ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    049428 สงสารอาจารย์มหาวิทยาลัยนิสิตรั้วจามจุรี23 กรกฎาคม 2556

    คำถาม
    สงสารอาจารย์มหาวิทยาลัย

    ท่านอาจารย์ครับในฐานะที่ท่านเป็นประธานอนุกรรมการเพื่อจัดทำร่างแนวทางปฏิบัติหรือหลักเกณฑ์กลางในการบริหารงานบุคคลสำหรับพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา ผมมีเรื่องอยากเเสดงทัศนะเเละคำถามถึงท่านดังนี้ครับ ผมเรียนอยู่ที่สถาบันการศึกษาที่ในอดีตซึ่งเคยเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ผมคิดอยู่เสมอว่าอาจารย์ที่นี้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิทั้งทางด้านคุณธรรมเเละสติปัญญา และผมก็รู้อยู่ว่าท่านเหล่านั้นก็ทุ่มเทในการสอนอย่างมาก เพื่อสอนนิสิตให้จบไปเป็นกำลังหลักในการพัฒนาชาติ อาจารย์นั้นในสังคม ประเทศใดๆนั้น ย่อมมีความสำคัญทั้งนั้น เพราะเป็นผู้ถ่ายทอดสอนสั่งให้นิสิต นักศึกษา มีความรู้เพื่อไว้ใช้ในการดำเนินชีวิต ความรู้เป็นสิ่งสำคัญเพราะเป็นทรัพย์อันมากประมาณ ที่มีไว้เเล้วมีคุณค่าเเก่ตนเองเเละผู้อื่น ด้วยเหตุนี้อาจารย์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในเมื่อท่านเหล่านี้มีความสำคัญเเละเป็นกลไกหลักในการสร้างคนซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญอย่างมาก เเล้วทำไมเราถึงทำให้ท่านเหล่านั้นมีสถานะเป็นเพียงพนักงานมหาวิทยาลัย เรียกง่ายๆก็คือลูกจ้าง ผมมีความเข้าใจว่ามหาวิทยาลัยต้องการคนที่มีคุณภาพจึงได้ทำเป็นสัญญาจ้าง เพื่อดูความเหมาะสมทางความรู้เเละผลงานวิจัย เพื่อประเมินในเเต่ละรอบปีผมอยากถามท่านหน่อยว่า อาจารย์มีทั้งที่สอนดี วิจัยไม่เก่ง สอนไม่ค่อยเก่งเเต่วิจัยดี หากเป็นเช่นนี้หากถูกประเมินไม่ผ่าน เท่ากับอาจารย์คนนั้นหมดโอกาสในการทำงานไปเลยโดยปริยาย อีกประการหนึ่งคือตำเเหน่งทางวิชาการ ผศ. รศ. ศ. ที่ต้องมีการได้มาในเวลากี่ปีก็ว่าไป ผมอยากบอกท่านว่าตำเเหน่งทางวิชาการ มิได้บ่งบอกว่าเป็นคนที่เก่ง เเละวิจัยดีทุกคน อาจารย์บางท่านอาจไม่มีตำเเหน่งเเต่ท่านก็สอนเก่งเเละวิจัยดี ตรงนี้เป็นสิ่งที่ผมเห็นเเล้วสงสารอาจารย์เหลือเกินครับ ทางด้านเงินเดือนที่ว่าขึ้น 1.7 มหาวิทยาลัยที่ผมเรียนอาจขึ้นเพราะมีรายได้เยอะจาก ที่ต่างๆเเต่มหาวิทยาลัยอื่นเท่าที่ผมดูข่าวมิได้เป็นเช่นนั้น เพราะเป็นมหาวิทยาลัยเล็กมากๆครับ ที่สำคัญในด้านการเบิก รักษาพยาบาลต่างๆก็ไม่สามารถเบิกให้ได้เหมือนข้าราชการ ที่ให้เบิกพ่อเเม่ สามีภรรยา เเละบุตร กลับต้องไปใช้ประกันสังคม เทียบเท่าพนักงานบริษัท ลูกจ้างทั่วไป สิ่งเหล่านี้ผมเห็นว่าไม่สมควรที่จะทำอย่างอยิ่งครับ องค์กรจะขับเคลื่อนต้องอาศัยทั้งประสิทธภาพทั้งของตัวองค์กรเองเเละตัวบุคคล ถ้าเราไม่เลี้ยงทะนุถนอมคนในองค์กรเราให้มีชีวิตที่ดีเเละมั่นคง บุคคลเหล่านั้นจะอยากเค้ามาทำงานหรือไม่ เเล้วถ้ามาทำงานจะทำงานได้อย่างเต็มที่สมกับศักยภาพหรือไม่ครับ ผมจึงอยากจะเสนอเเนะอาจารย์ในการเเก้ปัญหาดังนี้ครับ

    1.เปลี่ยนให้พนักงานมหาวิทยาลัย กลับไปเป็นข้าราชการทั้งหมด(โดยความสมัครใจ ณ ขณะที่ใช้บังคับกฎหมาย) อาจออกเป็นพระราชกฤษฎีกา ขยายความในพรบ.ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา

    2.ทำให้มหาวิทยาลัยเป็นองค์การมหาชน จริงก็คือสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ เพราะน่าจะมีความหมายใกล้เคียงกัน เเล้วให้มีข้าราชการอยู่ในนั้น เหมือนในฝรั่งเศส

    3.ให้มหาวิทยาลัยมีทั้งข้าราชการเเละพนักงานมหาวิทยาลัย

    ท้ายนี้ผมอยากกล่าวว่า คนเรามักต้องกัยความมั่นคงเเละยั่งยืนมากกว่าสิ่งที่ได้รับเฉพาะหน้า ผมคิดว่าถ้าอาจารย์ในมหาวิทยาลัยของรัฐซึ่งเป็นกำลังหลักของชาติที่ทำงานหนักพอๆกันหรือหนักกว่าข้าราชการ ได้กลับมาเป็นข้าราชการเช่นเดิม จะเป็นผลดี ปัญหาเรื่องเงินเดือน ประกันสวัสดิการก็จะหายไป คนก็จะอยากมาเป็นอาจารย์ เพราะเป็นข้าราชการเป็นสิ่งที่มั่นคงต่อตนเองเเละวงศ์ตระกูล มิใช่เป็นเพียงพนักงานมหาวิทยาลัย ที่ขาดความมั่งคง ซึ่งผมคิดว่าหากอาจารย์ ยังเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยอยู่เเละท้ายที่สุดไม่มีข้าราชการเหลือ ปัญหาก็จะยิ่งบานปลาย คนก็จะไม่อยากมาเป็นอาจารย์ ผลร้ายก็จะตกมาที่เยาวชน ซึ่งเป็นกำลังเเละอนาคตของชาติครับ

    ท้ายนี้คำถามที่อยากถามอาจารย์คือ สิ่งที่ผมเสนอมีโอกาสเป็นไปได้ไม่ครับ เเล้วอาจารย์มีความคิดเห็นเป็นอย่างไร

    ด้วยความเคารพอย่างสูงครับ

    ภัทรกิตติ์ รัตนากร

    คำตอบ
    ความรู้สึกของคนเรานั้นห้ามไม่ได้  แต่การที่มหาวิทยาลัยออกจากระบบราชการ เป็นผลสืบเนื่องมาจากมหาวิทยาลัยเก่า ๆ ที่รู้สึกว่าภายใต้ระบบราชการ ขาดความคล่องตัว ทำให้ไม่เกิดประสิทธิภาพ จนในที่สุดจึงเกิดการออกนอกระบบ และทำให้อาจารย์ในมหาวิทยาลัยพ้นจากความเป็นข้าราชการ มาเป็นพนักงาน  สำหรับคนที่ยังติดยึดอยู่กับราชการ ก็ย่อมรู้สึกว่าขาดศักดิ์ศรี  แต่แท้ที่จริงศักดิ์ศรีนั้นไม่ได้อยู่ที่ความเป็นราชการหรือไม่ หากแต่อยู่ที่ผลการปฏิบัติหน้าที่  คนที่ทำงานในภาคเอกชนเป็นจำนวนมาก ก็ได้รับการยอมรับนับถือจากสังคมไม่น้อยไปกว่าราชการ  เพียงแต่ว่าในการดำเนินนโยบายให้มหาวิทยาลัยออกนอกระบบนั้น ทางราชการมิได้คิดอย่างละเอียด คิดแต่ในภาพรวม  เมื่อมหาวิทยาลัยเก่า ๆ ที่มีอยู่เดิม อยากออกนอกระบบ ก็เลยนึกว่าจะเกิดผลดีแก่มหาวิทยาลัยใหม่ ๆ ที่เพิ่งตั้งได้ไม่กี่ปี ไปด้วย  จึงใช้มาตรการบีบบังคับให้มหาวิทยาลัยของรัฐทุกแห่งเดินไปข้างหน้าในทิศทางเดียวกันหมด โดยไม่ได้คำนึงถึงพื้นฐานและฐานะทางการเงินของมหาวิทยาลัยที่เกิดขึ้นใหม่  มหาวิทยาลัยใหม่ ๆ ที่มีจำนวนมากกว่า จึงสาหัสสากรรจ์กว่ามหาวิทยา่ลัยที่คุณเห็น เป็นอันมาก  ขนาดที่เมื่อจะต้องเลือกระหว่างการเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย กับ พนักงานของ อบต. ซึ่งมีฐานะเป็นข้าราชการ คนส่วนใหญ่ยังเลือกที่จะออกจากความเป็นอาจารย์เพื่อไปเป็นพนักงาน อบต. แนวคิดของคุณนั้นเป็นที่ปรารถนาของบุคลากรในมหาวิทยาลัยที่ตั้งใหม่ แต่ก็เป็นการยากที่จะเดินกลับมาได้ เพราะรัฐบาลไม่มีีทิศทางที่จะให้เดินเช่นนั้นได้
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    23 กรกฎาคม 2556