ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    048453 การสั่งย้ายโดยป้ายความผิดข้าราชการไทย17 ธันวาคม 2555

    คำถาม
    การสั่งย้ายโดยป้ายความผิด

          ดิฉันเป็น ผอ.กองฯ ที่ ม. แห่งหนึ่ง ปฏิบัติงานที่หน่วยงานนี้มาตั้งแต่บรรจุ  มกราคม พ.ศ. 2535  เป็นระยะเวลา  21  ปี  ภายหลังถูกตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงโดยผู้บังคับบัญชาอ้างว่าเป็นผู้มีความประพฤติไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง  บกพร่องต่อหน้าที่  เมื่อผู้บังคับบัญชามอบหมายงานแล้วไม่ปฏิบัติ  ทำให้มหาวิทยาลัยเสียหายอย่างมาก  (ทั้งหมดเป็นเรื่องไม่จริงดิฉันไม่เคยปฏิบัติตนเยี่ยงนั้น  หลายคนในมหาวิทยาลัยก็รู้ว่าดิฉันเป็นคนตรง  ไม่มีประวัติในทางไม่ดีตลอดการทำงานของดิฉัน)  แต่กรรมการสอบข้อเท็จจริงสรุปว่า  มีมูลตามข้อกล่าวอ้างมีความผิดจรรยาบรรณมหาวิทยาลัย  ข้อ  9  และข้อ  12  โดยยังไม่ได้ผ่านการสอบข้อคณะกรรมการจรรยาบรรณ  (ภายหลังทราบว่าคณะกรรมการจรรยาบรรณไม่รับเรื่องเนื่องจากไม่มีความผิดชี้ชัด)  ไม่มีการตั้งคณะกรรมการสอบวินัย  เพราะคำกล่าวหานี้เป็นวินัยร้ายแรง  ต่อมาผู้บังคับบัญชาสูงสุดเรียกเข้าพบแจ้งว่าขอให้ดิฉันย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ที่คณะหนึ่ง  ดิฉันถามผู้บังคับบัญชาสูงสุดว่าดิฉันมีความผิดอะไรจึงทำกับดิฉันอย่างนี้  ผู้บังคับบัญชาสูงสุดตอบว่าไม่มีความผิดอะไรหรอกอย่าไปสนใจไอ้คำกล่าวอ้างของผู้บังคับบัญชาท่านนั้นเลย  ย้ายไปอยู่คณะฯ สักพักหนึ่งนะ  ช่วย ๆ กันก่อน  ไปพรุ่งนี้เช้าเลยนะเดี๋ยวพี่ไปส่ง  ดิฉันกล่าวกับผู้บังคับบัญชาสูงสุดว่า  ขอให้เปลี่ยนตำแหน่งให้ดิฉันเลยได้หรือไม่เพื่อดิฉันจะได้ไปเติบโตในหน้าที่นั้นต่อไป  (เพราะทราบดีว่าต่อไปคงต้องย้ายกลับมาที่เดิมอีกเมื่อเขาหมดวาระ)  ผู้บังคับบัญชาสูงสุดตอบว่าคงไม่ได้หรอก  ดิฉันถามว่าตอนนี้ท่านเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดดิฉันต้องไปอยู่คณะฯ  ถ้าคนอื่นมาเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดดิฉันต้องกลับมาเป็น ผอ.กอง  แล้วถ้าท่านกลับมาเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดอีกดิฉันต้องไปอยู่คณะฯ อีกหรือไม่  ท่านไม่ตอบ  ตำแหน่งหัวหน้า สนง.คณบดี  เป็นตำแหน่งที่เทียบเท่า ผอ.กอง ก็จริง  ตามโครงสร้างการบริหาร  แต่ยังไม่ได้วิเคราะห์ค่างานเข้าสู่ตำแหน่ง  ตำแหน่งนี้จึงยังไม่มีเงินประจำตำแหน่ง  และตำแหน่งนี้ก็มีคนครองอยู่แต่เขาลาศึกษาต่อระดับ ป.เอก  และดิฉันก็ยังคงดำรงตำแหน่ง  ผอ.กอง  แต่ให้ไปปฏิบัติหน้าที่ หน.สนง.คณบดี  ไม่ได้แต่งตั้งใครมาเป็น ผอ.กอง แทน  ดังนั้นดิฉันจึงยังคงได้รับเงินประจำตำแหน่ง ผอ.กอง จนถึงขณะนี้  ดิฉันได้ขอให้ ม. ทำคำสั่งย้ายเพื่อไปรายตัวต่อคณบดี  จากนั้นดิฉันได้ทำเรื่องร้องทุกข์ต่อ ก.อ.ม.  เกี่ยวกับการย้ายเพราะมีความผิดซึ่งดิฉันมิได้กระทำตามคำกล่าวอ้าง  ม. โดยผู้บังคับบัญชาสูงสุดไม่สามารถอ้างความผิดตามข้อกล่าวอ้างที่ชัดเจนได้  แต่เขาอ้างว่าเขามีอำนาจในการโยกย้ายคนเพื่อให้เหมาะสมกับงาน  เมื่อเห็นว่าไม่เหมาะสมก็ต้องย้ายเพื่องานประกันคุณภาพของ ม.  ก.อ.ม.ได้เชิญดิฉันให้เข้าแถลงการณ์ด้วยวาจา  ถามว่าดิฉันอึดอัดไม่ที่ไปปฏิบัติหน้าที่ที่คณะฯ ถ้าจะทำงานที่นั่นไปก่อน  เพราะมองดูแล้วคงจะทำงานกันไม่ได้  ดิฉันตอบว่าดิฉันเป็นคนทำงาน  ทำงานที่ไหนก็ได้แต่การย้ายครั้งนี้เป็นการย้ายแบบมีความผิดติดตัว  ซึ่งดิฉันยอมไม่ได้เพราะดิฉันเป็นข้าราชการมีศักดิ์ศรี  และจะทำให้เสียประวัติ  ภายหลัง ก.อ.ม. มีมติสรุปสั้น ๆ ว่า “จากการพิจารณาจากพยานและหลักฐานแล้วไม่ปรากฏว่าดิฉันบกพร่องต่อหน้าที่ตามข้อกล่าวอ้าง  ผู้ร้องไม่ติดใจเรื่องคำสั่งย้ายและไม่ประสงค์จะกลับไปปฏิบัติงานที่เดิม  (ซึ่งดิฉันไม่ได้เป็นผู้พูดว่าประสงค์หรือไม่ประสงค์จะกลับ)  และจากการพิจารณาเรื่องเงินประจำตำแหน่ง หน.สนง. ยังไม่ได้มีการกำหนดเงินประจำตำแหน่ง  อาจทำให้ผู้ร้องเสียสิทธิ์ได้”  เลขาสภามหาวิทยาลัยนำมติแจ้งเพียงว่า  “ผู้ร้องไม่ติดใจเรื่องคำสั่งย้ายและไม่ประสงค์จะกลับไปปฏิบัติงานที่เดิม  ส่วนเรื่องสิทธิ์ในการรับเงินประจำตำแหน่ง  ม. อ้างว่าตามโครงสร้างเป็นตำแหน่งที่เทียบเท่า  จึงไม่เสียสิทธิ์”  เรื่องจึงจบเพียงเท่านั้น  ดิฉันก็งง งง อยู่ไม่รู้จะทำอย่างไรได้  เพราะทุกสิ่งอย่างเป็นคนของเขาทั้งนั้น  ต่อมาดิฉันได้นำเรื่องไปฟ้องศาลปกครอง  และขณะนี้ศาลปกครองได้รับฟ้องแล้ว  และตั้งทนายฟ้องศาลอาญา  เรื่องดำเนินไปจบขั้นตอนแล้ว  ขณะนี้รอฟังคำพิพากษาวันที่  20  ธันวาคม  2555  (ดิฉันขอเรียนท่านด้วยความสัตย์จริงว่าดิฉันปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มาโดยตลอด  อาจมีเรื่องที่ผู้บริหารไม่พอใจบ้างก็เรื่องที่ดิฉันแนะนำบางสิ่งบางอย่างที่เขาจะปฏิบัติมันไม่ถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติของทางราชการ  แต่อาจจะไม่ถูกใจเขา)  ดิฉันจึงอยากจะเรียนถามท่านดังนี้ค่ะ

    1.             ในทางปกครองผู้บังคับบัญชาและผู้บังคับบัญชาสูงสุด  ร่วมกันกระทำการกลั่นแกล้งผู้ใต้บังคับบัญชามีบทลงโทษหรือไม่  อย่างไรบ้าง

    2.             ดิฉันจะเรียกร้องความเป็นธรรมได้จากที่ใดบ้าง

    3.             ในศาลอาญาเขาและพยานไม่มีเรื่องข้อความผิดตามข้อกล่าวหาไปอ้างได้เลย  อ้างแต่เพียงว่าเมื่อย้ายดิฉันมา 2 เดือน  มหาวิทยาลัยได้รับคะแนนประเมินอยู่ในระดับสูงอันเกี่ยวเนื่องเป็นเพราะดิฉัน  ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ใช่เลย  แต่เขากลับคุยว่าเขาชนะแน่  (เนื่องจากเหตุใด อันนี้ดิฉันไม่ขอกล่าวเบื้องลึก)  ดิฉันจึงรู้สึกหมดกำลังใจ  และยังคงถามหาความยุติธรรมต่อไป

     จาก  ข้าราชการไทย

    คำตอบ

    ดูคำตอบ 48439


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    17 ธันวาคม 2555