ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    045744 การบังคับตามสัญญาไกล่เกลี่ยคนทุกข์ใจ6 ตุลาคม 2554

    คำถาม
    การบังคับตามสัญญาไกล่เกลี่ย

    เรียน อาจารย์มีชัย

    ญาติของผม (สมมุติชื่อนาย ก.) อยู่กินกับภรรยา โดยมิได้จดทะเบียนสมรส มีบุตรด้วยกันสองคน อายุ 12 และ 14 ปี  แต่นาย ก. ได้จดทะเบียนรับรองบุตรเพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้ตั้งแต่ลูกเกิด นาย ก.พักอาศัยอยู่กับภรรยาและลูกทั้งสองคนในบ้านพักที่ นาย ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ เป็นเช่นนี้มาโดยตลอดเป็นเวลาเกือบ 20 ปี

    เมื่อต้นปีที่ผ่านมานี้เอง ภรรยาของนาย ก. พาลูกทั้งสองไปพักอาศัยอยู่กับญาติที่ต่างจังหวัด เมื่อเวลาผ่านไปหลายสัปดาห์ นาย ก. ติดต่อกับภรรยาเพื่อขอให้พาลูกกลับบ้านเพราะใกล้เปิดภาคเรียน แต่ภรรยาก็หลีกเลี่ยงไม่รับโทรศัพท์ และปิดกั้นการติดต่อใดๆโดยสิ้นเชิง จนเวลาผ่านพ้นไปประมาณ 6 เดือน นาย ก. จึงได้ตรวจพบว่าภรรยาได้โอนชื่อของตัวเขาเองและชื่อของลูกทั้งสองออกจากทะเบียนบ้าน (แจ้งย้ายปลายทาง) และต่อมานาย ก. ก็ได้รับหมายศาล ภรรยาเป็นโจทก์ ฟ้องกล่าวหาว่านาย ก.ละเลยไม่ดูแลบุตรมาเป็นเวลาหลายปี ขอให้นาย ก. จ่ายค่าเลี้ยงดูบุตร และขอให้ศาลถอนอำนาจปกครองบุตรของนาย ก.

    เมื่อนาย ก. ไปศาล ศาลแนะนำให้เข้าสู้กระบวนการไกล่เกลี่ย ซึ่งก็ลงเอยด้วยสัญญาที่มีข้อตกลงดังนี้

    1. นาย ก. ยินยอมชำระเงินค่าเลี้ยงดูบุตร (ในอัตราที่ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกัน) และให้ภรรยาเป็นผู้ดูแลบุตร

    2. ภรรยาของนาย ก. ยินยอมให้ นาย ก. พบและพาลูกไปเที่ยว นอกเวลาเรียน และช่วงปิดภาคเรียน

    หลังจากที่ได้ทำสัญญาต่อหน้าศาล ภรรยาของนาย ก. ก็ยังมีพฤติกรรมคงเดิมทุกประการ กล่าวคือปิดกั้นการสื่อสารระหว่างนาย ก.กับตัวเขา และลูกทั้งสอง โดยวิธีการไม่รับโทรศัพท์ และซ้ำยังยกเลิกการใช้บริการหมายเลขโทรศัพท์เดิมทุกหมายเลข (เข้าใจว่าเปลี่ยนไปใช้หมายเลขใหม่)

    นาย ก. ทำงานบริษัทเอกชน ซื้อรถยนต์ไว้ให้ภรรยาใช้รับส่งลูก ส่วนตัวนาย ก. ใช้บริการรถประจำทางเพื่อเดินทางไปทำงาน ซึ่งต้องออกจากบ้านแต่เช้าและกลับเมื่อมืดค่ำเป็นประจำ ลูกของนาย ก. จึงคลุกคลีและสนิทสนมกับมารดามากกว่าบิดา

    นาย ก.ไม่เคยมีเรื่องโกรธแค้นหรือบาดหมางกับภรรยา จึงได้พยายามทุกวิถีทางที่จะเข้าพูดคุยกับภรรยา และลูกทั้งสอง แต่ก็ไม่สามารถกระทำ นาย ก. เสียใจและท้อใจมาก  ไม่ห็นหนทางที่จะได้ใช้สิทธิในการเยี่ยมเยียนหรือพูดคุยกับลูกของตนเองตามข้อตกลงในสัญญาเลย

    ผมขอรบกวน เรียนถามอาจารย์ดังนี้

    1. ในกรณีนี้ ภรรยาของนาย ก. ไม่ทำตามสัญญา นาย ก. จะงดส่งค่าเลี้ยงดูบุตรได้หรือไม่ หาก นาย ก. งดส่งค่าเลี้ยงดูบุตร ผลที่ตามมาจะเป็นอย่างไรในด้ายกฎหมาย

    2. นาย ก.สามารถขอยกเลิกสัญญาที่ทำไว้ที่ศาลดังกล่าวได้หรือไม่ เนื่องจากฝ่ายภรรยาไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง และมีวิธีการยกเลิกสัญญานี้ได้อย่างไร

    ผมหวังว่าจะได้รับคำชี้แนะจากอาจารย์ และขอกราบขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ครับ

     

     

     

     

     

    คำตอบ

    1.-2. การที่ภรรยาไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง ก็เป็นเรื่องระหว่างนาย ก.กับภรรยา ไม่เกี่ยวกับค่าเลี้ยงดูบุตร ซึ่งเป็นหน้าที่ของนาย ก.ที่จะต้องส่งเสียบุตร  ทางที่ดีจึงควรส่งต่อไป แต่ในส่วนที่ภรรยากีดกันไม่ให้พบบุตรหรือไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง นาย ก.ก็อาจร้องขอต่อศาลเพื่อบังคับให้ภรรยาปฏิบัติตามข้อตกลง หรือถอนอำนาจปกครองเพื่อนำบุตรมาดูแลเอง (ถ้าการที่บุตรอยู่กับภรรยาแล้วจะทำให้เสียประโยชน์แก่เด็ก)


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    6 ตุลาคม 2554