ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    015478 การลาศึกษาต่อของข้าราชการprimp23 พฤศจิกายน 2548

    คำถาม
    การลาศึกษาต่อของข้าราชการ

    เรียน อ. มีชัย

         ดิฉันเป็นข้าราชการพลเรือนสังกัดกระทรวงสาธารณสุขค่ะ ได้ลาศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาเมื่อปี 2545 และจบการศึกษาปี 2547 ในระหว่างนั้นดิฉันไม่ได้รับการพิจารณาขั้นเงินเดือน คือ ได้รับเงินเดือนเท่ากันตลอดทั้ง 2 ปี ซึ่งในตอนแรกดิฉันก็ไม่ได้ติดใจสงสัยอะไร จนกระทั่งเมื่อสำเร็จการศึกษาได้ทราบว่าเพื่อนที่เป็นข้าราชการพลเรือนเหมือนดิฉันแต่คนละสังกัด ได้รับการพิจารณาเงินเดือน คือเธอได้พิจารณาเลื่อนขั้นปีละ 1 ขั้น

         ดิฉันจึงเกิดความสงสัยและอยากเรียนถามว่าตกลงแล้วการลาศึกษาต่อของข้าราชการมีสิทธิ์ได้รับการพิจารณาขั้นเงินเดือนหรือไม่ และทำไมข้าราชการพลเรือนเหมือนกันจึงได้รับการปฏิบัติไม่เหมือนกันคะ ขอบพระคุณค่ะ

    คำตอบ

    เรียน  primp

           การขึ้นเงินเดือนเป็นเรื่องของการตอบแทนผลการทำงาน ถ้าไม่ได้ทำงานเลยก็ย่อมไม่ได้รับการขึ้นเงินเดือน การลาไปศึกษาต่อมี ๒ ชนิด คือลาไปเลยโดยไม่กลับมาทำงาน กับลาไปเรียนเป็นบางช่วงบางตอน คนที่กลับมาทำงานก็อาจได้รับการพิจารณาขึ้นเงินเดือนได้

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    23 พฤศจิกายน 2548