ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    015559 ขอความอนุเตราะห์ไขข้อสงสัยทางกฏหมายนายสุรศักดิ์ นาคนาคา5 ธันวาคม 2548

    คำถาม
    ขอความอนุเตราะห์ไขข้อสงสัยทางกฏหมาย

    กราบเรียนท่านอาจารย์ที่เคารพอย่างสูง

    กระผมมีความสงสัยในเรื่องคำสั่งการแต่งตั้งทางการปกครองคือคำว่า รักษาการ กับ ปฏิบัติหน้าที่ 1.ในทางกฏหมายนั้นอย่างไหนจะมีน้ำหนักมากกว่ากันหรือมีอำนาจมากกว่ากัน เขาใช้แตกต่างกันอย่างไร?เช่น ตำแหน่งจริงของตนเองในเวลานี้คือ ผู้อำนวยการสำนักงานแต่ให้ไปปฏิบัติหน้าที่อธิการบดีหรือ อีกคำสั่งหนึ่งให้ไปรักษาการอธิการบดี

    2.ในทางกฏหมาย ผู้ทรงคุณวุฒิ กับผู้มีความสามารถทางด้านวิชาการหรืผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาถือว่าเป็นคนประเภทเดียวกันได้ไหม?

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    นายสุรศักดิ์ นาคนาคา

    คำตอบ

    เรียน คุณสุรศักดิ์

          1. การรักษาการจะเกิดขึ้นเมื่อผู้ดำรงตำแหน่งไม่มี ไม่อยู่ หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ จึงต้องมีคนไปรักษาการไว้เป็นการชั่วคราว  คนที่ไปรักษาการนั้นไม่ใช่เป็นตัวจริง ส่วนการให้ไปปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งหนึ่งตำแหน่งใด แปลว่าคนนั้นจะไปเป็นตำแหน่งนั้นจริง ๆ  แต่ทั้งสองกรณีต่างก็มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกัน  แต่มีอีกกรณีหนึ่งซึ่งเรียกว่า การปฏิบัติหน้าที่แทน ซึ่งหมายความว่าคนที่เป็นเจ้าของตำแหน่งมีงานมาก และมีรอง หรือผู้ช่วย ที่คอยแบ่งเบาภาระ เขาจึงมอบหมายให้ไปช่วยปฏิบัติหน้าที่แทนในบางเรื่องบางราว

          2. ผู้ทรงคุณวุฒิอาจเป็นผู้มีความสามารถทางด้านใดด้านหนึ่งก็ได้ แต่ผู้มีความสามารถทางด้านวิชาการนั้น ถ้าระบุว่าต้องมีความสามารถด้านใด ก็ต้องมีความสามารถด้านนั้น เช่น ความสามารถทางด้านกฎหมาย  ในกรณีของผู้ทรงคุณวุฒิบางครั้งเขาก็ระบุสาขรวิชาของวุฒิไว้เช่นกัน  ส่วนกรณีของผู้แทนสถาบันอุดมศึกษานั้น จะเป็นใครก็ได้ มีความรู้มากน้อยเพียงใดก็ได้ สุดแต่สถาบันนั้น ๆ จะแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนของตน

     

     

        


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    5 ธันวาคม 2548