ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    023325 ค่าเสียหายอัมพร1 กันยายน 2550

    คำถาม
    ค่าเสียหาย

    เรียน อาจารย์มีชัยที่เคารพอย่างสูง

    กรณีโดนฟ้องคดีอาญา ต่อมาศาลพิพากษา ยกฟ้อง สรุปสาระคำวินิจฉัยแล้วว่าเรามิได้กระทำผิดตามที่กล่าวหา มิได้มีเนื้อความว่ายกผลประโยชน์ให้จำเลย แต่ศาลพิเคราะห์แล้วว่าพยานโจทก์มีพิรุธมากมาย จำเลยมิได้กระทำผิด จึงพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุดแล้ว ขอเรียนถามว่า

    1. จำเลยที่ถูกฟ้องชนะคดีอาญาแล้ว แต่คดีนี้ใช้ระยะเวลานานมาก ทำให้จำเลยเสียหายทั้งในเรื่องการโดนสอบสวน การลงโทษทางวินัยต้องถูกไล่ออก การต้องตกเป็นข่าวทางหนังสือพิมพ์ ถูกวิพากษ์วิจารณ์ทางสื่อวิทยุ ถูกนินทาว่าร้าย ฯลฯ ซึ่งมีผลกระทบทางด้านจิตใจ ตลอดจนมีกระทบถึงบุพการีและบุคคลในครอบครัวก็ได้รับความทุกข์ใจไปด้วย หลักการคำนวณค่าเสียหายทางด้านจิตใจ มีวิธีปฏิบัติอย่างไร

    2. ถ้าคดีอาญาถึงที่สุด ยกฟ้อง แล้วคดีแพ่งยังจะมีการพิจารณาต่ออีกหรือไม่

    3.กรณีนี้จะถือว่าแจ้งความเท็จทั้ง 2 คดี ทั้ง ทางอาญา และทางแพ่ง ใช่หรือไม่

    4.พยานฝ่ายโจทก์ 2 ราย ให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการสอบสวน เจ้าพนักงานสอบสวน และเบิกความต่อศาล ไม่เหมือนกันหรือตรงกัน ยกตัวอย่าง พยานเห็นว่าจำเลยกระทำผิดเรียกรับเงิน พอมีการสอบสวนเกิดขึ้น บางครั้งก็ให้ถ้อยคำว่าไม่เห็นการนับเงิน บางครั้งก็เห็นว่ามีการนับคนเดียว บางครั้งก็เห็นว่ามีการนับ 4 คน ในขณะที่พยานเห็นการนับเงิน บางครั้งก็บอกว่ายืนอยู่ห่าง 3 เมตร บางครั้งก็บอกว่านั่งอยู่ที่โต๊ะทำงานตนเองห่าง 3 เมตร (แต่ความจริงห้องทำงานอยู่คนที่กับที่เกิดเหตุ) บางครั้งก็บอกว่านั่งอยู่โต๊ะเพื่อนร่วมงานห่าง 7 เมตร ห้องที่พยานเห็นจำเลยบ้างก็ให้ถ้อยคำว่ากระจกใส บางครั้งก็บอกว่ากระจกสีชา สามารถมองเห็นคนในห้องชัดเจน (ความจริงเป็นกระจกสีชา) การเห็นคนที่นำเงินไปให้จำเลยให้ถ้อยคำว่าเห็นเดินเข้าไปทันที บางครั้งก็ให้ถ้อยคำว่าเห็นเดินไปที่โต๊ะทำงานของจนท.ผู้นั้นก่อนแล้วเดินไปห้องทำงานจำเลย บางครั้งก็บอกว่าไม่รู้ไม่เห็น จำเลยไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ร่วมกับพยานที่ให้ถ้อยคำ ก็เลยไม่รู้ว่าที่แท้ความจริงเป็นเช่นไร การให้ถ้อยคำกับการสอบสวนชุดไหนถูกต้องที่สุด ลักษณะอย่างนี้ถือว่าพยานให้การเท็จได้หรือไม่ มีวิธีการดำเนินการอย่างไรต่อได้บ้างกับพยานรายนี้ เพราะยังรับราชการอยู่

    5. การที่พยานให้ถ้อยคำกับพนักงานสอบสวนว่าจำเลยเป็นผู้มีอิทธิพล และชอบสั่งการให้ จนท.ทำผิดกฎหมาย ลักษณะอย่างนี้ถือว่าเป็นการการให้ถ้อยคำเท็จ หรือว่าหมิ่นประมาททำให้จำเลยเสียหาย และขอให้อาจารย์อธิบายและจำกัดความผู้มีอิทธิพลในวงราชการมีหรือไม่ (กรณีนี้จำเลยเป็นปลัดแต่ไม่ใช่และมีพฤติการณ์เป็นผู้มีอิทธิพลเลยตามที่พยานไปให้การกับพนักงานสอบสวน) จะแจ้งความดำเนินคดีกับพยานรายนี้ได้หรือไม่

    ขอบคุณอาจารย์มาก

    คำตอบ

    1. ไม่มีหลักในการคำนวณแน่นอน ขึ้นอยู่กับสภาพของแต่ละคน และการพิสูจน์ถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น

    2. ขึ้นอยู่กับว่าในคดีแพ่งต้องอาศัยข้อเท็จจริงจากคดีอาญาหรือไม่

    3. บางทีการเอาเรื่องกันต่อไปก็ใช่ว่าจะเป็นความสุขเสมอไป การให้อภัย บางทีก็จะนำความสุขมาให้ และประหยัดเงินทองด้วย

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    1 กันยายน 2550