ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    039694 ทำอย่างไรดีแพรวพรรณราย25 มีนาคม 2553

    คำถาม
    ทำอย่างไรดี

    ดิฉันถือใบสมรสซ้อนอยู่ มาทราบภายหลังค่ะ มีบุตรด้วยกัน1คน ภรรยาทั้ง2เป็นข้าราชการ ภรรยาคนแรกมีบุตรกัน2คนเคยขู่จะฟ้องดิฉันด้วย สามีทำงานเอกชน ขณะนี้บิดาของดิฉันมอบที่ดินให้หลายแปลงและเงินสดอีกมากสามีก็ทราบและไปเซ็นพยานด้วย มีวิธีทำอย่างไรที่ถ้าดิฉันตายทรัพย์สินของดิฉันก่อนสมรส และระหว่างสมรสที่บิดาให้ หุ้น กองทุนต่างๆจำนวนมาก จะไม่ถูกแบ่งเป็นของสามีกึ่งหนึ่งเพราะเขาไม่ยอมหย่า ดิฉันต้องการให้เป็นของลูกสาวคนเดียวค่ะ

     

    คำตอบ
    ถ้าการสมรสของคุณถูกต้อง บรรดาทรัพย์สินที่คุณมีอยู่ก่อนสมรส หรือที่บิดายกให้ในระหว่างสมรส ก็เป็นสินส่วนตัวของคุณไม่เกี่ยวกับสามี ถ้าคุณไม่อยากให้สามีได้มรดกของคุณในเวลาที่คุณตายไป คุณก็ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินของคุณทั้งหมดให้ลูกเสีย  แต่ถ้าการสมรสของคุณเป็นโมฆะ การสมรสนั้นก็ไม่เกิดขึ้น ทรัพย์สินของใครก็เป็นของคนนั้นอยู่แล้ว ไม่มีสินสมรส เวลาต่างฝ่ายต่างตายไป ต่างคนต่างก็ไม่มีสิทธิในมรดกของอีกฝ่ายหนึ่ง  แต่ทางที่ดีก็ควรทำพินัยกรรมยกให้แก่บุตรหรือใครที่คุณต้องการไว้เสีย  อนึ่งในกรณีที่เป็นสมรสซ้อนจริง ก็ไม่ต้องไปหย่า ถ้าหากจะทำให้เรื่องยุติก็อาจใช้วิธีไปร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลสั่งให้การสมรสเป็นโมฆะ ลองปรึกษากับทนายความดูเถอะ
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    25 มีนาคม 2553