ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    039491 อายุความการเรียกเงินคืนของราชการชนินทร์8 มีนาคม 2553

    คำถาม
    อายุความการเรียกเงินคืนของราชการ

    เรียนท่านมีชัย

    ผมรับราชการครับ มีโอกาสได้ไปรับตำแหน่งที่ต่างประเทศเมื่อปี 2538-2541 ในวิกฤติการเงินประเทศไทยปี 2540 รัฐบาลฯไม่ค่อยมีเงินสำนักงานผมเลยยุบตำแหน่งในต่างประเทศให้น้อยลงเพื่อมีงบประมาณพอในการทำกิจกรรมในต่างประเทศ

    ผมถูกเรียกกลับประเทศไทยเดือนมกราคม 2541 ซึ่งได้รับค่าขนย้ายในการเดินทางกลับประจำประเทศไทยตามอัตราที่กำหนดใน พรฏ.การเดินทางราชการที่ใช้ขณะนั้นจำนวน 3 เท่า ของเงินเพิ่มพิเศษสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งในต่างประเทศเดือนสุดท้ายก่อนเดินทาง คิดเป็นเงินไทยที่ได้เบิกจ่ายจากกรมบัญชีกลางจำนวน 800,000 กว่าบาทครับ

    ต่อมารัฐบาลได้ตรา พรฏ.การเดินทางราชการใหม่ในเดือนธันวาคม 2541กำหนดให้ลดค่าขนย้ายดังกล่าวลง กึ่งหนึ่ง เหลือเพียง 1 เท่า ครึ่ง และให้มีผลย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2541 ซึ่งเป็นผลให้ผมต้องถูกเรียกเงินที่เคยเบิกจ่ายไปอย่างถูกต้องตามระเบียบราชการในเดือนมกราคม 2541 คืนให้หลวง ครึ่งหนึ่ง หรือ ประมาณ 400,000 บาท ซึ่งผมมาทราบเรื่องนี้ก้จากบันทึกของสำนักงานที่ส่งถึงผมในเดือนกุมภาพันธ์ แจ้งให้ผมส่งเงินคืน แต่ปัยหาคือผมได้ใช้เงินไปซื้อรถยนต์ใหม่หมดแล้ว(โดยผมได้ส่งเอกสารการซื้อรถยนต์มูลค่า 900,000 บาทในเดือนกันยายน 2541 ให้ศาล) ไม่มีส่งคืน ผมจึงได้ฟ้องศาลปกครอง ซึ่งต่อมาศาลปกครองกลางได้มีคำตัดสินว่าคำสั่งสำนักงานตามบันทึกที่ส่งถึงผมให้เรียกเงินคืนนั้นไม่ชอบด้วยกฏหมาย เนื่องจากเงินที่ผมต้องคืนนั้นถือเป้น ลาภมิควรได้ แมหลักฐานปรากฏว่าผมได้ใช้เงินนั้นจนหมดสิ้นแล้ว สำนักงานจึงไม่สามารถเรียกคืนเงินดังกล่าวจากผมได้

    สำนักงานผมได้ยื่นฎีกาอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดอ้างว่าไม่มีหลักฐานว่าผมได้ใช้เงินดังกล่าวไปหมดแล้ว

    ศาลปกครองสูงสุดตัดสินแล้ครับ บอกว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ได้มีหนังสือลงวันที่ 30 มีนาคม 2542 เรียกให้ผู้ฟ้องคดีคืนเงินค่าใช้จ่ายในการย้ายถิ่นที่อยู่ในส่วนที่ได้รับเกินที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้ มิใช่การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แต่เป็นการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ใช้สิทธิเรียกเงินที่ผู้ฟ้องคดีได้รับเกินสิทธิอันมีลักษณะเป็นลาภมิควรได้ ตามมาตรา 406 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หนังสือของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ที่เรียกให้ผู้ฟ้องคดีคืนเงินค่าใช้จ่ายในการย้ายถิ่นที่อยู่ ในส่วนที่เบิกเกิน จึงเป็นเพียงหนังสือทวงถามให้ชำระเงินเท่านั้น หากผู้ฟ้องคดีเห็นว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ไม่มีหรือยังไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินจากผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีก็ชอบที่จะปฏิเสธไม่คืนเงินดังกล่าวตามที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ทวงถาม โดยไม่จำเป็นต้องฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนหนังสือของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ที่ทวงถามเงินจากผู้ฟ้องคดีแต่อย่างใด และเป็นเรื่องของ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ที่จะต้องใช้สิทธิเรียกร้องเงินดังกล่าวจากผู้ฟ้องคดีโดยการฟ้องขอให้ศาลที่มี เขตอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีคืนเงินต่อไป กรณีจึงยังถือไม่ได้ว่าผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ อันเนื่องมาจากการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ผู้ฟ้องคดีจึงมิใช่ผู้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ ซึ่งปัญหาเกี่ยวกับการเป็น ผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ที่จะมีสิทธิฟ้องคดีนั้น เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับเงื่อนไขการฟ้องคดี ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่กรณีฝ่ายใดยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ ศาลปกครองสูงสุดก็มีอำนาจยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาหรือมีคำสั่งได้ตามข้อ 92 ประกอบกับข้อ 116 แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ฯ ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543

    คดีหมายเลขแดงที่ อ.297/2552

    ผมจึงอยากทราบว่า กรณีลักษณะอย่างนี้ การเรียกเงินคืนดังกล่าว มีอายุความ หรือ ไม่ หาก มีเป็นเวลากี่ปีครับ

    คำตอบ
    เมื่อศาลปกครองสูงสุดท่านวินิจฉัยว่าเป็นลาภมิควรได้แล้ว อายุความในการฟ้องเรียกคืนลาภมิควรได้มีอายุความ ๑ ปี นับแต่วันที่รู้ว่ามีสิทธิเรียกคืน  หรือสิบปีนับแต่วันที่สิทธินั้นเกิดขึ้น
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    8 มีนาคม 2553