ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    042765 อยู่กินกันมากับสามีแต่ไม่ได้จดทะเบียนค่ะ กราบเรียนถามค่ะเอ24 พฤศจิกายน 2553

    คำถาม
    อยู่กินกันมากับสามีแต่ไม่ได้จดทะเบียนค่ะ กราบเรียนถามค่ะ

    อยู่กินกันมากับสามีแต่ไม่ได้จดทะเบียนค่ะ กราบเรียนถามค่ะ

    สามีเป็นเจ้าของร้านขายอาหารค่ะ มีลูกติด 2 คน ยังเรียนอยู่ ภรรยาเก่าเสียชีวิต

    ดิฉันได้แต่งงานอยู่กินกันมา 4 ปีแล้วค่ะ ทุกคนรับรู้ แต่เราไม่ได้จดทะเบียนกัน

    (เพราะสามีมีหนี้สินที่เกิดจากการกู้เงินมาเปิดกิจการหลายล้านค่ะ กู้หลายครั้ง สามีกู้คนเดียวค่ะ)

    ระหว่างที่ใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันก็ได้ช่วยกันทำมาหากินแบบสามีภรรยาปกติทั่วไป (ก็ช่วยกันขายของที่ร้าน)

    ดิฉันมีข้อสงสัยอยากกราบเรียนถามค่ะ

    1  ถ้าสมมุติว่าสามีเสียชีวิต ดิฉันมีสิทธิอะไรในกิจการบ้างคะ (เช่นเป็นหุ้นส่วนธุรกิจ  ฯลฯ )

    2  ถ้าสมมุติว่าเลิกกันดิฉัน สามารถเรียกร้องส่วนที่ดิฉันเคยทำไว้ได้ไหมคะ

    3  ดิฉันและสามี ควรจัดการอย่างไรคะ ถ้าสามีเกิดเป็นอะไรไปจะได้ดำเนินกิจการต่อ

    4  ถ้าจดทะเบียนกันตอนนี้ ดิฉันต้องรับภาระหนี้สินด้วยหรือเปล่าคะ

    กราบขอบพระคุณสำหรับคำตอบค่ะ

    คำตอบ

    1. ถ้าได้ร่วมกันทำมาหากินหรือประกอบกิจการอะไร ก็มีฐานะเป็นหุ้นส่วนกัน มีสิทธิในกิจการครึ่งหนึ่ง

    2. ได้ ในฐานะเป็นหุ้นส่วน

    3. ควรทำหลักฐานว่าเป็นหุ้นส่วนในกิจการที่ทำด้วยกัน

    4. ถ้าไม่ใช่หนี้ที่นำมาใช้จ่ายในครอบครัวก็ไม่ต้องรับผิด แต่ก็อาจมีผลกระทบต่อทรัพย์สินที่เป็นสินสมรส เพราะจะต้องดำเนินการแบ่งกัน เพื่อเจ้าหนี้เขาจะได้มายึดส่วนที่เป็นของสามีไปชำระหนี้ได้

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    24 พฤศจิกายน 2553