ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    013507 การทำงานของ กพรโสภณ23 มีนาคม 2548

    คำถาม
    การทำงานของ กพร

    เรียนท่านที่เคารพ

               ในฐานะที่ท่านได้เป็นกรรมการของกพร เพื่อพัฒนาระบบราชการ และผมเป็นข้าราชการที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและปฎิรูปทุกอย่าง  แต่การทำงานของ กพร มีปัญหาอยากให้ท่านได้ลองอ่านที่เวปบอร์ดของกพร  คงจะได้คำถามกับการทำงานของ กพร ว่าควรปรับอะไรบ้าง

    ตัวอย่างครับ

    จากการที่ผมสอบถามไปทาง กพร. บัดนี้ได้รับคำตอบแล้วครับ ผมเห็นแล้วก็อึ้งครับ ขอกลับไปทำงานดีกว่า จะคัดค้านอย่างไรก็ไม่เป็นผลแล้วละครับ ขอให้ข้าราชการผู้ปฏิบัติจำไว้เป็นบทเรียนก็แล้วกันนะครับผม ว่า กพร. สร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมข้าราชการหรือไม่ เราไม่ได้เรียกร้องขอเงินเยอะๆนะครับ กพร. เราเรียกร้องความเหมาะสมครับ ถ้าเป็นไปได้ปีหน้าหรือปีต่อๆไปขออย่าให้มีโบนัสเลย เลิกเถอะ ส่วนรัฐบาลจะช่วยข้าราชการแบบไหนก็ช่วยไป มีโบนัสนอกจากจะเสียความรู้สึกและเสียการปกครองระหว่างผู้บริหารและลูกน้องแล้ว ยังต้องเสียเงินให้เอกชนมาประเมินอีก รัฐบาลทักษินก็โดนด่าเละ งวดหน้าข้าราชการทั้งประเทศคงไม่เลือกแน่ๆ
    และอีกอย่างจะเพิ่มจะลดจะปรับระบบอะไรก็ตามของราชการอย่าให้ กพร. เป็นทำเลย

    ตอบชี้แจงเกี่ยวกับเงินเพิ่มสำหรับผู้บริหาร ประจำปีงบประมาณ 2547
    เนื่องจากมาตรการเกี่ยวกับการจัดสรรเงินเพิ่มพิเศษสำหรับผู้บริหาร ปีงบประมาณ 2547 นั้น ได้ผ่านความเห็นชอบจาก ค.ร.ม. ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2548 แล้ว แต่โดยที่ยังอยู่ระหว่างการดำเนินการในรายละเอียดที่จะนำไปสู่การเบิกจ่ายเงินดังกล่าวให้มีความชัดเจนและเป็นธรรม จึงยังไม่สามารถเรียนถึงรายละเอียดดังกล่าวได้ในขณะนี้
    อย่างไรก็ดี เพื่อให้เพื่อนข้าราชการได้รับทราบข้อมูลพื้นฐานและความเข้าใจเกี่ยวกับเงินเพิ่มพิเศษสำหรับผู้บริหาร จึงขอเรียนถึงประเด็นสำคัญทีเป็นคำถามจากเพื่อนข้าราชการ ดังนี้
    1.มีหลักการในการจัดสรรเงินรางวัลสำหรับผู้บริหาร ปีงบประมาณ 2547 อย่างไร ?
    หลักการคือ ต้องการยกระดับค่าตอบแทนของผู้บริหารซึ่งทำหน้าที่หัวหน้าและ
    รองหัวหน้าหน่วยงานที่ต้องทำคำรับรองการปฏิบัติราชการให้มีอัตราใกล้เคียงกับภาคเอกชน โดยมีตำแหน่งหลัก ได้แก่ ตำแหน่งปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวงหัวหน้ากลุ่มภารกิจ อธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัด รวมทั้งตำแหน่ง ผู้บริหารระดับรองลงไป ได้แก่ รองอธิบดี รองผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้อำนวยการสำนัก และผู้อำนวยการกอง ( สำนักงาน ก.พ.ร.ได้เรียนชี้แจงไปแล้วในข่าวประชาสัมพันธ์)
    2. มีตำแหน่งใดบ้างที่จัดเป็นตำแหน่งผู้บริหารที่มีสิทธิได้รับเงินฯ ในครั้งนี้ ?
    จากหลักการดังกล่าว ตำแหน่งอื่น ๆ ที่เป็นตำแหน่งข้างเคียงกับตำแหน่งหลัก
    ดังกล่าว หากไม่ได้ทำหน้าที่ในการบริหารหน่วยงานตามเจตนารมณ์ของมาตรการนี้ ก็ไม่ควรได้รับเงินฯในครังนี้ แต่อาจจะได้ในมาตรการอื่น ๆ ที่จะมีขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ การจัดว่าตำแหน่งใดจะมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มพิเศษในครั้งนี้กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา
    3.มีวิธีการจัดสรรอย่างไร ?
    การที่ตำแหน่งใดจะได้รับเงินฯ เท่าไรนั้น ขึ้นอยู่กับ ส่วนต่าง ระหว่างเงินค่าตอบแทนที่ผู้บริหารควรได้รับ(ราคาของตำแหน่งนั้น ๆ) กับเงินที่ผู้บริหารได้รับอยู่แล้วในปัจจุบัน และจะได้รับเงินส่วนต่างฯ นี้ไปมากน้อยเพียงใดขึ้นอยูกับ ผลงาน
    ขอยกตัวอย่างการคิดคำนวณเงินที่ผู้บริหารตำแหน่งปลัดกระทรวงจะได้รับจริง โดยสมมุติว่า ณ วันที่ 1 กันยายน 2547 ได้รับเงินเดือน 59,890 บาท ดังนี้
    1) ราคาของตำแหน่งปลัดกระทรวงตามมติ ค.ร.ม. = 150,000 บาท/เดือน
    2) เงินที่ได้รับอยู่ในปัจจุบัน = (เงินประจำตำแหน่ง+เงินค่าตอบแทนพิเศษ+ เงินเดือน)
    = (21,000 +21,000 + 59,890)
    3) เงินส่วนต่างฯ ที่ควรได้รับ = 150,000 – (100,890) = 48,110
    4) เงินที่ปลัดผู้นี้จะได้รับจริง = 48,110 x % ของเงินส่วนต่างที่จะได้รับ
    หมายเหตุ % ของเงินส่วนต่างที่จะได้รับ ในการคำนวณจะมีตารางเทียบค่าผลงานเป็น% ของเงินส่วนต่างที่จะได้รับ ตัวอย่างเช่น หากได้คะแนนการประเมินผลการปฏิบัติราชการเท่ากับ 4.00 อาจจะได้เงินส่วนต่างเท่ากับ 80 % เป็นต้น ดังนั้น กรณีของปลัดกระทรวงผู้นี้จะได้รับเงินฯ จริงเท่ากับ 38,488 บาท/เดือน เป็นต้น

    ลิงค์เวปบอร์ด กพร http://www.opdc.go.th/WB/Answer1.php?txtQCode=4803000080&cboGroup=1

    http://www.opdc.go.th/WB/webView_Topic.php?txtPage=1

     

    ขอให้ท่านอ่านในบอร็ด หน่อยเถอะครับ ความจริงมีอยู่ในนี้ครับ

     

    คำตอบ

    เรียน คุณโสภณ

           อ่านที่คุณลอกมาให้ดูแล้ว แต่ยังไม่ทราบว่ามีปัญหาตรงไหน

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    23 มีนาคม 2548