ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    022519 ความยุติธรรมมีจริงหรือใน พรบ.ข้าราชการพลเรือนนายยงยุทธ(ข้าราชการชั้นตำ)10 กรกฎาคม 2550

    คำถาม
    ความยุติธรรมมีจริงหรือใน พรบ.ข้าราชการพลเรือน

    กราบเรียนท่านอาจารย์มีชัย ที่เคารพ  ผมเป็นข้าราชการกรมชลประทาน สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตำแหน่งปัจจุบัน เป็นนายช่างชลประทานระดับ 7  ผมเรียนในระดับอุดมศึกษาที่โรงเรียนช่างชลประทาน(รับสมัครนักเรียนที่จบชั้นมัธยมปลายสาย คณิต-วิทย์ สอบแข่งขันกันเข้ามาเรียนตามหลักสูตร 3ปีครึ่ง)เมื่อจบการศึกษาเริ่มบรรจุในตำแหน่งนายช่างชลประทานระดับ 2 ตามสัญญาที่ทำกับกรมชลประทาน เพื่อความก้าวหน้าในอนาคตจึงไปศึกษาต่อจนจบวิศวกรโยธาในปี2540 และจากนโยบายภาครัฐที่มุ่งเน้นพัฒนาคนจึงไปศึกษาต่อจนจบ รัฐประสาสนศาตร์มหาบัณฑิตจากNIDA ปี2544 เพื่อนำความรู้ที่หลากหลายมาประยุกต์ใช้ในการปฎิบัติราชการไม่เพียงเท่านั้นยังมุ่งมั่นอุตสาห์ไปศึกษาต่อ วิศวมหาบัณฑิต จนจบสาขาวิศวทรัพยากรน้ำจาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปี พ.ศ.2549 ดังคำที่ว่า"ความรู้เรียนเท่าไหร่ไม่จบสิ้น ถ้าเราหยุดเราก็คืออดีต" โดยในการศึกษาต่อหลังจากเข้ารับราชการได้ใช้ทุนส่วนตัวทั้งสิ้นโดยไม่ใช้ทุนของภาครัฐแต่อย่างใดแต่จากการสอบถามไปที่การเจ้าหน้าที่เพื่อขอปรับโอนเปลี่ยนตำแหน่งไปดำรงตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 (ตำแหน่งวิศวกร) ได้รับคำตอบว่า 1.ต้องสอบบรรจุภาค ก.และภาค ข.วิชาเฉพาะ 2.ต้องลดระดับเป็นระดับ5 ลดเงินเดือนด้วย ซึ่งเป็นไปตาม พรบ.ข้าราชการพลเรือนปี พ.ศ. 2535 กระผมได้ศึกษาระเบียบดังกล่าวแล้ว พบว่า เป็นเพียงหนังสือที่สำนักงาน กพ. กำหนด และแจ้งเวียนให้หน่วยงานต่าง ๆ ทราบ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2547 (ที่ นร 1006/ 15 28 มิถุนายน 2547 เรื่อง การย้ายหรือการโอนช้าราชการพลเรือนสามัญที่ได้รับวุฒิเพิ่มขึ้น ) ซึ่ง กพ. กำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งที่จะแต่งตั้งให้ส่วนราชการดำเนินการ  ดังนี้  1. ตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้ 1.1 ทดสอบความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่จะแต่งตั้งโดยใช้หลักสูตรตามหนังสือสำนักงาน กพ. ที่ นร 0708.4 /15 ลงวันที่ 9 กันยายน 2535 โดยอนุโลม 1.2  ประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง โดยให้ทดลองปฏิบัติงานในระยะเวลาตามที่คณะกรรมการกำหนด 1.3 เกณฑ์การตัดสินต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อย 60   2.  การแต่งตั้งผู้ได้รับการคัดเลือก จะแต่งตั้งได้ไม่สูงกว่าระดับเดิม และไม่เกินระดับ 5 ทั้งนี้ไม่ก่อนวันที่ผ่านการคัดเลือก 3.  จัดให้ผู้ได้รับการคัดเลือกทำข้อตกลงเพื่อปฏิบัติงานในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี จึงจะย้ายหรือโอนได้ 4. ต้องดำเนินการคัดเลือกและแต่งตั้งให้เสร็จสิ้นก่อนบัญชีผู้สอบแข่งขันได้จะถูกยกเลิก  จากข้อสังเกตจะเห็นได้ว่าการออกฎระเบียบต่างๆของ ก.พ. นั้น มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ริดรอนสิทธิ์ที่พึงจะได้รับอยู่เดิมตามหนังสือที่ ก.พ.กำหนดดังต่อไปนี้ (1.ที่ สร 1003/ว11  13 กันยายน 2519  เรื่อง อนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการที่มีคุณสมบัติเฉพาะต่างไปจากที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง )  (2. ที่ นร 0711/ว 12  1 ตุลาคม 2533 เรื่อง  การย้ายหรือโอนข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับคุณวุฒิเพิ่มขึ้น)

    ถามว่า

    A. ข้อกำหนดของ กพ. ตามหนังสือดังกล่าวที่เป็นกฏหมาย พรบ.ข้าราชการพลเรือนหรือไม่

    B. ถ้าจริงจะขัดต่อนโยบายการสนับสนุนให้ประชาชนมีการศึกษาของภาครัฐหรือไม่

    C.เป็นการออกกฎเพื่อกีดกันข้าราชการที่เริ่มบรรจุต่ำกว่า ระดับ 3  เปรียบเสมือนทหารชั้นประทวนกว่าจะได้เป็นนายทหารสัญญาบัตรเลือดตาแทบกระเด็น (เกิดเป็นไพร่ไม่มีสิทธิ์เป็นขุนนาง) ข้อกำหนดดังกล่าวขัดต่อร่างกฏหมายรัฐธรรมนูญฉบับปี 50 หรือไม่

    D. ถ้าผมคิดว่าข้อกำหนดดังกล่าว คือการแต่งตั้งผู้ได้รับการคัดเลือก จะแต่งตั้งได้ไม่สูงกว่าระดับเดิม และไม่เกินระดับ 5 และทำการลดขั้นเงินเดือนในกรณีที่เงินเดือนสูงกว่าขั้นเงินเดือนสูงสุดของระดับ 5 นั้น ไม่เป็นธรรมกรณีดังกล่าวเป็นการออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และสามารถฟ้องศาลปกครองได้หรือไม่

    E. แต่มีกรณีตัวอย่างที่เป็นการเลือกปฏิบัติสำหรับนายช่างชลประทาน 8 ปรับเป็นวิศวกรชลประทาน 9 โดยไม่ต้องปรับลดเป็นระดับ 5 ก่อน ข้ามขั้นเป็นระดับ 9 ได้เลย ดังกรณีคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ 83/2550 ลงวันที่ 22  กุมภาพันธ์ 2550 เรื่อง เลื่อนข้าราชการ 

    คำตอบ

    เรียน คุณยงยุทธ

    1. ตัวหนังสือนั้นไม่ใช่กฎหมาย แต่เป็นกฎเกณฑ์ที่ ก.พ.มีอำนาจออกได้ตามกฎหมาย

    2. การสนับสนุนให้ประชาชนศึกษาหาความรู้นั้นเป็นคนละกรณีกับการเลื่อนตำแหน่งในราชการ ซึ่งมีกฎเกณฑ์อยู่แล้ว

    3. เขาคงไม่ได้กีดกันหรอก แต่คงมีเหตุผลที่จะรักษาประโยชน์ของทางราชการ

    4. ก็เป็นสิทธิที่จะฟ้องศาลปกครองได้

    5. ลองศึกษาให้ดี ๆ แล้วจะเข้าใจว่าเป็นคนละเรื่อง


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    10 กรกฎาคม 2550