังคับ

    คำตอบ

    ทำได้ ๒ ทาง คือ

        1. ทำใจให้ได้ว่าเคยทำกรรมเก่ากับเขามา และชาตินี้กำลังชดใช้กรรมนั้น แล้วทำใจให้อยู่กับมันได้ โดยคิดเสียว่าอะไรจะเกิดก็ปล่อยให้มันเกิดไป สุดแต่เวรกรรม

        2. หาทางหย่าจากเขาเสีย ซึ่งการจะหย่าขาดจากกันทำได้ ๒ ทาง คือ ทางหนึ่งตกลงกันดี ๆ แล้วจูงมือกันไปหย่าที่อำเภอ หรือ อีกทางหนึ่งฟ้องหย่า ซึ่งมาตรา ๑๕๑๖ กำหนดเหตุหย่าไว้ ๑๒ เหตุ  ๆ หนึ่งที่พอจะเข้าเค้าก็คือ เหตุประการที่ ๒ และประการที่ ๓ ซึ่งมีดังนี้

        (๒) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง

           (ก) ได้รับความอัยอายขายหน้าอย่างร้ายแรง

           (ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีภริยาของฝ่ายที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ

           (ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ

         (๓) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจหรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    28 พฤศจิกายน 2554