ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    033597 ทะเบียนประวัติข้าราชการไม่รู้จริง ๆ11 กุมภาพันธ์ 2552

    คำถาม
    ทะเบียนประวัติข้าราชการ

    ดิฉันได้บรรจุเข้ารับราชการสังกัด ก.พ. เมื่อปี 2536 และได้ไปพิมพ์ลายนิ้วมือที่สถานีตำรวจที่มีภูมิลำเนา ในปี พ.ศ. 2541 ถูกคำสั่งไล่ออกจากราชการกรณีทุจริตต่อหน้าที่ เลยสงสัยอยากเรียนถามดังนี้

    1. การไปพิมพ์ลายนิ้วมือ คือการไปขึ้นทะเบียนประวัติบุคคลใช่หรือไม่ และประวัตินี้ถูกจัดเก็บไว้ที่ใดคะ

    2. ทะเบียนประวัติบุคคล ตามข้อ 1. เกี่ยวข้องกับ ก.พ.7 ของข้าราชการหรือไม่

    3. กรณีได้สอบเข้ารับราชการอีกครั้ง หลังจากล้างมลทิน แต่เป็นหน่วยงาน อบต. ต้นสังกัดจะสอบประวัติโดยสอบถามไปที่ ก.พ. หรือที่ใดคะ

    4. ทั้งสองที่ ตามข้อ 3 จะมีประวัติว่าดิฉันถูกลงโทษไล่ออกจากราชการ ใช่หรือไม่คะ หรือมีเฉพาะที่ ก.พ. อย่างเดียว

    5. ดิฉันจำเป็นต้องไปพิมพ์ลายนิ้วมืออีกหรือไม่ เพราะเท่าที่คุยกับเพื่อนที่ทำงาน บางคนก็ไปพิมพ์แล้ว บางคนรับราชการมาตั้งแต่ปี 40 ยังไม่ได้พิมพ์ลายนิ้วมือก็มี งงมากค่ะ

     รบกวนอาจารย์มีชัยตอบด้วยค่ะ เพราะไม่รู้จริง ๆ

     

    คำตอบ

    1. การไปพิมพ์ลายนิ้วมือ คือการตรวจสอบว่ามีประวัติทางอาชญากรรมหรือไม่

    2. ก.พ.7 ก็คือ ประวัติการรับราชการของบุคคล

    3. เวลาตรวจประวัติเขาก็ต้องตรวจจากตำรวจเช่นเดียวกับข้าราชการทั่วไป   อนึ่ง หากคุณเคยถูกไล่ออกจากราชการเพราะทุจริตต่อหน้าที่แล้วปกปิดไว้ วันข้างหน้าเมื่อความปรากฏขึ้น ก็อาจถูกออกจากราชการอีก และอาจถูกเรียกเงินคืนได้

    4. มีที่ ก.พ.แห่งเดียว

    5. โดยปกติก็ต้องไปพิมพ์ลายนิ้วมือกันทุกคน เว้นแต่หน่วยงานนั้นจะละเลย


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    11 กุมภาพันธ์ 2552