ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    014787  เอกสารคำฟ้องศาลปกครอง เรื่องอดมิชชั่นกมลพรรณ30 สิงหาคม 2548

    คำถาม
    เอกสารคำฟ้องศาลปกครอง เรื่องอดมิชชั่น

    กราบเรียนอาจารย์มีชัยที่เคารพ

    ดิฉันขออนุญาติ รบกวนอาจารย์ ตอบเรื่องฟ้องศาลปกครอง เกี่ยวกับแอดมิชชั่นเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฏหมาย  และที่มีเด็ฏโพสต์มาถามว่าจะถูกฟ้องกลับหรือไม่นั้น ดิฉันจึงเอาเนื้อหาทั้งหมดมาให้อาจารย์ดูว่า  ข้อความเหล่านี้จะถูกฟ้องกลับไหม และการกกระทำประกาศ แอดมิชชั่นนั้น ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่คะ

    o คำฟ้อง                                        คดีหมายเลขดำ ที่......................./2548
                                                     ศาลปกครอง  กลาง    
                                                             วันที่     25   สิงหาคม   พศ  2548      
                                                                            
    สิ่งที่ส่งมาด้วย    เอกสารแนบ    10    ฉบับ

                        ข้าพเจ้า..........  โดย       พันโทแพทย์หญิงกมลพรรณ  ชีวพันธุศรี ในฐานะ ผู้แทน โดยชอบธรรม        เกิดวันที่  12   พค.  2501    อายุ  47 ปี     อาชีพรับราชการ                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                       อยู่บ้านเลขที่  51  หมู่ 17 บางนาตราดกม.10  บางพลี     สมุทรปราการ 10540         โทร 01-2980284   027637778-9    ข้าพเจ้าในฐานะของ  ผู้ปกครองและ   ตัวแทนผู้ปกครอง ของผู้เสียหาย  หรือ  และ ผู้อาจจะเดือดร้อนเสียหาย      โดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้  จากการประกาศ เกณฑ์การใช้ระบบแอดมิชชั่น    หรือ การสอบเข้ามหาลัย ในปี 2549      มีความประสงค์ ขอฟ้อง      เลขาธิการ  คณะกรรมการการอุดมศึกษา  ที่หนึ่ง   , คณะที่ประชุมอธิการบดี แห่งประเทศไทย    ที่สอง   อยู่ที่  สังกัด    กระทรวงศึกษาธิการ      ดังรายละเอียด ต่อไปนี้
                 
                        ผู้ถูกฟ้องคดีที่หนึ่งเลขาธิการ  คณะกรรมการการอุดมศึกษา  นายภาวิช ทองโรจน์            ในฐานะผู้กำกับดูแลข้าราชการ และการกำหนดนโยบายต่างๆ  ของ มหาวิทยาลัย   รวมทั้งเป็นประธานอนุกรรมการอำนวยการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา    ซึ่งเป็นผู้  ลงนามประกาศอย่างเป็นทางการในการสอบวิชาความถนัด   เมื่อ 11 สค  48  ( ตามเอกสารแนบ      9 )       โดย ดำเนินการ รับสมัครสอบวิชา ตามความถนัดในขณะนี้  จะสอบในวันที่ 15-21 ตุลาคม  พศ.  2548      และสำนักทดสอบแห่งชาติ ได้กำหนด สอบเข้ามหาลัย  ในวิชา  ONET  ANETในเดือน     กพ. - มีค 49     ( รายละเอียด วิชาที่จะสอบ   ตามเอกสารแนบ  7    )                
                            และ ผู้ถูกฟ้องคดีที่สองเป็นคณะบุคคลคือ     ที่ประชุมอธิการบดี แห่งประเทศไทย  มีมติ ให้ใช้ เกณฑ์การคัดเลือก เข้าสถานอุดมศึกษา ในปีการศึกษา 2549 (เเอดมิชชั่น) โดย ประธานคือ  นายประเสริฐ  ชิตพงษ์    ได้สรุป     และประกาศทางสื่อมวลชน  และทางเวบไซด์ ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา   และเวบอื่นๆ  ให้สาธารณะชนรับรู้    ทั้งประเทศ       ตั้งแต่วันที่  11 พค. 48  (เอกสารแนบ  7 )     รวมทั้งประกาศเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ให้สาธารณะชน ทราบ   มาเป็นระยะๆ     แต่ยังไม่มีใครได้ลงนามประกาศอย่างเป็นทางการ     ซึ่งทำให้เด็กวิตกกังวล อย่างมาก

     

    แอดมิชชั่นที่จะประกาศใช้ ในปี 2549   โดยใช้เกณฑ์ 4  อย่างคือ
    1) GPAX คือเกรด  คะแนน รวม  ระดับม.4-6  (เด็กที่เรียนม.4  ตั้งแต่ปี  2546)  ทุกรายวิชา8 หมวดสาระ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ปี 2544    คิดเป็น10 %  ของคะแนนสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย     

    2) GPA คือเกรด  คะแนน รวม  ไม่เกิน 5 กลุ่มสาระวิชา 20 %ของคะแนนสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย(เด็กเรียน ที่ ม.4 . ตั้งแต่ปี  2546) 

    3) แบบทดสอบมาตรฐานระดับชาติ หรือโอเน็ต O-Net** (Ordinary National Educational Test)
    คิดเป็น   35 - 70 %ไม่เกิน 5 กลุ่มสาระวิชา จาก 8 กลุ่มสาระวิชา คือ ภาษาไทย    สังคม(ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศาสนา  เศรษฐศาสตร์ )    อังกฤษ    เลข  และวิทยาศาสตร์    เด็กทุกคนต้องสอบเหมือนกันหมด ไม่ว่าสายวิทย์    หรือศิลป์  

     4) การสอบวัดความรู้ในระดับสูง หรือเอเน็ต   A-NET** (Advanced National Educational Test) เป็นการทดสอบในระดับสูงขึ้น ไม่เกินสามวิชา     คิดเป็น  35 %ของคะแนนสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย

       ปรากกว่าหลังจากประกาศ  ทางสื่อมวลชน  ให้สาธารณชนทราบ   ได้มีเสียงคัดค้านจากกลุ่มเยาวชน  ผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างมากมาย ทั่วประเทศ   (ไม่อยากให้เผยแพร่ ชื่อเด็กออกไป   เพราะเกรงจะกระทบเด็ก   )   เพราะไม่ได้บอกเด็กล่วงหน้า รวมทั้งไม่ได้รับฟังความคิดเห็นของเยาวชน ผู้มีส่วนได้เสียจากการประกาศครั้งนี้และข้าพเจ้าได้ทำหนังสือร้องเรียน และทักท้วง     พร้อมทั้ง ไปชี้แจง  หลากหลายเวที   ทั้งวุฒิสมาชิก      สส.    เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา( เอกสารแนบ   8  )  

                    ข้าพเจ้าเห็นว่าการ ประกาศใช้กฎเกณฑ์ แอดมิชชั่นนี้   สร้างความไม่ยุติธรรม ต่อ เด็กที่กำลังจะสอบ ในปี 2549  จะ  มีความเครียด    ความวิตกกังวล   ศักยภาพเด็กลดลงเพราะได้รับการพัฒนาไม่ถูกทาง        รวมทั้ง  มีผลกระทบ หรืออาจจะกระทบ    ต่อบุตรข้าพเจ้า ที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้  หากจะสอบเข้ามหาวิทยาลัย  ในอีก สอง-สามปีข้างหน้า     เพราะต้องเร่งเรียน และเร่งกวดวิชาใน บางวิชาที่โรงเรียน ไม่ได้สอน    และไม่ได้รับการพัฒนาที่ถูกทาง  เพราะในหลักสูตรการศึกษามีแต่สาระให้จำมากมาย   จนไม่มีเวลาให้เด็กได้กระตุ้นในเรื่องกระบวนการคิด        รวมทั้ง  ผู้ปกครองที่มอบอำนาจมา     ต้องเสียเงินกวดวิชา มากมาย  ที่ไม่เกี่ยวกับสาขาคณะที่จะเรียน   หรือไม่ได้สอนมาก่อนในช่วงสองปีที่ผ่านมา       แล ะไม่ได้ช่วยส่งเสริมให้เด็กได้รับการพัฒนาที่ถูกต้อง  และเป็นการส่งเสริมโรงเรียนกวดวิชาโดยอ้อม
                           และ บุตรข้าพเจ้า  กำลังเรียนอยู่ในชั้นมัธยมปีที่สาม  โรงเรียนนานาชาติ      หากจะประกาศใช้จริง           ต่อไปอีกสอง สามปีข้างหน้า  ในอนาคต บุตรของข้าพเจ้าก็ ไม่มีสิทธิสอบ เข้ามหาวิทยาลัย    เพราะไม่มีคะแนน  ในหมวด ของ  ข้อ 2 (GPA  รายหมวดสาระวิชา  )      ซึ่งทำให้บุตรของข้าพเจ้าเสียเปรียบ
                         
                          ยิ่งการสอบเข้ามหาวิทยาลัย แอดมิชชั่น   ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน   ปี  2544        (ตัวหลักสูตรการศึกษาเองก็ผิด พระราชบัญญัติการศึกษามาตรา 22    24(1)     28     และไม่ได้ส่งเสริมให้เด็กได้รับการพัฒนาที่ถูกทาง   เพราะเน้นสาระวิชามากมาย ซ้ำซาก      )           และ  ทำให้เด็กที่เรียนในรูปแบบอื่นๆ เสียเปรียบ  เช่น  กลุ่ม กศน.          เด็กไทยในโรงเรียนนานาชาติ    เด็ก โรงเรียนนำร่อง   เพราะไม่มี GPA  รายหมวดสาระ   ทำให้เด็กต้องไปเรียนกวดวิชา  เพิ่มมากขึ้น ในวิชาที่โรงเรียนไม่ได้สอน     เช่นสายศิลป์ต้องเรียนชีวะ        ผิดหลักการพัฒนาเด็กตามหลักทางการแพทย์     ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ       ไม่ตามศักยภาพ ของเด็กแต่ละคนที่พึงมี      ไม่ตามความสนใจ และถนัดของผู้เรียน   ผิดหลักการพระราชบัญญัติการศึกษา     มาตรา 22    24(1)     28      ที่ต้องการให้เด็กเป็นศูนย์กลาง    เพราะบังคับให้เด็กเรียนเหมือนๆกันหมด      ที่อ้างว่าเป็นวิชา พื้นฐาน   แต่เป็นวิชา พื้นฐานที่เด็กเคยเรียนซ้ำๆ    และมากมาย   มาตั้งแต่ประถมศึกษา ยันมัธยมปีที่สาม        กลายเป็น เด็กต้องมาตั้งใจเรียน ในสิ่งที่เขาไม่ชอบ  ไม่ถนัด       ดึงเอาความสามารถที่เขาควรจะได้พัฒนาให้มากขึ้นลงมา          

                 แทนที่จะทำให้ได้รับการพัฒนาที่เขาชอบ เต็มที่ มีความสามารถด้านใดด้านหนึ่งที่เขาถนัด         กลับดึงเขาลงมาให้เท่ากับคนอื่นๆ         คือไม่สามารถเก่งด้านใดโดยเฉพาะตามธรรมชาติมนุษย์ที่ควรจะเป็น       
                                    เด็กที่มีความสนใจด้านใดด้านหนึ่งกลับต้อง มาเสียเวลา กับบางวิชาที่ไม่เกี่ยวข้องกับคณะที่จะสอบ         เช่น            ทำให้เด็กที่อยากจะเก่งสายวิทย์        จะต้องหันไปเสียเวลาเรียน ใน วิชาอื่นๆ    ที่ไม่ค่อยเกี่ยวข้อง และมีประโยชน์น้อย รวมทั้งเนื้อหาซ้ำซาก         ซึ่งตรงข้ามกับที่   ทุกคน อยากให้เด็กไทย    เก่ง วิทยาศาสตร์     การสรุปเกณฑ์แบบนี้ ไม่ได้ส่งเสริม        แต่กลับทำลายความสามารถเด็กเฉพาะทางไปเลย             และ ให้เด็ก รู้เท่าๆ   ถนัดเท่าๆกันซึ่งเป็นไปไม่ได้ในธรรมชาติของมนุษย์  
                                     ไม่ได้ตามหลักการพัฒนาเด็ก  ดังเช่น   GARDNER THEORIES   กล่าวว่า    "THE  GOAL  OF EDUCATION IS  ENCOURAGE  THE DEVELOPMENT OF WELLROUNDED  INDIVIDAULS" 
     ( ตามเอกสารแนบ    1  )  

                                การที่หลายฝ่ายบอกว่า ที่กำหนด  GPA สูงๆ เพื่อ  อยากให้โอกาสเด็กต่างจังหวัด     แต่ ทางท่านประธานทปอ.  อาจารย์ประเสริฐ         ชิตพงษ์   บอกว่า  หากเด็กเกรด 4  สอบได้ข้อสอบกลางได้คะแนนต่ำก็ต้องปรับลดเกรด   ซึ่งก็ไม่ได้ให้โอกาสเด็กต่างจังหวัด          และจนถึงขณะนี้  (24 สค .48)  วิชาที่จะสอบ  ก็ยังไม่แน่นอน    โดยเฉพาะสายสังคม  ฯ  อักษรศาสตร์   ฯ  มีตั้งเก้าแบบ      และเกณฑ์การปรับเกรดก็ยังไม่ประกาศออกมาให้ชัดเจน         มีผลทำให้อาจจะเกิดความไม่โปร่งใสได้ง่าย     ทำให้เด็กมีความวิตก    กังวล

                                       และทั้งในต่างจังหวัดและในกทม.ก็มีลักษณะคล้ายกันคือบางโรงเรียนปล่อยเกรด บางโรงเรียน กดเกรด  และบางโรงเรียนก็กักวิชาเพื่อไปสอนพิเศษ เพิ่มเกรด          แต่ที่สำคัญ  ปัญหานี้เป็นนาน      แต่รัฐยังไม่มีมาตรการใดๆมาแก้ไข ป้องกัน    ยังไม่มีกฎหมายใดๆมารองรับ   ยิ่งเพิ่ม GPA   ยิ่งส่งเสริม ครูทำมาหากินกับเด็ก   อันนี้ หากกระทรวง ไม่รีบแก้ก็เท่ากับเป็นการสนับสนุนกันให้มากขึ้น   สร้างตัวอย่างคอรัปชั่นในระดับห้องเรียน
                       
                                 เอดมิชชั่น  มีผลเสีย มากกว่าผลดี      เนื่องจาก          ในการปฎิรูปการศึกษา ที่บอกว่าให้เด็กเป็นศูนย์กลาง    หลักสูตรใน โครงการนำร่อง   ที่ให้เด็กได้ เลือกเรียน  ตามหลักการของ CHILD CENTERED        เช่น  บางคนไม่ได้เลือก ชีว ะ            ไม่ได้เรียนเลยตั้งแต่ม.4    แต่กลับมากำหนดให้เขาต้องสอบ        ให้เวลาเตรียมตัว เพียงแค่ไม่ถึง  ปี     ซึ่งไม่ยุติธรรมต่อเด็ก  และประชาชน      ตามรัฐธรรมนูญมาตรา   53         และบางโรงเรียน ต้องหันกลับไปใช้วิธีสอนแบบเดิม ก่อนปฏิรูปการศึกษา                เพราะฉะนั้นเเอดมิชั่น ในบริบทที่ทำนี้  เท่ากับเป็นการทำลาย   ระบบ   CHILD CENTER ED   
                                                        
                 
                              สรุปข้อเสียและ ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ
    1 ไม่ทำตามรัฐธรรมนูญมาตราที่ 43    คือ ขาดการมีส่วนร่วมในกระบวนการ ทำเกณฑ์  แอดมิชชั่น   แม้นทางเลขาธิการ  คณะกรรมการการอุดมศึกษา  นายภาวิช ทองโรจน์            . จะเดินสายไปตามต่างจังหวัด หลายที่     แต่ก็เพียงอธิบายว่าเกณฑ์แอดมิชชั่นเป็นอย่างไร    ไม่ได้รับฟังเสียงสะท้อนจากผู้ปกครองและเยาวชนที่ได้รับผลกระทบว่าเห็นด้วยหรือไม่     หรือมีข้อดี     ข้อเสียอย่างไร        และไม่ยุติธรรม  ตามรัฐธรรมนูญมาตราที่53 ที่เด็กและเยาวชน  มีสิทธิ์ ได้รับความคุ้มครองจากรัฐจากการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม         เพราะ เกณฑ์แอดมิชชั่น โดยประกาศให้สาธารณะชน  ทราบทางสื่อมวลชนเมื่อ  11 พค. 48      และประกาศรับสมัครสอบ ความถนัด แล้วในขณะนี้  จะสอบ ภายในเดือนตุลาคม             แต่เอาคะแนนเก็บ  ของชั้นม.4 ที่ผ่านมาแล้ว สองปี      เป็นการออกกฎ กติกา ย้อนหลัง         ตามเอกสารแนบ 7   ซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักการปกครอง แบบประชาธิปไตย 

                       วิชาที่ไม่ได้เรียนมาสองปี ก็นำมาสอบ เช่นในโรงเรียนนำร่องบางแห่ง  รวมทั้งโรงเรียนสาธิตฯ   ไม่มีสอนในบางวิชา      แต่ต้องสอบเหมือนกันหมด   นักเรียนหลายคนมุ่ง อยากเข้าเรียนในคณะที่ตนต้องการเรียน โดยที่เขาได้เตรียมตัวสอบ ในวิชานั้นๆมาแล้วกว่าสองปี                แต่ต้องมาอ่าน และต้องเสียเงินกวดวิชา  ในวิชาที่ไม่เคยเรียน  เช่นคณะสายศิลป์ กลับต้องสอบวิชา วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์      ซึ่งปกติ  นักเรียนที่เรียนสายศิลป์ ส่วนใหญ่ย่อมถนัดไปทางภาษา   ไม่ถนัดคณิตศาสตร์

                             ในโรงเรียนนานาชาติ  ไม่มี GPA รายหมวดวิชา  ดังเช่นบุตรข้าพเจ้า  กำลังเรียนอยู่ในชั้นมัธยมปีที่สาม  โรงเรียนนานาชาติ      หากจะประกาศใช้จริง ต่อไปอีกสอง ถึง สามปีข้างหน้า  ในอนาคต บุตรของข้าพเจ้าก็ ไม่มีสิทธิสอบ เข้ามหาวิทยาลัย    ซึ่งไม่ยุติธรรมต่อเด็กไทย ด้วยกัน
    2  ผิดวัตถุประสงค์   และ  หลักการพระราชบัญญัติการศึกษา     มาตรา   8(2),     22  ,  24(1),     28    
       ไม่ตรงกับการพัฒนาเด็ก  ที่ถูกต้อง  เช่น  บางโรงเรียนที่นำร่อง  และ  โรงเรียนสาธิตฯ   ปฎิรูปหลักสูตรตาม child  centered  กลับต้อง เปลี่ยนเป็นหลักสูตรเก่าเพื่อให้เด็ก  เข้ามหาลัยได้  แต่ทำลาย ระบบ  child centered

    3   ผิดพระราชบัญญัติการศึกษา     มาตรา  6  ที่กำหนดให้การจัดการศึกษาต้องเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่             สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ  และสติปัญญา   ความรู้และคุณธรรม    
                     หลักสูตรนี้ไม่ได้ ส่งเสริมการสร้าง  สติปัญญา  การกำหนดการสอบเข้ามหาวิทยาลัย   ที่ยึดติดกับหลักสูตรการศึกษาปี 2544   จึงยิ่งทำให้ เด็กมีสติปัญญาลดลง    เพราะทุกคนหวังเข้ามหาวิทยาลัย   เด็กยิ่งเรียนสูงขึ้นสติปัญญา    หรือ      ไอคิว(วัดความสามารถทางวิเคราะห์)  ลดลง   เช่นดังที่ พญ.จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ  ปี  2540   ไอคิวอยู่ที่   91.9      และหลังจากนั้น  5ปี ไอคิวอยู่ที่  87

      และพญ.แสงโสม ลีนาวัฒน์   กรมอนามัย พบว่า  ปี  2544เด็กไทย อายุ 6-12  ปี  มีไอคิว  เฉลี่ย88    อายุ 13-18 ปี  ไอคิวเฉลี่ย 86.72            สังเกตว่า  ภายในสี่ปี ไอคิวลดลง  สามถึงสี่ จุด สุขภาพจิตแย่  เครียด (เอกสารแนบ   2,3 ) 
    ขณะที่อเมริกา อังกฤษ ไอคิวมากกว่า  120  
    จีน ญี่ปุ่น ไอคิวอยู่ที่  104 
    ไอคิวคนปกติอยู่ที่  90-110 

                    ในหลักสูตรการศึกษาปี 2544    ที่คล้ายหลักสูตรการศึกษา 2531   และเพิ่มสาระมากกว่าเดิม  และผิดหลักการพัฒนาเด็กเพราะบังคับให้เด็กเรียนเหมือนๆกัน   และไม่ตาม พรบ.การศึกษา ตามที่เคยกล่าวไว้แล้ว  

             ในการจัดการเรียนการสอนในนานาอารยะประเทศ   นอกจากความรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้แล้ว   การสร้างกระบวนการคิดก็สำคัญยิ่ง หากไม่มีนานๆ        เด็กจะคิดไม่ออก  ละเป็นเหตุผลว่าทำใมไอคิวเด็กไทยยิ่งลดลงเมื่อเรียนสูงขึ้น  เป็นเพราะเราไม่ได้เน้นเรื่องการกระตุ้นให้เด็กคิด   และมีแต่ให้จดจำเนื้อหา   

                  ไม่ได้ส่งเสริมคุณธรรม  จริยะธรรม    เพราะ      มีตัวอย่างที่ไม่ดี  ให้เด็กเห็นตั้งแต่ในระดับ ห้องเรียน        และส่งเสริม ครูในโรงเรียนที่ขาดความเป็นครู  เพราะจะบอกข้อสอบเฉพาะเด็กที่เรียนพิเศษกับตนเท่านั้น  วิชาหนึ่งก็ 500-4500 บาทต่อเทอม     การใช้ GPA ส่งเสริมครูหากินกับเด็ก  โดยรัฐยังไม่มีมาตรการเด็ดขาด     ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างเด็กมีเงินกับเด็กยากจน  สร้างแบบอย่างเลวๆ ในเรื่องของคอรัปชั่นให้เยาวชนเห็นตั้งแต่ในระดับห้องเรียน         ตรงข้ามกับที่เราอยากให้ประเทศไทยใสสะอาด       เอกสารแนบ  4      
     
                        นักเรียนขาดความสุขกับการเรียน   เพราะต้องมานั่ง กวดวิชาที่ตัวเองไม่ได้เตรียมตัวมาก่อนเพื่อสอบ โอเนต +เอเนต เช่น  นักเรียนที่ต้องการเรียนคณะอักษรศาสตร์ กลับต้องสอบ วิทย์       สถาปัตย์ ต้องสอบ ชีวะ             รัฐศาสตร์ ต้องสอบ เลข วิทย์
                   เพิ่มความเครียด       เพิ่มการกวดวิชา  จากการวิจัยของอาจารย์สุชาดา  ครุศาสตร์จุฬาเอกสารแนบ 3
                   ยังมี เรื่องอัตราการเจ็บป่วยทางจิตใจ   ความเครียด  ที่อาจจะสอบถามไปยังกรมสุขภาพจิต  กระทรวงสาธารณสุข

    4  แอดมิชชั่น  สร้างภาระ ค่ากวดวิชาให้ผู้ปกครองเป็นอย่างมาก
                   ลองคำนวณเล่นๆ  วิชาฟิสิค  2500บาทต่อเทอม  เด็ก 100  คน  วิชาเดียวครูได้  250000 บาท           
                      รร.กวดวิชา   สมมุติเทอมละ  4000  บาท   เด็กม. 6  จำนวน  200000คน   รร.กวดวิชา  จะมีรายได้ 80ล้าน   ถ้าเด็กม. 4  5  6     จำนวน ครึ่งหนึ่งกวดวิชา   รายได้จะเท่ากับ สองร้อยกว่าล้าน
           
    5 .การเพิ่มค่าน้ำหนักในการสอบ  รายวิชาต่างๆ      ไม่ตรงกับการเรียนในมหาลัย   เช่น พวกคณะศิลป์ เน้น ภาษา ไม่ต้องใช้วิทย์ คณิต     แนวโน้ม การกำหนดให้สอบ โอเน็ท ไม่ค่อยตรงกับสาขาคณะที่จะเรียน รวมทั้งเด็กกำลังจะสอบอีกไม่กี่เดือน   แต่เกณฑ์ยังไม่นิ่ง  ยังไม่ประกาศออกมาให้ชัดเจน             โดยเฉพาะสาขาสังคม ฯ  ศิลปะ  อักษรศาสตร์   ตามเอกสารแนบ  9           รวมทั้งเกณฑ์การปรับลดหรือเพิ่มเกรด เพื่อให้เกิดความยุติธรรม แต่ยังหากฎเกณฑ์ ยังไม่ได้

     6 ไม่ได้ให้โอกาสเด็กต่างจังหวัด  อย่างที่หลายฝ่ายได้กล่าวอ้างในครั้งแรกที่กำหนดค่าGPA สูงๆ 

                      ดังนั้น ข้าพเจ้า   จึงขอกราบเรียนให้ท่าน    ได้ โปรดพิจารณา ดังนี้
     1 ระงับการประกาศใช้ระบบแอดมิชชั่น   ในปี 2549    โดยเร่งด่วน     หรืองดการใช้ GPA   รายสาระวิชา ไปก่อน  (เกณฑ์ข้อสอง)    จนกว่าศาลจะไต่สวนสำเร็จ หรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น    เพราะเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย   ไม่ยุติธรรม   จำกัดสิทธิเด็ก  และ เพื่อมิให้เด็กเครียดนาน และเพื่อมิให้สนับสนุนส่งเสริมโรงเรียนกวดวิชา   หรือครูทำมาหากินกับเด็ก โดยอ้อม     

                               และให้ใช้  องค์ประกอบเดิมคือเกณฑ์ข้อหนึ่ง    GPAX คะแนนรวมทุกหมวดสาระ  แค่ 0-10%  ไม่ต้องมี GPA รายหมวดวิชา  เพราะ โรงเรียนนานาชาติ และโรงเรียนนำร่องบางแห่ง     หรือโรงเรียนอาชีวะ ไม่มี หรือ  มีไม่ครบ  ตามที่กำหนด ในเกณฑ์แอดมิชชั่น   และถ้าจะใช้  ขอให้ประกาศให้เด็กทราบล่วงหน้าสามปี   รวมทั้งมีกฎหมายลงโทษครูที่ไม่ยุติธรรม     หรือขายเกรด   และ ปรับคุณภาพการศึกษา   หลักสูตร และกระบวนการ การเรียนการสอน ให้เป็นไปตามกฎหมายพระราชบัญญัติการศึกษา และหลักการพัฒนาเด็กที่ถูกต้อง    

    2    ยกเลิกวิชาที่จะสอบ ONET  ที่ครอบคลุมทั้ง    ห้าหมวดวิชา  ทั้งๆที่บางวิชา    ก็ไมได้เกี่ยวข้องกับ คณะที่จะเรียน          และ บางโรงเรียนไม่ได้เปิดสอน          ไม่ควรประกาศเป็นเกณฑ์ที่จะให้เด็กสอบ    เช่นวิชาชีวะ  หรือวิทย์ ในสายศิลป์  
                         ขอได้โปรดให้ความยุติธรรมกับเด็ก โดยการจัดสอบวิชาที่คล้ายปี 2548    หรือน้อย กว่า   โดยเน้นการวิเคราะห์    รวมทั้งคะแนนเก็บที่เด็กเคยสอบไว้  ในปีที่ผ่านมา สามารถนำมาใช้สมัครเข้ามหาวิทยาลัยได้    
                         
     3 ขอให้ตั้งคณะกรรมการ    ใหม่    รื้อเกณฑ์การคัดเลือก  เข้ามหาลัย      มีบุคคลที่สังคมยอมรับ  ไม่เอาคนในกระทรวงศึกษา           จัดทำเกณฑ์แอดมิชชั่นให้สมบูรณ์    มีการ วิจัยข้อดีข้อเสีย       มีผลประโยชน์ที่ดีต่อเยาวชนอย่างไร   วิชาไหนควรจะสอบ ไม่สอบ     มีวิจัยรองรับจากองค์กรที่เชื่อถือได้      มีหลักการ  มีการประชาพิจารณ์อย่างกว้างขวาง            และทั่วถึงก่อนที่จะประกาศใช้  (ตามรัฐธรรมนูญมาตรา   59  76 )   และต้องประกาศล่วงหน้าอย่างน้อยสองถึง สามปี

    4  มีการวัด ไอคิวเด็กทุกปีทุกชั้นเรียน  เพื่อพิสูจน์ว่าการปฏิรูปการศึกษาได้ผล โดยกรมสุขภาพจิตหรือสมาคมกุมารแพทย์ หรือจิตแพทย์แห่งประเทศไทย

    5 มีการสำรวจสถิติ  ภาวะ  การณ์เจ็บป่วยทางสุขภาพจิตเด็ก จากปัญหาการศึกษา  ทุกปี  เพื่อสะท้อนระบบการศึกษา ของประเทศ ว่าไปถูกทางหรือผิดทาง


                        ทั้งหมดนี้ เพื่อความยุติธรรม ต่อบุตรของผู้มอบอำนาจ  และ  ให้ ประเทศ ไทย  อันเป็นที่รักของเราทุกคน     เจริญก้าวหน้า ประชาชน และเยาวชน อยู่อย่างมีความสุข  ได้รับการพัฒนาอย่างถูกทาง      ไม่เป็นการผลักดันเด็กให้เกิดปัญหาทางสุขภาพจิต รวมทั้งจะเป็นรากฐานในการพัฒนา      ด้านเศรษฐกิจที่ยั่งยืน    เมื่อทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ และศักยภาพ    เหล่านี้จบการศึกษาออกไป    ในอนาคต    เป็นผลดีต่อประชาชน  และต่ออนาคตของชาติ  ทำให้ชาติของเราไม่ล้าหลังอีกทางหนึ่งด้วย

                          ดังนั้น ข้าพเจ้า  จึงอยากจะขอกราบเรียนมายัง ท่าน  ช่วยโปรดกรุณา   ช่วยเหลือเยาวชนไทย   ลูกหลานข้าพเจ้า  และผู้มอบอำนาจ  ซึ่งเป็นอนาคตของชาติอันเป็นที่รัก และหวงแหนของเราทุกคน   โดยโปรดพิจารณา    ตามข้อเสนอแนวทางแก้ไข   ตามแต่จะเห็นสมควร         ขอกราบขอบพระคุณยิ่ง

    ขอแสดงความนับถือ

                                                                      พท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธุศรี
                                                              ประธานเครือข่ายฯ                             ผู้ฟ้อง/ ผู้ร่าง/ ผู้ร้องคำร้อง
                                                                                 สค. 48
    โทร  012980284              แฟกซ์  02 7637722   WWW.PARENT-YOUTH.NET            
     อีเมล    KAMOLPAR @YAHOO.COM,          CH_KAMOLPAN @HOTMAIL.COM

     

    ขอกราบขอบพระคุณยิ่งคะ

     

    พท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธุศรี

    คำตอบ

    เรียน พท.พญ.กมลพรรณ

            คุณหมอขยายหน้าจอเสียจนอ่านไม่ได้ เลยไม่สามารถดูรายละเอียด

    ได้  อย่างไรก็ตามศาลปกครองเขามีแผนกแนะนำวิธีการฟ้อง ถ้าไปปรึกษาเขา

    ก็อาจได้รับคำแนะนำที่ดีว่าจะเขียนอย่างไรจึงไม่ถูกฟ้องหมิ่นประมาทได้ บางที

    เขาอาจแนะนำให้ได้ด้วยว่ากรณีอย่างนี้ฟ้องได้หรือไม่

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    30 สิงหาคม 2548