ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    043686 การแบ่งมรดกให้ลูก6คนอภิชัย ตั่งมั่นความดี9 กุมภาพันธ์ 2554

    คำถาม
    การแบ่งมรดกให้ลูก6คน

    ผมมีพี่น้องรวมทั้งตัวผม6คนปัจจุบันพ่อแม่ยังมีชีวิตอยู่น้องสาวคนสุดท้องมีสามีและจดทะเบียนสมรสมีลูก2คนอยู่ในบ้านพ่อกับแม่ พี่สาวลูกคนที3ของพ่อแม่แสดงความเห็นให้พ่อแม่จัดการแบ่งมรดกที่ดินที่อยู่ปัจจุบันถามว่าพ่อแม่ต้องกันส่วนหนึ่งไว้เป็นของพ่อกับแม่ด้วยหรือเปล่า ปัจจุบันพ่ออายุ78แม่อายุ76 และส่วนที่เป็นของพ่อแม่ ต้องเป็นบ้านที่อยู่ปัจจุบันหรือไม่ พี่น้อง6คนถือเป็นกรรมสิทธ์ร่วมบ้านของพ่อแม่ได้ไหม เพราะน้องสาวคนสุดท้องอยากได้บ้านและที่ดินทีอยู่ปัจุบัน

    คำตอบ
    ความเข้าใจของพวกคุณ เป็นความเข้าใจที่ผิด ที่คิดว่าทรัพย์สินของพ่อแม่ เป็นมรดกที่พวกคุณมีสิทธิ  ในทางกฎหมายนั้น ทันทีที่พวกคุณอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ หน้าที่ของพ่อแม่ที่จะต้องดูแลเลี้ยงดูพวกลูก ๆ ก็หมดลง เหลือแต่หน้าที่ของลูก ๆ ที่จะต้องดูแลเลี้ยงดูพ่อแม่ตามควรแก่ฐานะ  ทรัพย์สินที่พ่อแม่มีอยู่จะมากหรือน้อย ก็เป็นสิทธิโดยเด็ดขาดของพ่อแม่ จะใช้จ่ายอย่างไร หรือจะยกให้ใคร ก็ย่อมทำได้  ถ้าท่านมีมากนัก ท่านก็อาจจะยกให้ลูกหลานเพื่อนำไปสร้างตัว ซึ่งก็เป็นเรื่องความเมตตาของท่าน ท่านไม่มีหน้าที่ที่จะต้องยกให้ลูก และลูกก็ไม่ได้มีสิทธิที่จะไปเอาของท่าน  ก่อนท่านตาย ท่านอาจจะทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ใครก็ได้ หรือจะยกให้วัดเสียก็ได้ ถ้าท่านตายไปเมื่อไร ทรัพย์สินก็จะตกไปยังคนที่ท่านระบุไว้ในพินัยกรรม  แต่ถ้าท่านไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้และยังมีทรัพย์สินเหลืออยู่ ทรัพย์สินจึงจะเป็นมรดกและตกไปยังลูก ๆ คนละเท่า ๆ กัน ไม่มีใครมีสิทธิดีกว่าใคร ถ้าคุณเป็นลูกก็ควรแนะนำท่านว่าอย่าเพิ่งโอนให้ใคร เพราะถ้าแย่งกันจริงอย่างที่ว่ามา หากโอนให้ใครไปแล้วดีไม่ดีท่านจะไม่มีที่อยู่ จะต้องน้ำตาเช็ดหัวเข่าเอาตอนแก่
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    9 กุมภาพันธ์ 2554