ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    031545 การลงโทษโดยไม่มีบัญญัติไว้ในกฎ ก.พ.ข้าราชการผู้น้อย18 ตุลาคม 2551

    คำถาม
    การลงโทษโดยไม่มีบัญญัติไว้ในกฎ ก.พ.

    เรียน อาจารย์ครับ

    ด้วยความเคารพท่านอาจารย์อย่างสูง กระผม มีความคับข้องใจที่ขอรบกวนให้อาจารย์ช่วยขี้แนะให้ด้วย เนื่องจากในอดีตนั้น ปี 2543 กระผมได้ต่อสู้กับ คณะกรรมการสืบสอบข้อเท็จจริง ที่กรม ตั้งให้สอบกระผม ข้อหานั้นลงสรุปว่าผิดวินับอย่างร้ายแรง ฐานข่มขู่ประชาชนจนมอบเงินให้ คณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง กระผมนำเอาพยานเอกสารหลักฐานขุดเดียวกันกับที่ให้คณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง ผลสรุปออกมาว่า ผิดวินัยไม่ร้ายแรง ฐานรับช่วยเหลือแนะนำให้ประชาชนได้ดำเนินการจนสำเร็จเรียบร้อย ผิด พรบ.ก.พ. มาตรา 95 ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง ให้บุคคลอื่นได้ประโยชน์ มีเรื่องลึก ๆ กันเองภายใน แต่สาระสำคัญ ก็ คือ คณะกรรมการได้มีคำสั่งลงโทษกระผม ด้วยการ

    1. มีคำสั่งที่ 5/2543 โดยได้อ้าง กฎ ก.พ. ฉบับที่ 18 (2540) และลงโทษตัดเงินเดือนผม 10 % เป็นเวลา 3 เดือน (ที่จริงแล้ว กฎ ก.พ. ฉบับที่ 18 ปี 2540 นั้น ว่าด้วยการสอบสวน และโทษตัดเงินเดิอน 10 % ก็ไม่มีบัญญัติไว้ใน กฎ ก.พ. ฉบับไหนเลย

    2. ต่อมา กรม ทราบว่าไม่ถูกต้อง ขอให้กระผมคืนคำสั่งนั้นทันที ห้ามแกะซอง ถ้าแกะแล้วก็ห้ามถ่ายเอกสารเก็บไว้  แล้วออกคำสั่งใหม่ เป็นคำสั่งที่ 9/2543 แต่ในคำสั่งไม่มีใหม่ ไม่ได้ยกเลิกคำสั่งที่ 5/2543 เพียงแต่ระบุว่า ใช้ กฎ ก.พ.ฉบับที่ 8 (2536) แก้ไขอัตราโทษ อำนาจอธิบดี มีอำนาจให้ตัดเงินเดือน 5%เป็นเวลา 3 เดือน  

    3.ต่อมารายงานโทษไปที่ อกพ.กระทรวง เมื่อพิจารณาจากพยานหลักฐานแล้ว เห็นว่าเป็นการลงโทษที่หนักไป จึงให้แก้ไขโทษเป็นภาคทัณฑ์ และให้คืนเงินทั้งหมดที่ได้ตัดไปแล้ว แต่ผมไม่ได้อุทธรณ์ใด ๆ เลยครับ

    4.ปี 2550 ด้วยบารมีของพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาให้มี พรบ.ล้างมลทิน

    แต่อาจารย์ครับ ในขณะนี้ กรรมการที่ออกคำสั่งผิดบางคน ได้มีอำนาจในการพิจารณาคัดเลือกข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น และได้แต่งตั้งให้ ระดับ 7 ว ที่ด้อยกว่ากระผม และ ยังให้ ระดับ 6 ว จำนวน 2 คนไปดำรงตำแหน่งที่ว่างในระดับ 8 ว โดยรักษาการ ในตำแหน่ง ระดับ 7ว เท่ากับข้ามผมไปรวม 3 คน ผมจึงไม่ได้รับการคัดเลือกในครั้งนี้

    จึงเรียนปรึกษาอาจารย์ว่า กรณีที่ออกคำสั่ง โดยไม่กฎหมายรองรับหรือไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้กระทำได้ หรือการที่ได้อ้าง กฎ ก.พ. ผิด ๆ ที่ไม่ได้ว่าด้วยการลงโทษ แต่นำมาใช้ลงโทษตัดเงินเดิอน 10%ทั้ง ๆ ที่ไม่มีโทษเช่นนี้เลย .และการที่ออกคำสั่งใหม่ โดยไม่ได้ยกเลิกคำสั่งเก่า เพียงแต่อ้างกฎ ก.พ.ฉบับที่ถูกต้อง และแก้ไขอัตราโทษ เป็น 5%ตามที่อธิบดีมีอำนาจ

    กรณีเช่นนี้เป็นความผิดอยู่หรือไม่ครับ และถ้ายังเป็นความผิดอยู่ กระผมสามารถดำเนินการได้เช่นใดครับ (เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในปี 2543 ครับ)

    ขอบพระคุณอาจารย์อย่างสูงและขอให่อาจารย์มีสุขภาพที่แข็งแรงนะครับ

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

     

    คำตอบ

    การออกคำสั่งในบางกรณีก็อาจเกิดความผิดพลาดได้ เมื่อผิดพลาดแล้วเขาก็แก้ไขโดยออกคำสั่งใหม่ ก็ใช้ได้ อย่ามัวไปคิดถึงเรื่องที่ผ่านมาแล้วเลย ตั้งหน้าตั้งตาดูว่าจะทำอย่างไรจึงจะก้าวหน้าในอาชีพการงานจะดีกว่ากระมัง


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    18 ตุลาคม 2551