ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    032815 การย้ายลูกจ้างชั่วคราวลูกจ้างชั่วคราว29 ธันวาคม 2551

    คำถาม
    การย้ายลูกจ้างชั่วคราว

    เรียน   ท่านอาจารย์มีชัย

              ดิฉันเป็นลูกจ้างชั่วคราวของรัฐวิสาหกิจมาเป็นเวลา 9 ปี ประจำอยู่จังหวัดกระบี่ แต่ต่อมาในปี 2551 ผู้บังคับบัญชาแจ้งเปลี่ยนแปลงให้ผู้มีอำนาจอนุมัติจ้าง   อนุมัติจ้างเป็นอีกจังหวัดหนึ่ง โดยให้เหตุผลว่าตำแหน่งของจังหวัดสังกัดเดิมของดิฉัน คือ จ.กระบี่ อัตราตำแหน่งบุคลากรเกิน  ดิฉันอยากทราบดังนี้

    1. การอนุมัติจ้างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่ดิฉันสมัครไว้ตั้งแต่แรกเริ่มปฏิบัติงานนัน ชอบด้วย กฏหมายหรือไม่ (เป็นการจ้างปีต่อปีงบประมาณ)

    2. หากดิฉันไม่ไปปฏิบัติงานตามอนุมัติใหม่ ได้หรือไม่ แต่ยังคงปฏิบัติงานที่เดิม เพราะเหตุว่า แต่เดิมสมัครในจังหวัดกระบี่ และทำงานในจังหวัดนี้มาตลอด เป็นเวลา 9 ปี มีครอบครัว และภาระอื่น ๆ ต้องรับผิดชอบ การอนุมัติจ้างไปปฏิบัติงานที่จังหวัดอื่น ต้องมีค่าใช้จ่ายมากมาย เช่น ค่าที่พักไม่สามารถเบิกได้ ค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายในแต่ละวัน 

    3.การอนุมัติจ้าง เป็นแบบต่อปีงบประมาณ นายจ้างสามารถเปลี่ยนแปลงการอนุมัติจ้างโดยไม่ต้องคำนึงถึงระยะเวลาที่จ้างมาก่อนหน้า และสวัสดิการความเป็นอยู่ได้หรือไม่

    4. ดิฉันสามารถฟ้องร้องขอความเป็นธรรมได้หรือไม่ จากหน่วยงานไหนคะ เช่น ศาลปกครอง หรือ ศาลแรงงาน

             

    คำตอบ

    เรียน ลูกจ้างชั่วคราว

    1. การเป็นลูกจ้างชั่วคราวนั้น ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นการชั่วคราว เขาย่อมจ้างเท่าที่มีงานอยู่ เมื่อไม่มีงานเขาก็เลิกจ้างได้ การที่เขาให้ไปอยู่ในที่ใหม่ที่มีงานอย่างเดียวกัน ก็นับว่าเป็นเอื้ออาทรตามสมควร

    2. ไม่ไปก็ได้ เขาคงบังคับไม่ได้  คุณไม่ไปเขาก็ไปจ้างคนใหม่ทำ

    3. เขาก็ต้องคำนึงถึงประโยชน์ขององค์กรเป็นสำคัญ

    4. ถ้าจะฟ้องก็คงต้องฟ้องที่ศาลแรงงาน


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    29 ธันวาคม 2551