ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    043218 การขอใช้นามสกุลร่วมนายฐาปกรน์2 มกราคม 2554

    คำถาม
    การขอใช้นามสกุลร่วม

    เรียน อาจารย์มีชัย

        เนื่องด้วยกระผมแต่งงานกับผู้หญิงคนหนึ่ง และได้จดทะเบียนสมรสกันแล้วซึ่งผู้หญิงมีลูกติดมาสองคนเราสองคนคุยกันว่าจะให้ลูกทั้งสองใช้นามสกุลเดียวกับผม ซึ้งปัญหามีว่าคนโตมีอายุห่างจากผมไม่ถึง 15ปี ทำให้ไม่สามารถจดรับรองเป็นบุตรบุญธรรมได้ ไม่ทราบว่าพอที่จะมีวิธีให้ลูกได้ใช้นามสกุลผมบ้างหรือเปล่าครับสงสารเด็กมันครับ

                 รบกวนอาจรย์ตอบด้วยครับ       

                                                                   ด้วยความเคารพ

                                                                   ฐาปกรณ์                

    คำตอบ
    ถ้าคุณเป็นเจ้าของนามสกุล คุณจะอนุญาตให้ใครใช้นามสกุลของคุณก็ย่อมทำได้  แต่ถ้าคุณไม่ใช่เจ้าของนามสกุล ก็ไปขอให้เจ้าของนามสกุลเขาอนุญาต ก็ใช้ได้ ไม่ว่าอายุจะต่างกันเท่าไร ไม่จำเป็นต้องเป็นบุตรบุญธรรมเสมอไป  ว่าแต่ว่าคิดดีแล้วหรือที่จะรับเขามาเป็นบุตรบุญธรรมน่ะ ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ เพียงเพื่อให้ใช้นามสกุลเดียวกันเท่านั้นนะ ภาระหน้าที่ที่จะติดตามมามีอีกมากมาย  และถ้าในวันข้างหน้าคุณเลิกกับผู้หญิงคนนี้ บุตรบุญธรรมนั้นก็จะยังคงเป็นลูกของคุณต่อไป ไม่ใช่จะเลิกความเป็นพ่อลูกบุญธรรมกันได้ง่าย ๆ
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    2 มกราคม 2554