ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    048261 การสรรหาอธิการบดีผู้น้อย10 พฤศจิกายน 2555

    คำถาม
    การสรรหาอธิการบดี

    เรียน  ท่านมีชัย  ที่เคารพและนับถือ

            ในระยะเวลานี้  เป็นช่วงที่แต่ละมหาวิทยาลัยราชภัฏ  กำลังจะมีการสรรหาอธิการบดี  ซึ่งส่วนใหญ่หมดวาระ   หลาย ๆ มหาวิทยาลัย  คงต้องการอธิการบดีคนใหม่บ้าง  ( ไม่ใช่คนเดิมไม่ดี   แต่บางทีบริหารยาวนานไป  ก็เลยชักติดยึด และ ทึกทักไปว่า  ตนเป็นเจ้าของกิจการ  ใครขัดใจไม่ได้..บาปก็จะบังเกิดแก่คนทำ...กรรมก็จะเกิดกับหลาย ๆ ฝ่าย...ที่แย่สุด คือ กรรมจะตกกับอนาคตของชาติ..ซึ่งเป็น โดมิโนตัวท้าย ๆ  ที่จะได้รับผลกระทบ)  ดังนั้น จึงใคร่ขอเรียนถามเป็นความรู้จากท่าน ดังนี้

           1.  มีหนทางเป็นไปได้หรือไม่  ที่ในการสรรหาอธิการบดี ของสภามหาวิทยาลัยนั้น  จะให้มีการหยั่งเสียงประชาคมประกอบการพิจารณาด้วย  (คือ ให้มีการแสดงวิสัยทัศน์  และมีการลงคะแนน popular vote ของประชาคม)  เช่น สมมุติว่า  มีผู้สมัคร  หรือ ผู้ถูกเสนอชื่อ  รวมแล้ว  4 คน  แต่แรก  สามารถที่จะให้ประชาคม  ลงคะแนนลับแบบเลือกผู้แทน    แล้วนำคะแนนนั้น ไปพิจารณาประกอบในการสรรหาจากสภามหาวิทยาลัย ได้หรือไม่อย่างไร  

           2. ในฐานะที่ท่านเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยท่านหนึ่ง  ซึ่งเชื่อได้ว่าเป็นผู้ทรงความยุติธรรม และเป็นกระบี่มือหนึ่งในทางกฏหมาย  ตามทัศนะของท่านพอจะมีวิธีป้องกันการเป็น "อธิการคั่นวาระ"  และ " สภาเกาหลัง" อย่างไรบ้าง  เนื่องจากมหาวิทยาลัย  แต่ละแห่งที่อธิการบดีหมดวาระ  ต่างก็คิดจะกลับมาเป็นใหม่   โดยสนับสนุนให้คนที่ตนไว้ใจได้มาเป็นอธิการ  สักปีหนึ่ง แล้วลาออก  เพื่อคั่นวาระตามข้อบังคับ  แล้วจึงสรรหา ตน กลับมาเป็นใหม่  และกรรมการที่อยู่ในสภาฯ  หลายท่านก็ล้วนเป็นผู้ที่อธิการ หรือ กรรมการ ชุดเดิม เชิญมา  จึงทำให้อดสงสัยมิได้ว่า  จะเกิดกรณี  ผมเลือกคุณ  ถึงเวลาคุณก็เลือกผมบ้าง..ตามสัญญา"ขอให้เหมือนเดิม"  ซึ่งถ้าปล่อยให้เป็นเช่นนี้...มหาวิทยาลัย...บุคลากร...คงได้แต่ครวญเพลง "วังน้ำวน"...ต่อไป

          3. กรณีการสรรหาคณบดี  แต่เดิมเคยมีการลงตะแนนหยั่งเสียง จากอาจารย์ เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาการสรรหา  ทว่าในปัจจุบัน  ไม่มีการนำมาใช้ (โดยให้เหตุผลว่า  จะสร้างความแตกแยก..ซึ่งไม่เป็นความจริง..การไม่คำนึงถึงคนในคณะต่างหาก  ที่ทำให้เกิดการแตกแยก  และไม่ร่วมมือ)  จริงอยู่ว่า poppular vote นั้น ไม่มีการออกมาเป็นระเบียบ หรือ อยู่ในข้อบังคับในการสรรหา  ขึ้นอยู่กับวิธีการในการสรรหาของคณะกรรมการสรรหา   แต่เป็นส่วนหนึ่งที่น่าพิจารณาถึง ความเหมาะสม  ในมุมมองของผู้ใต้บังคับบัญชา  โดยเฉพาะในสังคมวิชาการ  อยากให้ กบ ได้มีโอกาส เลือก นาย บ้าง ..ประเด็นนี้  ขอเรียนถามท่านว่า..พอมีหนทางให้..กบได้มีโอกาสเลือกนาย โดยตรงหรือโดยอ้อม ได้บ้างหรือไม่  อย่างไร    ท้ายนี้ขอกราบขอบพระคุณท่านที่ได้กรุณาสละเวลาอันมีค่า  ให้ความรู้ตามทัศนะของท่าน  ...จาก..ผู้น้อยในราชภัฏ

                               

    คำตอบ

    1. การสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัยไม่ใช่เป็นการเลือกผู้แทน ถ้าให้ใช้วิธีลงคะแนน ก็คงได้คนที่ถูกใจ แต่ไม่แน่ว่าจะเป็นผู้บริหารที่ดี หรือทำให้มหาวิทยาลัยเจริญได้  และถ้าการเมืองเข้ามามากเข้า ต่อไปก็คงมีการแจกของ ให้สัญญาในลักษณะ "ประชานิยม" มีการหาเสียง  ถ้ามีคนหาเสียงว่า ต่อไปนี้ภาระงานสอนของอาจารย์จะลดลงเหลือสัปดาห์ละ ๘ ชั่วโมง ส่วนที่สอนเกินจากนั้น (เพื่อให้เข้ามาตรฐานของทบวง) มหาวิทยาลัยจะจ่ายค่าสอนให้ ถึงสิ้นปีก็จะจ่ายโบนัสให้เป็น๓ เท่าของเงินเดือน แบบนี้คุณคิดว่าบุคลากร จะลงคะแนนให้ไหม แล้วมหาวิทยาลัยจะเป็นอย่างไร  ปัจจุบันเขาให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการเสนอชื่ออยู่แล้ว

    2. ถ้าคนในมหาวิทยาลัยใด คิดอ่านทำอย่างนั้น และยอมรับได้กับการทำเช่นนั้น หากให้มีการเลือกตั้ง คงซื้อเสียงกันจ้าละหวั่น บังเอิญมหาวิทยาลัยที่ผมอยู่ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ มักจะมาจากการเสนอของฝ่ายคณาจารย์และผู้บริหารที่จับกลุ่มกันได้

    3. ถ้าให้เลือกอย่างที่คิด ก็อย่านึกว่าบรรดาอาจารย์จะเลือกคนที่ตนต้องการได้ เพราะเมื่อรวมสายสนับสนุนกับคนงานแล้วจะมีมากกว่าเสมอ การตั้งให้อาจารย์ใดสอนวิชาใด ก็มีวิธีการของการคัดเลือก ไม่สามารถให้นักศึกษาลงคะแนนเลือกเอาเองได้ ฉันใด การตั้งผู้บริหาร ก็ต้องมีวิธีเฉพาะของตัวเอง ฉันนั้น

        


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    10 พฤศจิกายน 2555