ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    015692 การตีความกฏหมายสมพงษ์25 ธันวาคม 2548

    คำถาม
    การตีความกฏหมาย

    เรียน  อาจารย์ที่เคารพ

                 มีระเบียบกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการจ้างลูกจ้างชั่วคราวที่กำหนดว่าการจ้างลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการต้องจ้างไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (ไม่แน่ใจตัวเลข) หรือวันละ 8 ชั่วโมง ตั้งแต่วันจันทร์-วันเสาร์  หยุดวันอาทิตย์  ผู้บริหารบางท่านตีความว่า "ให้ทำงานแล้ววันละ 8 ชั่วโมง จันทร์-เสาร์  เพราะฉะนั้น จะทำวันอาทิตย์เพื่อขอเบิกค่าล่วงเวลาไม่ได้เพื่อชั่วโมงการทำงานเกิน 48 ชั่วโมง  ทุกวันนี้ลูกจ้าชั่วคราวเลยทำงานวันอาทิตย์ไม่ได้  แต่ความเข้าใจของผมที่เขากำหนดไม่เกิน 48 ชั่วโมง คงจะป้องกันไม่ให้ใช้แรงงานอย่างทาสมากกว่า  แต่ถ้าเขาจะทำงานวันอาทิตย์ด้วยโดยเบิกค่าล่วงเวลาได้ก็น่าจะทำได้  อาจารย์ช่วยให้ความกระจ่างด้วยครับ  เพราะตอนนี้ยังยึดอยู่แบบเดิมคือ ลูกจ้างชั่วคราวทำล่วงเวลาเพื่อเบิกค่าตอบแทนไม่ได้     ..........ขอบคุณครับ

    คำตอบ

    เรียน คุณสมพงษ์

           ข้อกำหนดที่ให้จ้างไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หมายถึงการจ้างในกรณีปกติ  แต่ถ้าเมื่อไรราชการมีงานจำเป็นต้องให้ทำล่วงเวลา ก็ทำได้โดยจ่ายค่าล่วงเวลา เพียงแต่ต้องเป็นเรื่องที่ทางราชการมีงานเร่งด่วน ไม่ใช่ให้ทำงานล่วงเวลาเพื่อจะได้ค่าล่วงเวลา

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    25 ธันวาคม 2548