ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    039436 ครอบครัวเหนื่อยเหลือเกิน3 มีนาคม 2553

    คำถาม
    ครอบครัว

    สามีเป็นข้าราชการอยู่กินด้วยกันแต่ไม่เคยช่วยเหลือจุนเจือเรื่องภาระค่าใช้จ่ายเลย ดิฉันต้องทำงานประจำ(พนักงานราชการ) และยังหารายได้พิเศษนอกเวลาเพื่อที่จะดูแลลูกสาวอายุ 4 ขวบที่มีโรคประจำตัว บางครั้งจำเป็นต้องไปกู้หนียืมสินมาเพื่อใช้จ่าย โดยที่สามีไม่ให้ความช่วยเหลือใด ๆ เลย มีแต่จะให้ดิฉันกู้เพิ่ม จนหมดความอดทนกับสภาพที่เป็นอยู่ ต้องการหย่า แต่เขาบอกว่าดิฉันไม่มีสิทธิ์เพราะเขาไม่มีความผิดอะไร แค่ไม่มีเงินให้ ไม่ได้ไปคบชู้ หรือสำมะเลเทเมา หรือทุบตีดิฉัน

    1. จริงหรือคะที่ดิฉันไม่มีสิทธิ์ฟ้องหย่าเลย

    2. การเป็นข้าราชการทำให้เขามีสิทธิ์สูงที่จะเป็นผู้เลี้ยงดูบุตร(ดิฉันกลัวเสียลูกไปคะเพราะเขาไม่เคยดูแลอาการเจ็บป่วยของลูกที่หยุดหายใจตอนกลางคืนเลย)

    3. ตอนนี้ยังไม่ได้หย่ากันเขามีสิทธิ์ที่จะพาลูกไปอยู่ที่บ้านเขาที่ภูมิลำเนาของเขาได้จริงหรือ

    ขอบพระคุณคะ

    คำตอบ

    1. ตามกฎหมายนั้น เหตุหย่าประการหนึ่ง คือ "สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควร หรือทำการเป็นปฏิบัติต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพ ฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้"  กรณีของสามีคุณอาจเข้าข่ายข้อนี้ก็ได้

    2. การที่เขาไม่เคยเอาใจใส่ดูแลส่งเสียค่าเลี้ยงดู ก็อาจเป็นประโยชน์ต่อคุณในการที่จะเอาลูกไว้

    3. ถ้าคุณไม่ยินยอม (โดยมีเหตุผลอันสมควร) เขาก็เอาไปไม่ได้


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    3 มีนาคม 2553