ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    038333 สิทธิ์ของภรรยาตามกฏหมายวาริน11 ธันวาคม 2552

    คำถาม
    สิทธิ์ของภรรยาตามกฏหมาย

    เรียน อาจารย์มีชัยที่เคารพ

    ดิฉันฟ้องหญิงชู้ของสามี ศาลชั้นต้นตัดสินให้จ่ายค่าทดแทน 10000 บาท โดยมีข้อความระบุว่าจำเลยไม่ได้ละเมิดต่อโจทย์ แต่จำเลยก็ต้องจ่ายเงินนี้ตามกฏหมาย ดิฉันอ่านแล้วไม่เข้าใจว่าในเหตุผลของศาล ดิฉันอุทธรณ์ค่าทดแทนและคำตัดสินที่ขัดแย้งกัน เพราะถ้าเขาไม่มีความผิดแล้วศาลตัดสินให้จ่ายค่าทดแทนทำไม ดิฉันต้องการดำเนินการทางวินัย กับหญิงชู้ โดยใช้คำตัดสินของศาล จึงยังดำเนินการไม่ได้ ขณะเดียวกันสามีดิฉันก็ฟ้องหย่าดิฉัน เหตุผลแยกกันอยู่เกิน 3 ปีทั้งที่เขาเป็นฝ่ายออกจากบ้านไปอยู่กับหญิงอื่น ศาลตัดสินให้หย่าตอนนี้ดิฉันก็อุทธรณ์  เรียนถามอาจารย์

    1. ถ้าคดีที่ดิฉันเป็นจำเลย(สามีฟ้องหย่า) ตัดสินก่อนว่าให้หย่าดิฉันก็ไม่มีสิทธิ์ร้องเรียนหญิงชู้ในฐานะภรรยาใช่ไหมคะ

    2.คดีที่ดิฉันฟ้องหญิงชู้แล้วศาลตัดสินให้ดิฉันได้รับค่าทดแทน เป็นหลักฐานในคดีที่สามีฟ้องหย่าได้ไหม

    3. ทำไมศาลถึงรับคดีที่สามีฟ้องดิฉัน ทั้งที่เขาไปมีหญิงอื่นก่อน

    4.ดิฉันได้รับคำเยาะเย้ยจากญาติทางสามีว่าทำอะไรเขาไม่ได้เพราะสามีเป็นตำรวจ เจ้านายต้องช่วย และหญิงชู้ทำงานอยู่สำนักบังคับคดีที่มหาสาคามเจ้านายเขาก็ช่วย เขาทำได้จริงๆหรือคะ ดิฉันราษฎร เต็มขั้นจะทำอย่างไร

    5.ทุกวันนี้สามีก็ไม่ให้ค่าเลี้ยงดูบุตร บอกว่าจะให้ถ้าดิฉันไม่เอาเรื่องไปร้องเรียน

    มีหน่วยงานที่จะช่วยเหลือดิฉันไม๊คะ นอกจากสภอ.และสนง.บังคับคดี เพราะไปแล้วก็เหมือนเดิม

    กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์อีกครั้ง ดิฉันเข็ดกับคำว่าพรรคพวกจังเลยอยากได้กำลังใจจากอาจารย์ค่ะ

     

     

    คำตอบ

    เรียน คุณวาริน

    1. การร้องเรียนนั้น เป็นเรื่องร้องเรียนถึงพฤติกรรมของคน เมื่อเขามีพฤติกรรมไม่ดีก็ร้องเรียนได้เสมอ แต่ผู้บังคับบัญชาเขาจะพิจารณาอย่างไรเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะพฤติกรรมบางอย่างผู้บังคับบัญชาอาจถือว่าเป็นเรื่องส่วนตัวไม่เกี่ยวกับทางราชการ

    2.-3. ก็อาจใช้เป็นหลักฐานแสดงให้ศาลเห็นได้ว่าฝ่ายชายเป็นฝ่ายผิด ซึ่งถ้าเขาเป็นฝ่ายผิดเขาก็ไม่มีสิทธิฟ้องหย่าได้ การที่ศาลชั้นต้นตัดสินให้หย่า ก็อาจเป็นได้ว่าคุณไม่ได้สู้คดีในแง่นี้ ในเวลาที่ศาลพิจารณาคดีนั้น ต้องเข้าใจว่าศาลไม่รู้เรื่องอะไรเลยระหว่างคุณสองคน เมื่อฝ่ายหนึ่งเขาฟ้องและนำสืบว่าอย่างไร ศาลก็ฟังไว้ ถ้าคุณไม่โต้แย้งหรือไม่แสดงหลักฐานให้เห็นเป็นอย่างอื่น ศาลก็ต้องฟังตามที่เขานำสืบ

    4. ในเวลาที่เราเกิดเคราะห์กรรมนั้น ก็จะมีคนอยู่ ๒ ประเภท ๆ หนึ่งก็แสดงความเห็นอกเห็นใจ อีกประเภทหนึ่งก็เหยียบย่ำซ้ำเติม ขืนไปฟังก็จะทำให้เราสับสนได้ ใครจะเยาะเย้ยอย่างไร ก็ปล่อยเขาไปเถอะ ไม่เก็บมาคิดเสียอย่างเดียว สิ่งที่เขาทำหรือพูดก็หาความหมายอะไรไม่ได้ ถ้าไปฟังแล้วเก็บมาคิดก็เท่ากับเราเหยียบย่ำซ้ำเติมตัวเราเองเปล่า ๆ  ลองหันกลับมาคิดดูอีกทางหนึ่งบางทีอาจจะดีขึ้น คนที่เราเคยอยู่ด้วยกันนั้น เมื่อเวลาผ่านไปและเขาเปลี่ยนไปแล้ว ถึงจะยื้อยุดฉุดเอามาอยู่ด้วยได้  จะเกิดประโยชน์อะไร อยู่กันต่อไปก็รังแต่จะเพิ่มทุกข์ยากให้มากขึ้น การไปโกรธแค้น ก็ไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้น มีแต่จะทำให้ตัวเองหมกมุ่นและเจ็บช้ำน้ำใจยิ่งขึ้น คิดเสียว่าเป็นการดีที่เขาแสดงความไม่ดีให้เห็น เราจะได้ไปตั้งต้นชีวิตใหม่ได้ไม่ต้องจมปลักอยู่กับเขา สำหรับผู้หญิงคนใหม่นั้น ก็อย่าไปโกรธแค้นเขาเลย ควรสงสารเขาเสียด้วยซ้ำไป เพราะถ้าครั้งหนึ่งผู้ชายคนนี้ทำกับคุณได้ ก็ไม่มีหลักประกันอะไรว่าต่อไปเขาจะไม่ไปพบคนใหม่และทำกับผู้หญิงคนนั้นอย่างที่ทำกับคุณ

    5. ถ้ายังพอมีทางช่วยตัวเอง ก็เริ่มต้นช่วยตัวเองดีกว่าที่จะไปหวังรับความช่วยเหลือจากเขา เพราะถึงแม้ศาลจะตัดสินให้เขาจ่ายค่าเลี้ยงดู ถึงเวลาเขาก็อาจจะไม่จ่ายทำให้ต้องเดือดร้อนวุ่นวายใจอยู่นั่นเอง  แต่ในทางคดีจะสู้กันอย่างไรเพื่อบังคับให้เขาจ่ายค่าเลี้ยงดูก็ทำไปให้เต็มที่ แต่อย่าไปหวังว่าจะได้จากเขา เพราะลงเป็นคนไม่ดีเสียแล้ว จะไปเชื่ออะไรให้เจ็บใจไปทำไม


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    11 ธันวาคม 2552