ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    043212 สิทธิของบุตรกันยา1 มกราคม 2554

    คำถาม
    สิทธิของบุตร

    ดิฉันรบกวนขอทราบข้อมุลคะ เนื่องจากประสบปัญหาชีวิตครอบครัว อยู่ระหว่างตัดสินใจว่าจะขอหย่ากับสามีดีหรือไม่ แต่ยังเป็นห่วงลูกคะ ส่วนตัวเองไม่มีปัญหาอะไรเพราะทุกวันนี้เลี้ยงดูตัวเองและลูกเอง สามีและดิฉันเป็นข้าราชการ ดิฉันจดทะเบียนสมรสตั้งแต่ปี 2533 มีทรัพย์สินร่วมสร้างกันมาเป็นบ้านและที่ดิน 3 แห่ง รถยนต์ 2 คัน ดิฉันมีบุตร 1 คน สามีมีเมียน้อยไม่ได้จดทะเบียน มีลูก 2 คน จึงรบกวนอาจารย์ตอบคำถามดังนี้คะ

    สิทธิที่ได้รับตามกฎหมายของบุตร 3 แบบ แตกต่างกันอย่างไรบ้างคะ

    - บุตรที่ถูกต้องตามกฎหมาย  (พ่อและแม่เป็นข้าราชการ)

    - บุตรที่ถูกต้องตามกฎหมายแต่พ่อและแม่หย่ากันในภายหลัง (พ่อและแม่เป็นข้าราชการ)

    - บุตรที่แม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส (พ่อมีภรรยาถูกต้องตามกฎหมายแล้ว แม่เป็นเมียน้อย)

    - บุตรที่พ่อรับรองบุตรในภายหลัง (เป็นลูกเมียน้อย พ่อมีลูกที่เกิดกับภรรยาที่ถูกต้องตามกฎหมาย)

     

    คำตอบ

    - บุตรที่ถูกต้องตามกฎหมายย่อมมีสิทธิทุกอย่างในเรื่องสวัสดิการของทางราชการ มีสิทธิได้รับการอุปการะเลี้ยงดูระหว่างยังไม่บรรลุนิติภาวะ และเป็นทายาทโดยธรรมสำหรับมรดกที่ไม่มีพินัยกรรม ไม่ว่าพ่อกับแม่จะหย่ากันหรือไม่  แต่ถ้ามรดกที่มีพินัยกรรม มรดกย่อมตกได้แก่ผู้รับพินัยกรรม จะเป็นใครก็ขึ้นอยู่กับผู้ทำพินัยกรรมระบุไว้ จะเป็นลูกที่ชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเป็นหลาน หรือเป็นเพียงคนรู้จักกัน ถ้าอยากจะยกให้ ก็ยกให้ได้ทั้งนั้น เมื่อยกให้คนอื่นเสียแล้ว ลูก ๆ ก็ไม่ได้อะไร

    - บุตรที่แม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ย่อมเป็นบุตรของมารดาคนเดียวไม่ใช่บุตรของชาย จึงไม่มีสิทธิอะไร เว้นแต่ชายจะจดทะเบียนรับรองเด็กเป็นบุตร เมื่อจดทะเบียนรับรองเด็กเป็นบุตรแล้วก็มีสิทธิเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายทุกอย่าง


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    1 มกราคม 2554