ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    012739 หน่วยงานในกำกำภายในมหาวิทยาลัยของรัฐผู้น้อย23 ธันวาคม 2547

    คำถาม
    หน่วยงานในกำกำภายในมหาวิทยาลัยของรัฐ

    เรียนท่านมีชัย ที่เคารพ

    ในปัจจุบันนี้พบว่าในมหาวิทยาลัยที่เป็นส่วนราชการหลายแห่ง ได้ตั้งหน่วยงานภายในขึ้นมา และบริหารงานแบบนอกระบบราชการ เท่าที่รู้จักมีอยู่หลายลักษณะ นี่ย่อมแสดงว่ามีกฎระเบียบที่เอื้ออำนวยให้มหาวิทยาลัยเหล่านั้นสามารถบริหารงานแบบนอกระบบราชการอยู่ และสามารถกระทำได้ภายใต้กฎหมายปัจจุบัน อย่างไรก็ตามผมเองยังไม่เข้าใจชัดเจนตรงนี้ จึงขอเรียนถามท่านดังต่อไปนี้คือ

    ๑) หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยที่บริหารงานแบบนอกระบบราชการ สามารถกระทำได้ด้วยเหตุผลใด และต้องอาศัยกฎระเบียบใดในการจัดตั้งหรือไม่

    ๒) เคยมีการศึกษาถึงประสิทธิภาพประสิทธิผล จากการบริหารงานด้วยวิธีการนี้ไว้บ้างหรือไม่ และได้ผลประการใด

    ๓) มหาวิทยาลัยที่ยังเป็นส่วนราชการ จะใช้กระบวนการในลักษณะเช่นนี้ต่อไปหรือไม่ครับ

    ๔) การบริหารงานคลังของหน่วยงานประเภทนี้ มีความสัมพันธ์กับการบริหารงานคลังภาครัฐ หรือไม่ครับ (ต้องรายงานเข้าสู่ระบบ GFMIS ด้วยหรือไม่)

    ขอแสดงความนับถืออย่าสูง

    ผู้น้อย

    คำตอบ

    เรียน ผู้น้อย

          1. เนื่องจากทางราชการประกาศไม่ยอมให้ส่วนราชการโดยเฉพาะมหาวิทยาลัยเพิ่มหน่วยงานขึ้น มาเป็นเวลาหลายปีแล้ว  แต่ก็รู้ว่ามหาวิทยาลัยมีความจำเป็นต้องจัดการเรียกการสอนในรูปของคณะที่เป็นอิสระ จึงมีข้อตกลงยินยอมระหว่างทบวง (ปัจจุบัน สกอ.) และสำนักงบประมาณ ยินยอมให้มหาวิทยาลัยจัดตั้งหน่วยงานนอกระบบได้ และเรื่องใดที่สำนักงบประมาณเห็นดีเห็นงามด้วย ก็อาจจัดสรรงบประมาณอุดหนุนให้ แต่ถ้าเรื่องใดที่มหาวิทยาลัยคิดว่าไม่จำเป็นต้องใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน ก็อาจทำได้เลย

          2. จากผลการดำเนินงานของหน่วยงานนอกระบบ ในทุกมหาวิทยาลัย พบว่า มหาวิทยาลัยได้รับประโยชน์ทางการเงินจากหน่วยงานนอกระบบนั้นมากกว่าคณะที่อยู่ในระบบ ทั้ง ๆ ที่บุคลากรของของหน่วยงานนั้นได้รับค่าตอบแทนสูงกว่าข้าราชการ และการทำงานมีความอิสระมากกว่ากัน แต่แน่นอน ไม่มีใครรับรองได้ว่าหน่วยงานนั้น ๆ จะไม่มีการทุจริต ซึ่งก็พอ ๆ กับที่ไม่มีใครรับรองได้ว่าคณะที่เป็นส่วนราชการจะไม่มีการทุจริต  ทั้งสองกรณี เมื่อปรากฏว่ามีการทุจริต ก็สามารถดำเนินการหาตัวผู้มาดำเนินการได้ในระดับเดียวกัน   อาจมีผู้กล่าวหาว่า หน่วยงานนอกระบบมักจะเรียกเก็บค่าเล่าเรียนแพงกว่าหน่วยงานในระบบ  ซึ่งก็เป็นความจริง แต่ก็เป็นความจริงที่มีอยู่แม้ในหน่วยงานในระบบราชการ เพราะหน่วยงานในระบบราชการเมื่อจัดให้มีการสอนภาคพิเศษ ก็จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมสูงกว่าภาคปกติ  และเหตุผลที่สำคัญก็คือ เมื่อเป็นหน่วยงานนอกระบบ รัฐบาลไม่ได้ให้เงินงบประมาณอุดหนุน หรือให้มาก็เพียงเล็กน้อย มหาวิทยาลัยจึงต้องดำเนินการในลักษณะที่สามารถมีรายได้ที่พอเลี้ยงตัวเองได้  ซึ่งจะโทษมหาวิทยาลัยไม่ได้ ถ้าจะโทษก็ต้องโทษรัฐบาล  แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบค่าธรรมเนียมกับมหาวิทยาลัยเอกชน หน่วยงานนอกระบบของมหาวิทยาลัยของรัฐ ก็ยังเรียกเก็บค่าเนียมน้อยกว่ามหาวิทยาลัยเอกชนมากมาย

        3. มหาวิทยาลัยทุกแห่งถ้าจะขยายงานให้ทันต่อโลกแห่งการแข่งขัน ก็จะต้องทำทำนองนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่ารัฐบาลจะเปลี่ยนนโยบาย

        4. รายได้ของหน่วยงานของรัฐ ในภาพรวมก็ยังต้องถือว่าเป็นรายได้ของรัฐ เพียงแต่ได้รับสิทธิที่มหาวิทยาลัยจะนำไปใ้ช้จ่ายตามระเบียบของตนเองได้โดยไม่ต้องนำส่งคลัง ซึ่งก็มีลักษณะทำนองเดียวกับค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่คณะที่เป็นส่วนราชการได้รับสิทธินี้เช่นเดียวกัน  ส่วนที่ว่าจะต้องรายงานเข้าสู่ระบบอะไรที่ว่ามานั่นน่ะ ไม่ทราบจริง ๆ

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    23 ธันวาคม 2547