ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    012946 ขอแสดงความคิดเห็นเสียงประชาคม25 มกราคม 2548

    คำถาม
    ขอแสดงความคิดเห็น

    กราบเรียน นายกสภามหาวิทยาลัย

    ขอแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างพรบ. มหาวิทยาลัยตามที่สภาอาจารย์ของมหาวิทยาลัย…ได้มีบันทึกข้อความแจ้งให้คณาจารย์ทราบเกี่ยวกับเรื่อง ขอให้ศึกษาและโปรดแสดงความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติของมหาวิทยาลัย…พ.ศ….พร้อมแนบร่าง พรบ. ฉบับผ่านความเห็นชอบของวุฒิสภา โดยในบันทึกข้อความระบุว่า

    ตามที่ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย…พ.ศ…ได้ผ่านความเห็นชอบของวุฒิสภา เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2547 โดยเห็นชอบให้แก้ไขตามที่คณะกรรมการวิสามัญ ฯ เสนอ และขณะนี้ร่าง พรบ. ดังกล่าวก็ยังไม่เป็นที่ยุติ เนื่องจากต้องรอความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรชุดใหม่ ดังนั้นสภาอาจารย์จึงขอส่งร่าง พรบ. ให้ท่านและบุคลากรในหน่วยงานของท่านเพื่อพิจารณาและศึกษา แสดงความคิดเห็น ฯ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อมหาวิทยาลัยและเป็นแนวทางปฏิรูปมหาวิทยาลัยของชาติ และหากบุคลากรในหน่วยงานของท่านไม่แสดงความคิดเห็น สภาอาจารย์ถือว่าท่านเห็นชอบร่าง พรบ.ดังกล่าวนี้ จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาเผยแพร่ให้บุคลากรได้ทราบด้วย จักขอบคุณยิ่ง

    จากข้อความข้างต้นหากให้ตีความกันแล้ว น่าจะเป็นการแสดงความต้องการสนับสนุนร่างพรบ.ฉบับวุฒิสภาที่ค่อนข้างชัดเจน ทั้ง ๆ ที่เราทราบกันแล้วว่ามีประเด็นแก้ไขจากฉบับสภาผู้แทน ฯ ค่อนข้างมาก ดังนั้นเพื่อความเข้าใจกันให้มากขึ้น จะขอยกตัวอย่างประเด็นที่สำคัญ และได้รับการมองว่าอาจก่อความยุ่งยากตามมา อาทิ มาตรา 73 และ 76 ความว่า ให้ผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการ หัวหน้าภาควิชา และหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่า ฯ ดำรงตำแหน่งต่อไป… และต่อไปนี้จะเป็นข้อความที่ถูกตัดออกคือ …แต่ถ้าบุคคลดังกล่าวเป็นข้าราชการของมหาวิทยาลัย…ต้องแสดงเจตนาเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยในสิบห้าวันนับแต่วันที่พรบ.นี้ใช้บังคับ ฯลฯ ทั้งนี้ข้อความที่ได้รับการตัดออกจัดเป็นประเด็นสำคัญด้วยเหตุผลที่ว่า ผู้บริหารองค์กรหรือหน่วยงานที่ออกนอกระบบหรือในกำกับของรัฐจำเป็นต้องมีความเชื่อมั่นและมีความชัดเจนเป็นผู้นำในการออกนอกระบบราชการก่อนบุคลากรระดับอื่น ๆ  ดังนั้นการออกจากระบบหรือจากการเป็นข้าราชการจึงมีความจำเป็นเพื่อความเป็นอิสระและคล่องตัวในการชี้นำองค์กรให้ก้าวไกลมุ่งสู่การพัฒนาทั้งในระดับชาติและแข่งขันได้ในระดับสากล จึงขอเรียนถามดังนี้

    1. แนวปฏิบัตินี้เป็นวิธีการที่มีความเหมาะสมหรือไม่
    2. โดยความเห็นมองว่ายังไม่ใช่วิธีการที่เหมาะสม การที่มหาวิทยาลัยจะออกนอกระบบราชการเป็นเรื่องที่ประชาชนโดยทั่วไปหรือแม้แต่คณาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยเองยังให้ความสนใจน้อย ดังนั้นการไม่แสดงความคิดเห็น ย่อมไม่ได้แสดงว่าเป็นการเห็นด้วยเสมอไป
    3. ควรใช้วิธีสื่อสารยังบุคลากรโดยตรงให้ได้ผล และด้วยความเข้าใจจะเหมาะสมกว่าหรือไม่
    4. มีข้อความเห็นเพิ่มเติมว่า บุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องยังมีทัศนะที่ยึดติดอยู่กับระบบราชการเดิม และมีความห่วงใยในสถานภาพของตนเอง มากกว่าความก้าวหน้าขององค์กร อย่างไรก็ตามการเข้าสู่ตำแหน่งก็ย่อมสามารถทำได้  แต่ควรจะยอมรับกติกาใหม่ด้วย

    ด้วยความเคารพจาก

    เสียงประชาคม

    คำตอบ

    เรียน เสียงประชาคม

     

        1. จะเหมาะสมหรือไม่ เป็นเรื่องของแต่ละความคิด สุดแต่พื้นฐานของแต่ละคน

        2. ในฐานะที่ประชากรในมหาวิทยาลัยเป็นผู้นำใน "การมีส่วนร่วม"  เมื่อมีอะไรที่เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยของเรา จะปล่อยให้คนอื่นตีขลุมได้อย่างไร ถ้าเห็นว่าเป็นการไม่เหมาะสม ก็ต้องยอมเสียเวลาบอกเขาไปตามความคิดอ่านของเรา ดีกว่าปล่อยให้ใครเอาชื่อของเราไปใช้โดยเราไม่ได้รู้เห็นด้วย

        3. บางทีคนหมู่มาก ก็อาจจะยากที่จะติดต่อเป็นรายบุคคลได้  ในเมื่อเทคโนโลยีก็ก้าวหน้ามามากแล้ว จึงควรใช้เทคโนโลยีให้คุ้มค่า

        4. นั่นซีนะ  การพัฒนาจึงเป็นไปได้ยาก

     

     

        4.


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    25 มกราคม 2548