ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    024887 อยากจะขอความช่วยเหลือจากอาจารย์ครับnatthaphat1 ธันวาคม 2550

    คำถาม
    อยากจะขอความช่วยเหลือจากอาจารย์ครับ

    นี่เป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ สำหรัยผมในเวลานี้เลยก็ว่าได้ครับท่านอาจารย์

    และเป็นเรื่องที่เข้าสู่ สนช.เป็นที่เรียบร้อยไปแล้ว

    ปัญหาของผมมีอยู่ว่า เกี่ยวกับ พรบ.มหาวิทยลัยนเรศวร(ออกนอกระบบ)

    ซึ่งผมเองเป็นนิสิตคนหนึ่ง ที่กำลังสำเร็จการศึกษา และจะได้รับพระราชทานปริญญาบัตรในวันที่ 20ธันวาคม2550นี้ครับ

    อาจารย์อาจสงสัยว่าผมจบแล้ว มันก็ไม่กระทบอะไรเลยนี่ แต่ผมต้องเรียนตามตรงว่า สมัยที่ผมยังเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ตลอด 4ปีครึ่งที่ผ่านมา ชีวิตในมหาวิทยาลัยของผม จะขับรถยนต์ไปเรียนทุกวัน มีเงินที่พ่อแม่ให้ใช้อย่างสบายๆ ถึงแม้จะรับรู้ว่า มีรุ่นพี่ เพื่อน หรือน้องๆ ที่ต้องกู้เงินเรียน ขอรับทุนอาหารกลางวัน ผมเองมิได้สนใจ เพียงเพราะคิดว่าแค่มาเรียน แล้วก็จบ หางานทำ ซึ่งตอนนี้ผมถึงสำนึกได้ว่ามันไม่ถูกต้องและ ผมนึกเสียใจกับความคิดที่เห็นแก่ตัวนี้มากๆเลยครับ

    แต่ ณ.เวลานี้ผมได้รับรู้ว่าหากมหาวิทยาลัยแห่งนี้ออกนอกระบบไป เด็กรุ่นน้องรุ่นหลาน ต้องได้รับความเดือดร้อน ถามว่าค่าหน่วยกิตเพิ่มขึ้นหรือ คำตอบคือ ไม่ขึ้น เป็นเวลา 10ปี แต่ที่ได้รู้แน่ๆก็คือ ค่าบำรุงการศึกษา ตอนนี้ก็นับว่าแพง รวมทั้งค่าในการเข้าใช้เทคโนโลยีสาระสนเทศต่างๆ และค่าอะไรต่อมิอะไรอีกมากมายที่ต้องขึ้นมาแน่ๆครับ

    ผมมองว่าต่อไปเด็กต้องกู้เงินเรียน จบมาทำงานใช้หนี้ ทั้งที่บางคนเรียนดีแต่เมื่อจบมาแล้วต้องรีบหางานอะไรก็ได้เพื่อจะรีบใช้หนี้เงินกู้ ดังกล่าว เพื่อนผม ซึ่งไม่ได้เรียนเนติบันฑิต ทั้งที่มีความสามารถ และตั้งใจเรียนมาตลอด ยังไม่สามารถเรียนได้พราะเท่าที่ได้คุยมาเค้าต้องทำงานเพื่อใช้หนี้เงินที่กู้มาครับเค้าจบเกียรตินิยมเป็นอะไรที่ผมเสียดายแทนมากๆครับ

    ถามว่าโดยส่วนตัวผมแล้วถ้าเป็นเมื่อก่อนไม่คิดมากก็รู้ว่าหลายๆคนประสบปัญหาเช่นนี้แต่ผมก็ไม่ได้สนใจอะไรมากหวังเรียนให้จบก็เพื่อตัวเองทั้งนั้น จนกระทั่งต้องมาเรียนซ้ำในวิชาหนึ่ง และเวลาเหล่านั้นที่ต้องกลับมามองอะไรรอบๆตัวทำให้เข้าใจอะไรได้มากขึ้นว่าอะไรคือคุณค่าที่แท้จริงของความรู้ที่ได้รับมา

    ปริญญาที่ผมได้รับมันจะกลายเป็นแค่กระดาษหรือสิ่งที่แค่แสดงว่าผมเรียนจบเท่านั้น แต่ผมก็จะไม่ได้ทำอะไรเพื่อใครและเมื่อตายไปก็แค่ขี้เถ้าที่กลับสู่ผืนดินเท่านั้น และผมจะมองว่าตัวผมเองไม่มีค่าอะไรเลยหากผมไม่ได้ทำอะไรที่ถูกต้องเพื่อรุ่นน้องรุ่นลูกหลานในอนาคตที่จะต้องเดือดร้อนแน่ๆ

    ผมไม่รู้ว่าปัญหาของ พรบ.ดังกล่าวจะต้องแก้อย่างไรดีถึงจะรักษาประโยชน์ส่วนรวมไว้ได้ แต่ผมมั่นใจความสามารถของอาจารย์ เพราะเมื่อตอนที่ได้เรียนกับอาจารย์ที่เนติบันฑิต ผมเชื่อว่าอาจารย์มองออกว่าจะต้องแก้ปัญหาอย่างไร ถึงเวลานี้ผมจะยังไม่ได้เนติบันฑิตก็ตามครับ

    นอกจากนี้ที่ได้รับรู้มาเกี่ยวกับมติของสภาอาจารย์ที่ให้นำร่าง พรบ.ดังกล่าวเข้าสภา มีปัญหาเรื่ององค์ประชุมไม่ครบด้วยครับทั้งอาจารย์หลายๆท่านบอกว่าถูกกดดันมากในเรื่องนี้ก็มีการแนะนำอาจารย์ในสภาให้ไปฟ้องศาลปกครองเพื่อเพิกถอนมติที่ประชุมแล้วครับ แต่เกรงว่าคงไม่ทันแน่ เพราะว่า พรบ.ดังกล่าวได้เข้าสนช.แล้วครับ

    และผมพยายามจะไม่พูดถึงตัวอธิการบดีของมหาวิทยาลัยครับ เพราะมีปัญหาอะไรหลายอย่างเกิดขึ้นเพราะตัวอธิการบดีมากมายแต่จะไม่พูดถึงเพราะผมมองถึงปัญหาที่ว่ามหาวิทยาลัยยังไม่พร้อมจำนวนศิษย์เก่าไม่ได้มากมายนัก ทั้งยังหารายได้จำพวกการวิจัยต่างๆได้เท่าธรรมศาสตร์ที่ยังไงก็ไม่มีปัญหาแต่มหาวิทยาลัยนี้ยังไม่อาจยืนได้ด้วยตัวเองครับเพราะเป็นประสบการณ์ตรงที่ได้รู้ว่าอะไรๆในมหาวิทยาลัยนี้ยังไม่พร้อม เพื่อนคนหนึ่งที่สนิทกันมากยอมซิ่วไปเรียนที่ธรรมศาสตร์ก็ด้วยเหตุผลนี้ครับ 

    ผมอธิบายยืดมากเกินไปแล้วครับในฐานะที่ท่านอาจารย์อยู่ใน สนช.ผมคิดว่าท่านอาจารย์คงช่วยได้อย่างแน่นอนครับ ในปัญหานี้ และหากท่านอาจารย์ช่วยได้นี่จะเป็นบุญกุศลอันใหญ่หลวงต่อเด็กรุ่นหลังๆแน่นอนครับ

    ปล.ผมอ่านคำบรรยายเนติ ของอาจารย์ทีไร ก็เข้าใจได้ว่าท่านอาจารย์มองอะไรได้เป็นระบบอย่างชนิดที่ว่าเมื่อไหร่ผมจะเป็นอย่างนี้ได้บ้างก็ไม่รู้ครับ

    คำตอบ

    การที่ค่าหน่วยกิต ค่าธรรมเนียม ของมหาวิทยาลัยจะถูกหรือแพง จะขึ้นหรือไม่ขึ้น  ไม่ได้อยู่ที่มหาวิทยาลัยจะออกนอกระบบหรือไม่  หากแต่อยู่ที่ว่ารัฐจะให้งบประมาณเพียงพอหรือไม่กับการที่จะพัฒนาให้มหาวิทยาลัยเป็นเลิศทางวิชาการ และสอนนิสิตนักศึกษาให้ออกมามีคุณภาพ  เท่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ มหาวิทยาลัยได้ก้าวหน้าไปพอสมควร ซึ่งไม่ใช่เกิดขึ้นเพราะเงินงบประมาณที่รัฐบาลให้  หากแต่เป็นเพราะนำเงินที่เก็บได้จากนิสิตนักศึกษามาผสมกัน โดยส่วนใหญ่รัฐจัดสรรงบประมาณให้เพียงร้อยละประมาณ ๕๐ ของเงินที่จำเป็นต้องใช้จ่ายในการบริหารงบประมาณ อีกร้อยละ ๕๐ มหาวิทยาลัยต้องหาเองเอง  ดังนั้นแม้มหาวิทยาลัยไม่ออกนอกระบบ หากมหาวิทยาลัยเก็บเงินค่าธรรมเนียมได้ไม่เพียงพอ มหาวิทยาลัยก็ต้องขึ้นค่าธรรมเนียมอยู่นั่นเอง ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน ที่จุฬาก็ไม่ได้เก็บถูกนัก ทั้ง ๆ ที่ยังเป็นระบบราชการ  ข้อที่เขาถกเถียงกันในหมู่ประชากรในมหาวิทยาลัยนั้น หลักสำคัญอยู่การมีหลักประกันของอาจารย์ ถ้าเป็นระบบราชการ จะทำงานอย่างไร หากไม่ได้ทำความผิด ก็ไม่มีใครทำอะไรได้ ถึงปีก็ได้ขึ้นเงินเดือน ซึ่งเป็นระบบที่ให้หลักประกันเกือบจะเรียกว่าร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าออกนอกระบบแล้ว เขาจะมีระบบการประเมินแต่ละคน ถ้าไม่ทำงานหรือทำงานไม่ได้ผล เขาก็อาจเลิกจ้างได้ เรื่องนี้จึงเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้ประชากรไม่อยากให้ออกนอกระบบ แล้วเลยนำเหตุผลอื่น ๆ มาประกอบด้วย แต่ในความเป็นจริงนั้น มหาวิทยาลัยของรัฐทุกแห่งในปัจจุบัน มีบุคคลากร ๒ ประเภท ๆ หนึ่งเป็นข้าราชการ ซึ่งได้รับการประกันความมั่นคง ๑๐๐ % กับอีกประเภทหนึ่งเป็นพนักงานของมหาวิทยาลัย ซึ่งต้องใช้ระบบใหม่ คือถูกประเมินเป็นระยะ ๆ   ในระยะแรก ๆ ข้าราชการในมหาวิทยาลัยมีจำนวนมากกว่าพนักงาน แต่เมื่อเวลาล่วงเลยมา รัฐบาลไม่ยอมเพิ่มอัตราข้าราชการให้ เมื่อข้าราชการเกษียณอายุ ก็เปลี่ยนอัตรานั้นเป็นอัตราพนักงาน นอกจากนั้นมหาวิทยาลัยยังมีความจำเป็นต้องเพิ่มครูบาอาจารย์ขึ้นทุกปี ซึ่งในการเพิ่มนั้นก็เพิ่มได้แต่เฉพาะอัตราพนักงาน (ไม่มีข้าราชการเพิ่มขึ้น)  เมื่อมาถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเกือบทุกแห่งจึงมีพนักงานมากกว่าข้าราชการ   ในขณะที่พนักงานต้องถูกประเมินอยู่เข้มงวด แต่ข้าราชการกับไม่ต้องมีการประเมิน หรือถึงประเมินก็เป็นเพียงแบบพิธี จึงพอจะมองเห็นได้ว่าการบริหารงานของมหาวิทยาลัยเกิดความไม่เป็นธรรมอย่างไรกับคน ๒ ประเภท ที่ยิ่งแย่ไปกว่านั้นก็คือ เมื่อถึงปี มหาวิทยาลัยมีผลงานจนได้รับเงินโบนัส รัฐบาลก็ให้เงินมาก้อนหนึ่งเพื่อแบ่งให้กับบุคคลากร แต่ให้แบ่งให้แต่เฉพาะกับข้าราชการเท่านั้น ทั้ง ๆ ที่งานของมหาวิทยาลัยพัฒนาจนเกิดประสิทธิภาพนั้น เกิดจากทุกคน และทุกคนที่ว่านั้น เป็นพนักงานเป็นส่วนใหญ่  แต่พนักงานส่วนใหญ่ไม่ได้รับโบนัส  ส่วนข้าราชการกลับได้รับโบนัส  มหาวิทยาลัยใดมีรายได้มาก ก็อาจเจียดจ่ายเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย (ซึ่งเก็บมาจากค่าหน่วยกิต) มาให้พนักงานได้ แต่มหาวิทยาลัยเล็ก ๆ ก็ต้องขมขื่นกันโดยทั่วหน้า  ในปัจจุบันจึงเกิดปรากฏการณ์ที่แปลก คือ คนส่วนน้อยในมหาวิทยาลัย (ข้าราชการ) ไม่อยากให้ออกนอกระบบ แต่คนส่วนใหญ่ในมหาวิทยาลัย (คือ พวกพนักงาน) ต้องอยู่นอกระบบอยู่แล้ว เพราะเขาไม่ได้เป็นข้าราชการ และไม่ได้รับสิทธืประโยชน์อย่างที่ข้าราชการได้รับ  แต่กลับมีหน้าที่ที่เข้มงวดกว่าข้าราชการ  

         ข้อเท็จจริงข้างต้น นั้น เป็นเพียงบอกมาเพื่อจะได้นำไปคิดประกอบความเห็นของคุณต่อไปในอนาคต


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    1 ธันวาคม 2550