ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    021541 การทำงานเป็นกะข้าราชการ27 เมษายน 2550

    คำถาม
    การทำงานเป็นกะ

    ด้วยดิฉันรับราชการอยู่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เป็นหน่วยงานห้องสมุดที่ทำงานงานบริการผู้ใช้ เวลาทำงานปกติ 8.30  น.จนถึง 16.30 น.ห้องสมุดจะเปิดถึง 20.30 น. เดิมทีหลังเวลา 16.30 น. จะถือเป็นทำงานล่วงเวลาและได้รับค่าตอบแทนล่วงเวลาระหว่าง 16.30 - 20.30 น. ปัจจุบันผู้บริหารต้องการประหยัดงบประมาณค่าล่วงเวลาจึงมีนโยบายใหม่ให้ข้าราชการทำงานเป็นกะคือให้สลับกันทำคนละ 8 ชั่วโมงต่อวัน เช่น 8.30 -16.30 น. 10.30-17.30 น. 12.30 - 19.30 น.  13.30 - 20.30 น. หมุนเวียนกันทำงาน เพื่อที่จะได้ไม่ต้องจ่ายค่าล่วงเวลา และมีคนทำงานถึง 20.30 น.ให้ถือว่าสลับกันทำงานวันละ 8 ชั่วโมง จึงอยากเรียนถามดังนี้
    1. นโยบายนี้ถูกต้องตามระเบียบราชการหรือไม่
    2. การกำหนดการทำงานเป็นกะลักษณะงานห้องสมุดเข้าข่ายงานเป็นกะหรือไม่ โดยไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทนล่วงเวลาแต่ให้สลับเวลาทำงาน จนถึง 20.30 น.
    3. ระเบียบการทำงานของราชการกำหนดลักษณะงานปกติ เวลาทำงานปกติอย่างไร และกำหนดลักษณะงานเป็นกะไว้อย่างไร และสามารถศึกษาได้จากกฎหมายหรือระเบียบใด

    ขอบคุณค่ะ

    คำตอบ

    1. ไม่มีอะไรขัดข้อง

    2. จะถือว่าเป็นกะก็ได้ หรือเป็นการกำหนดเวลาทำงานเฉพาะก็ได้

    3. กฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือน และมติคณะรัฐมนตรีว่าด้วยเวลาการทำงานราชการ


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    27 เมษายน 2550