ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    040104 สิทธิเข้าไปอยู่บ้านลลิตา7 พฤษภาคม 2553

    คำถาม
    สิทธิเข้าไปอยู่บ้าน

    ดิฉันอยู่กินกับสามีมาประมาณ 8 ปี แล้วแยกกันระยะหนึ่งแต่ยังติดต่อกันอยู่ จนปี 48 เขาได้มีลูกกับหญิงอีกคนหนึ่ง ไม่จดทะเบียน ยังไม่รับรองบุตร แต่รับเลี้ยงดูทั้งแม่และลูก โดยให้อยู่ที่บ้าน ปลายปี 52 ได้จดทะเบียนสมรสกับดิฉัน และได้ทำสัญญาก่อนสมรส ในเรื่องของทรัพย์สินส่วนตัวของทั้ง 2 ฝ่าย จะไม่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินส่วนตัว แต่ไม่ได้ระบุถึงสิทธิเก็บกิน และการตกทอดโดยมรดก มีปัญหาคือ เขาจะทะเบียนสมรสกับดิฉันแล้วจะเคลียร์ปัญหากับหญิงนั้น โดยที่ดิฉันยังไม่เข้าไปอยู่ในบ้านนั้น และหญิงนั้นก็ยังไม่ทราบว่าสามีมีดิฉันมาก่อนเขาอีกและได้จดทะเบียนกันเรียบร้อยแล้ว แต่ญาติของฝ่ายชายทราบและรับรู้เรื่องการที่หญิงนั้นมีบุตร และการจดทะเบียนกับดิฉัน ขอเรียนถาม

    1. ดิฉันจะเข้าไปอยู่บ้านหลังนั้นได้ไหม

    2. สินส่วนตัวเมื่อได้ระบุแค่ห้ามยุ่งเกี่ยวกับสินส่วนตัวนั้น แต่มีสิทธิได้รับโดยมรดกได้หรือไม่

    3. ถ้าดิฉันจะฟ้องหญิงนั้นฐานเป็นชู้ได้หรือไม่

    4. หญิงนั้นสามารถฟ้องสามีเรียกค่าเลี้ยงดูบุตร และรับรองบุตรได้ใช่ไหม

     

    คำตอบ

    1. ขึ้นอยู่กับว่าบ้านนั้นเป็นของใคร ถ้าเป็นของคุณ ๆ ก็เข้าไปอยู่ได้ ถ้าเป็นของหญิงคนนั้น คุณก็ไปอยู่ไม่ได้ ถ้าเป็นของสามีคุณ ถ้าเขาให้คุณอยู่คุณก็อยู่ได้ ส่วนเมื่อเข้าไปอยู่แล้วจะทะเลาะกันกับผู้หญิงที่เขาอยู่ ๆ ก่อนหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

    2. สินส่วนตัวของใครก็เป็นของคนนั้นอยู่แล้ว เมื่อเจ้าของตายไปทรัพย์นั้นก็ตกทอดไปยังผู้รับพินัยกรรม (ถ้าทำพินัยกรรม) หรือตกทอดแก่คู่สมรสกับทายาท (ถ้าไม่ได้ทำพินัยกรรม)

    3. ถ้าหลังจากที่คุณบอกให้เขารู้แล้วว่าคุณจดทะเบียนสมรสกับสามีแล้ว หากเขายังยุ่งเกี่ยวอยู่ต่อไป ก็ฟ้องได้  ข้อสำคัญต้องสืบให้แน่เสียก่อนว่าเขาไม่ด้จดทะเบียนสมรสกัน เพราะถ้าเขาจดทะเบียนสมรสกันก่อนที่สามีจะจดทะเบียนสมรสกับคุณ การจดทะเบียนสมรสของคุณก็เป็นโมฆะ และคุณเองจะกลายเป็นชู้

    4. ได้


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    7 พฤษภาคม 2553