ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    051066 การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตาม พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติ29 กันยายน 2558

    คำถาม
    การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตาม พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546
     มาตรา 11(11) ของพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ 2546 ได้กำหนดให้จ่ายเบี้ยยังชีพเป็นรายเดือนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม แต่ระเบียบคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ได้กำหนดคุณสมบัติผู้สูงอายุที่มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพ และระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ พ.ศ. 2552 ได้กำหนดคุณสมบัติผู้สูงอายุที่มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพไว้เช่นกันแต่มีข้อยกเว้นที่แตกต่างกับระเบียบคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ซึ่งโดยหลักแล้วการจำกัดสิทธิของบุคคลควรกำหนดไว้ในกฎหมายแม่บท ดังนั้น จึงมีประเด็นคำถามดังนี้
    1. มาตรา 11(11) ของพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 มีความหมายว่า ผู้สูงอายุทุกคนมีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ใช่หรือไม่ 
    2. ระเบียบคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ที่กำหนดคุณสมบัติผู้สูงอายุที่มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายมาตราใด 
    3. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ พ.ศ. 2552 ที่กำหนดคุณสมบัติผู้สูงอายุที่มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่แตกต่างจากที่ระเบียบคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ พ.ศ. 2552 กำหนดได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
    ขอบคุณคะ
    คำตอบ
    1. ถ้าอ่านเพียงเท่านี้ คำตอบก็คือ ใช่  แต่กฎหมายอ่านเป็นท่อน ๆ ไม่ได้ ต้องอ่านไปให้ตลอดว่าเขามีกฎเกณฑ์กำหนดไว้ที่อื่นอย่างไร หรือให้อำนาจใครไปกำหนดกฎเกณฑ์บ้างหรือไม่
    2. -3. ตอบไม่ได้ เพราะไม่ได้เป็นผู้ออก ปกติเขาจะต้องอ้างไว้ในอารัมภบทว่าอาศัยอำนาจตามกฎหมายอะไร ลองเปิดอ่านดูเถอะ

    มีชัย ฤชุพันธุ์
    29 กันยายน 2558