ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    040571 พินัยกรรมนัฐพล11 มิถุนายน 2553

    คำถาม
    พินัยกรรม

    ผมเรียนถามดังนี้ครับ ผมมีหนี้สินจากการหย่ากับภรรยาเก่าประมาณห้าแสน ซึ่งตอนนี้หักบัญชีเงินเดือน (จากการหย่าผมยกบ้านและรถให้ลูกพร้อมจ่ายค่าเทอมและค่าเลี้ยงดูจนจบปริญญาตรี)และหากผมแต่งงานใหม่โดยผมต้องการยกทรัพย์สินให้ภรรยาและลูกเท่านั้น  ผมคำถามคือ

    1.หนี้สินเก่า ห้าแสนบาท ภรรยาใหม่ผมต้องรับผิดชอบด้วยหรือไม่ ถ้าไม่ต้องการให้ภรรยาใหม่รับผิดชอบผมต้องทำอย่างไร

    2.หากผมมีอันเป็นไป พินัยกรรมแบบไหนที่ทางภรรยาเก่าและลูก ไม่สามารถมาฟ้องร้องภรรยาใหม่ได้ เพราะเท่าที่ผมให้ไป ถือว่าได้พอสมควรแล้ว ส่วนหนี้สินมาอยู่ที่ผม  ดังนั้นหากเริ่มต้นชีวิตใหม่ผมอยากให้กับครอบใหม่เท่านั้น

    ขอบคุณครับ

    ช่วยให้คำตอบด้วยครับ เพราะฝ่ายพ่อตาแม่ยายไม่สบายใจครับ ผมต้องการเคลียร์ทุกอย่างเพื่อการเริ่มต้นชีวิตใหม่

    คำตอบ

    1. ในระหว่างคุณกับภรรยาเก่า ถ้ามีข้อตกลงกันอย่างที่บอกมา ภรรยาเก่าก็ไม่ต้องรับผิดชอบ  ส่วนภรรยาใหม่ก็ไม่ต้องรับผิดชอบเพราะเป็นหนี้ที่คุณมีมาก่อนสมรส

    2. คุณก็ต้องทำพินัยกรรมยกให้กับภรรยาใหม่และลูกใหม่ให้หมด เมื่อไม่มีอะไรเหลือ ลูกจากภรรยาเก่าก็ไม่ได้รับมรดก แต่ถ้าไม่ได้ทำพินัยกรรมก็ดี หรือทำไว้แต่ยังมีทรัพย์สินอื่นเหลืออยู่ก็ดี ลูกจากภรรยาเก่าก็มีสิทธิได้รับในส่วนนั้นเท่า ๆ กับลูกจากภรรยาใหม่ เพราะไม่ว่าลูกจากภรรยาคนไหนก็เป็นลูกคุณเหมือนกัน


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    11 มิถุนายน 2553