ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    013440 เกี่ยวกับวินัยทางราชการธวัช16 มีนาคม 2548

    คำถาม
    เกี่ยวกับวินัยทางราชการ

    สวัสดีครับ  ท่านอาจารย์มีชัย 

    ด้วยข้าพเจ้าได้ถูกดำเนินการทางวินัย กรณีเงินขาดบัญชีในองค์การบริหารส่วนตำบล โดย  สตง. ชี้มูลความผิด  เมื่อตอนปี พ.ศ. 2544 และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางละเมิด มติคณะกรรมการให้ยุติเรื่อง เนื่องจากข้าพเจ้าได้ดำเนินการชดใช้ให้ครบจำนวนแล้ว ต่อมาโอนย้ายไปยังหน่วยงานใหม่ แล้วหน่วยงานใหม่เห็นว่ายังสอบสวนไม่ครอบคลุมถึงเรื่องวินัย จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย และมีมติให้ลงโทษทางวินัย โดยให้ลดขั้นเงินเดือน ครึ่งขั้น เสร็จสิ้นแล้ว ต่อมาข้าพเจ้าได้เห็นหนังสือจาก ส่วนปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ ให้ดำเนินคดีฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ  และเป็นการได้ประโยชน์จากตัวเงินสดที่ขาดบัญชีสำหรับตนเองหรือผู้อื่น   โดยขอให้แต่งตั้งผู้กล่าวหาไปร้องทุกข์ เพื่อดำเนินคดีอาญากับข้าพเจ้า ในข้อหาเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษารักษาทรัพย์ใด เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต หรือโดยทุจริตยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์นั้นเสีย และเป็นเจ้าพนักงานปฏบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเป็นเหตุให้ องค์การบริหารส่วนตำบล เสียหาย จึงขอความช่วยเหลือจากท่านอาจารย์ดังนี้ครับ
    1. เรื่องแบบนี้ถือเป็นคดีอาญาด้วยหรือ ถ้าเป็น เกิดข้าพเจ้าต้องโทษจำคุก ก็ต้องต้องออกจากราชการใช่ใหม
    2. ในเมื่อข้าพเจ้ายอมชดใช้ในสิ่งที่ข้าพเจ้ารับผิดชอบ (เพราะเงินที่ขาดไป เกิดจากการที่ผู้บริหาร ปลัด ช่าง และคนเก็บค่าตลาดเอาไปใช้จ่ายส่วนตัว โดยที่ไม่นำส่งให้ข้าพเจ้า แต่ข้าพเจ้าได้ลงบันทึกบัญชีไปแล้วเพราะเจตนาดี ตอนนี้ก็รู้ว่าตัวเองโง่มากและรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และส่วนหนึ่งผู้บริหารก็เอาเงินที่เก็บรักษาไปทดรองจ่ายในการจัดกิจกรรมต่างๆ ของ อบต.) และข้าพเจ้าก็โดนลงโทษทางวินัยด้วยแล้ว เงินเดือนก็ไม่ขึ้นแล้ว ไม่มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานตลอดระยะเวลาเกือบ 5 ปี แล้วยังจะดำเนินคดีอาญากับข้าพเจ้าอีกเหรอ
    ตอนนี้ข้าพเจ้าอายุ 27 ปี รับราชการในตำแหน่งหัวหน้าส่วนการคลัง เมื่อปี 2540 ตอนนั้นอายุได้ 19 ปี ทำงานได้ 4 ปี ก็โดนเรื่องวินัยตลอดมา สตง.ส่วนกลางให้ข้าพเจ้าไปให้ปากคำที่กรุงเทพฯ ข้าพเจ้าไม่สามารถไปได้เนื่องจากตอนนั้นภรรยาของข้าพเจ้าอยู่ระหว่างคลอดลูกคนแรก ประกอบกับช่วงนั้นเงินก็ไม่ค่อยมีจะเบิกค่าเดินทางไปราชการก็ไม่ได้ มันแย่มากเลยครับ

    3.  ไม่ทราบว่าอายุความของเรื่องดังกล่าวข้างต้น  มีอายุกีปีครับ 

    เพราะข้าพเจ้ายังเด็กรับราชการในตำแหน่งหัวหน้าส่วนการคลังตั้งแต่อายุ 19 ปี  อยู่  อบต.  ไม่พี่เลี้ยง  ไม่มีคนสอน  ต้องเรียนรู้เอง  ต้องลองผิดลองถูก  ทำงานไม่ค่อยเป็น  เลยเกิดข้อผิดพลาดมากมาย พอเงินขาดบัญชีข้าพเจ้าก็กู้เงินมาชดใช้ให้เสร็จก่อน  แล้วตามเรียกเก็บเงินจากคนอื่น ๆ  ที่เอาเงินไป เป็นหนี้สินตลอดมา ทุกคนก็ไม่ช่วยเหลืออะไรเลยเอาตัวรอดกันหมด    เจ้าตัวกฏหมาย   ทำผมเศร้า  คิดมาก สุขภาพจิตแย่  ครอบมีปัญหา ไม่กำลังใจทำงาน  ลูกก็ยังเล็กอายุแค่ ปี กว่า ๆ  ผมไม่รู้จะทำอย่างไรดี 

    คำตอบ

    เรียน คุณธวัช

          1. การกระทำดังกล่าวถ้าเป็นความผิดจริง อยู่ในข่ายความผิดอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงานกระทำผิดต่อหน้าที่ มีโทษจำคุกตั้งแต่ ๕ ปี ถึง ๒๐ ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต

           2. ความผิดอาญานั้น เมื่อได้กระทำลงไปแล้ว แม้จะได้มีการชดใช้คืินให้ ก็ไม่ทำให้ความผิดนั้นลบล้างไป  อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงของคุณเป็นช่องทางที่จะนำไปใช้ต่อสู้คดีได้ ซึ่งคงหนีไม่พ้นที่จะต้องหาทนายความไม่ช่วยต่อสู้คดีให้ เพราะถ้าศาลตัดสินว่าคุณผิดจริง นอกจากจะมีโทษถึงจำคุกแล้ว ยังต้องถูกไล่ออกจากราชการอีกด้วย

           3. อายุความสูงสุด คือ ๒๐ ปี

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    16 มีนาคม 2548