ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    013232 การบริหารราชการของไทยรัฐพล พงษ์พันธุ์24 กุมภาพันธ์ 2548

    คำถาม
    การบริหารราชการของไทย

    เรียน อาจารย์ มีชัย,

         ผมได้ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับแนวทางการกระจายอำนาจของไทยมาพอสมควร และทราบว่าโดยปกติแล้วการบริหารราชการแผ่นดินของไทยจะแบ่งออกเป็น การบริหารราชส่วนกลาง, การบริหารราชการส่วนภูมิภาค และการปกครองส่วนท้องถิ่น  แต่ในปัจจุบันท้องถิ่นมีอำนาจเป็นของตัวเองมากขึ้น และสามารถดูแลตัวเองได้ โดยไม่ต้องพึงพิงการบริหารงานส่วนภูมิภาค จึงมีข้อสงสัยเรียนถามอาจารย์ว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่ประเทศไทยจะมีการจัดการปกครองเพียงสองรูปแบบเท่านั้น คือ การบริหารราชการส่วนกลาง และการปกครองส่วนท้องถิ่น และอาจารย์คิดว่าจะมีผลดี ผลเสียอย่างไรบ้างครับ?

    คำตอบ

    เรยน คุณรัฐพล

          ประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยว ทุกพื้นที่ยังอยู่ภายใต้การดูแลและความรับผิดชอบของรัฐบาล การปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นเรื่องของการให้ประชาชนในพื้นที่สามารถดูแลกิจการบางอย่างกันเองได้ภายในเขตพื้นที่ของตน   การปกครองส่วนภูมิภาคเป็นเพียงแขนขาของรัฐบาลในการดูแลพื้นที่ที่อยู่ไกลเมืองหลวง  ดังนั้นไม่ว่าการปกครองท้องถิ่นจะพัฒนาหรือแข็งแกร่งเพียงใด การปกครองส่วนภูมิภาคก็ยังคงต้องมีอยู่เพื่อเป็นหูเป็นตาและเครื่องมือในการบริหารงานของรัฐบาล เพราะเรื่องบางเรื่องจะปล่อยให้ท้องถิ่นเป็นผู้ทำย่อมไม่ได้ เช่น จะสร้างถนนจากเหนือลงสู่ใต้ จะปล่อยให้ท้องถิ่นต่างคนต่างทำกันภายในเขตท้องถิ่นของตน คงยากที่จะสำเร็จ เพราะท้องถิ่นแต่ละท้องถิ่นมีความจำเป็นที่แตกต่างกัน มีเงินงบประมาณมากน้อยไม่เหมือนกัน และมาตรฐานก็ต่างกัน ถนนที่ต่างคนต่างสร้างมาเชื่อมต่อกันนั้น คงดูไม่จืด

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    24 กุมภาพันธ์ 2548