ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    012772 ออกนอกระบบม.บูรพาผู้อยากรู้27 ธันวาคม 2547

    คำถาม
    ออกนอกระบบม.บูรพา

    ในเรื่องออกนอกระบบของมหาวิทยาลัยบูรพา  อยากให้ท่านขยายความจากคำของท่านนะค่ะ  ว่าที่ท่านบอกว่า "ระบบราชการมีความคล่องตัวอยู่แล้ว  การทำให้ออกนอกระบบของมหาวิทยาลัยไม่เป็นเรื่องที่จำเป็น"  หมายความว่าอย่างไรค่ะ

    และอยากถามว่า  ขณะนี้ร่างพรบ.ม.บูรพาค้างอยู่  แล้วท่านคิดจะทำอะไรต่อไปกับการออกนอกระบบครั้งนี้ว่าท่านจะผลักดันมหาวิทยาลัยบูรพาให้ออกนอกระบบต่อไปหรือเปล่า  เพราะอะไร  หรือจะมีการทำให้ร่างพรบ.ตกไป ไม่ยกขึ้นมาพิจารณาอีก

                                                     ขอขอบคุณมากค่ะ

    คำตอบ

     

           เมื่อครั้งที่มีการริเริ่มให้มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ และดำเนินการยกร่าง

    กฎหมายของมหาวิทยาลัยนั้น ระบบราชการยังไม่ได้รับการปฏิรูป  ร่างของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งไปในทางที่จะก่อให้กิดการปฏิรูป เกิดความคล่องตัว และสามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  แต่ต่อมาราชการได้มีการปฏิรูปไปในทิศทางเดียวกัน คือให้เกิดประสิทธิภา และคล่องตัว มากขึ้น ซึ่ง

    ในที่สุดมหาวิทยาลัยทุกแห่งที่ยังเป็นรบบราชการอยู่ก็จะต้องปฏิบัติตามนั้น และที่สำคัญร่างของมหาวิทยาลัยที่ร่างกันไปนั้น ไม่ได้ทำในลักษณะที่จะก้าวไปได้อย่างเต็มที่ เพราะบรรดาอาจารย์และบุคลากรที่มีส่วนร่วมยังมีทัศนะที่ติดยึดอยู่กับระบบราชการเดิม มีความห่วงใยในสถานะภาพของตนเองมากกว่าความก้าวหน้าขององค์กร การวางกรอบของมหาวิทยาลัยจึงไม่อาจทำได้อย่างเต็มที่ แต่ในขณะนั้นก็คิดว่าเมื่อได้ย่างก้าวเป็นก้าวแรกและค่อย ๆ ปรับทัศนะกันไปได้สักระยะหนึ่ง การปรับขั้นที่สองก็คงจะทำง่ายขึ้น  แต่มาบัดนี้เมื่อระบบราชการเดินไปไกลกว่าที่เคยเป็นอยู่ นอกจากนั้น เมื่อมหาวิทยาลัยราชภัฏได้ก่อตั้งขึ้นและมีกฎหมายว่าด้วยการบริหารงานบุคคฃในสถาบันอุดมศึกษามาใช้บังคับเป็นการเฉพาะ ซึ่งแตกต่างไปจากระบบเดิมอย่างมาก  กรอบและแนวที่เคยกำหนดไว้สำหรับมหาวิทยาลัยแต่ละมหาวิทยาลัยจึงกลายเป็นของล้าสมัย  ผมจึงชักจะเห็นว่าร่างของมหาวิทยาลัยที่เสนอไปนั้นน่าจะไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุด ยิ่งไปถูกวุฒิสภาแก้ไขเสียมากมายก็อาจจะกลายเป็นอุปสรรคในการบริหารงานอย่างมากในวันข้างหน้า

         มีข้อน่าคิดเพื่อช่วยกันตัดสินใจอยู่ดังนี้

         1. อันระบบราชการที่ได้รับการปฏิรูปไปนั้น เป็นการปฏิรูปสำหรับราชการทุกกระทรวงทบวงกรม จึงมีลักาณะเป็นกลาง ๆ มากกว่าจะเฉพาะเจาะจง แต่เมื่อมหาวิทยาลัยมีลักษณะการทำงาน เป้าหมาย ความอิสระ และโครงสร้างที่แตกต่างไปจากระบบราชการของกระทรวงทบวงกรม เราจะยังสมควรอยู่กับที่เพื่อใช้ระบบราชการทั่วไปอยู่อย่างนั้นหรือ

         2. ในระบบราชการขณะนี้มีแนวความคิดที่ยังออกให้พ้นจากระบบราชการ โดยตั้งหน่วยงานในลักษณะเป็นองค์กรมหาชนบ้าง เป็นหน่วยบริการพิเศษบ้าง เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและประสิทธิภาพ พร้อมทั้งความอิสระในเรื่องการเงิน ค่าตอบแทน ซึ่งจะเห็นว่ามีหน่วยงานเป็นจำนวนมากที่ค่อย ๆ ทะยอยกันออกจากระบบราชการ  มหาวิทยาลัยที่เคยเป็นแนวหน้า จะไม่สนใจที่จะคิดอ่านเปลี่ยนแปลงบ้างหรือ

         3. กฎหมายระเบียบข้าราชการในสถาบันอุดมศึกษานั้น ออกมาโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อใช้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏที่มีอยู่สี่สิบกว่าแห่ง  ความเหมาะสมและสมควรจึงทำขึ้นเพื่อมหาวิทยาลัยราชภัฏโดยเฉพาะ แต่ในระหว่างที่มหาวิทยาลัยเก่า ๆ ทั้งหลายยังไม่ได้ออกนอกระบบ จึงให้มาอิงใช้ไปพลางก่อน มหาวิทยาลัยเก่า ๆ ทั้งหลายพอใจที่จะอยู่เป็นกาฝากของกฎเกณฑ์ที่ออกมาเพื่อใช้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏ หรือจะสมควรมีกฎเกณฑ์ของตนเองที่เหมาะสมกับมหาวิทยาลัยของตนซึ่งมีระบบ วิธี และประวัติที่แตกต่างไปจากมหาวิทยาลัยราชภัฏ

         4. รัฐบาลมีนโยบายค่อนข้างแน่ชัดว่า จะไม่ฝืนใจมหาวิทยาลัยให้ต้องออกนอกระบบ แต่ในขณะเดียวกัน รัฐบาลก็ไม่ยอมให้มีการบริหารงานในระบบอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้นมหาวิทยาลัยทุกแห่งจึงต้องคิดอ่านกันว่า เมื่อบ้านที่อยู่เดิมจะอยู่ต่อไปไม่ได้ ในขณะนี้ยังพอมีโอกาสที่จะเลือกว่าจะไปปลูกสร้างบ้านในโครงสร้างและกฎเกณฑ์อย่างไร ถ้าเราคิดเองก็อาจจะมีโอกาสเลือก แต่ถ้าขี้เกียจคิด หรือไม่แน่ใจ ก็ปล่อยไปเฉย ๆ ก็ได้ วันหนึ่งก็มีคนเขามาเลือกให้เอง

         สำหรับคำถามว่าจะทำกันอย่างไรกับการออกนอกระบบ  โดยส่วนตัวผมไม่ชอบบังคับใจใคร ถ้าคณาจารย์ทั้งปวงไม่อยากออกนอกระบบ ผมก็ไม่ขัดข้อง แต่ต้องมีระบบการตรวจสอบความต้องการอย่างแท้จริง และด้วยความเข้าใจ  ทางที่ดีสภาอาจารย์ซึ่งเป็นตัวตั้งตัวตีในการส่งลายชื่อผู้ไม่เห็นด้วยไปให้สภามหาวิทยาลัยนั่นแหละ ควรจะต้องทำการสำรวจพร้อมข้อมูลที่ถูกต้องและด้วยความรับผิดชอบ แล้วมาบอกว่าบุคลากรทุกฝ่ายเห็นอย่างไร เมื่อได้ข้อยุติแล้วจะได้เดินกันไปได้อย่างยินยอมพร้อมใจ แต่ที่สำคัญที่สุดบุคลากรที่ดำเนินการต้องรับผิดชอบในผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  ถ้าเดินไปในทางที่ดี ต่อไปก็จะได้สร้างอนุสาวรีย์ได้ถูกต้อง แต่ถ้าเดินไปในทางที่เสียหาย ก็จะได้จดจำและต้องรับผิดชอบในผลเสียหายนั้น จะโทษใครไม่ได้  เพราะคนที่เป็นครูบาอาจารย์คนนั้น จะอ้างถึงความไม่รู้ เห็นจะไม่ได้

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    27 ธันวาคม 2547