ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    049765 ทางออกเรื่องทุนการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(เพิ่มเติม)นายนิติธรรม แกล้วกล้า5 ธันวาคม 2556

    คำถาม
    ทางออกเรื่องทุนการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(เพิ่มเติม)

    ตามที่ผมได้สอบถามอาจารย์มีชัย เกี่ยวกับทางออกเรื่องทุนการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๑ ) อาจารย์ตอบว่าจำเรื่องไม่ได้ ช่วยบอกปัญหาและข้อวินิจฉัยของกฤษฎีกาก็น่าจะดี ผมขออนุญาตให้ข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้

    บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา  เรื่องเสร็จที่ ๑๔๐๑ / ๒๕๕๖ เรื่อง การตั้งงบประมาณเพื่อเป็นทุนการศึกษาให้แก่บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                  กระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาสรุปความได้ว่าด้วยกระทรวงมหาดไทยได้รับแจ้งจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินว่าการให้ทุนการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์ว่าด้วยการตั้งงบประมาณเพื่อให้ทุนการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เรื่อง ซักซ้อมวิธีการตั้งงบประมาณและการเบิกจ่ายเงินเพื่อให้ทุนการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากประกาศกระทรวงมหาดไทยและหนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นดังกล่าว มิใช่กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือหนังสือสั่งการกระทรวงมหาดไทยตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๖ และข้อ ๓๔ แห่งระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๑ และข้อ ๖๗ แห่งระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงินและการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๗ อันเป็นระเบียบที่ให้อำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการตั้งงบประมาณรายจ่ายและเบิกเงินได้ นอกจากนี้ ไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายใดกำหนดเรื่องการจ่ายเงินทุนการศึกษาให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและให้อำนาจกระทรวงมหาดไทยออกระเบียบไว้ด้วย จึงขอให้กระทรวงมหาดไทยและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นระงับการตั้งงบประมาณและการเบิกจ่ายเงินทุนการศึกษาไว้ก่อน กระทรวงมหาดไทยและสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินมีความเห็นแตกต่างกัน  จึงหารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อวินิจฉัยในประเด็นดังต่อไปนี้

                .กระทรวงมหาดไทยสามารถอาศัยอำนาจตามข้อ ๔ แห่งระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๑ ประกอบกับประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น เรื่อง กำหนดมาตรฐานกลางการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น ลงวันที่ ๒๕  มิถุนายน ๒๕๔๔ กำหนดหลักเกณฑ์การตั้งงบประมาณเพื่อให้ทุนการศึกษาแก่ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น รองนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และที่ปรึกษานายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยจัดทำเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์ว่าด้วยการตั้งงบประมาณเพื่อให้ทุนการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งปัจจุบันมีการออกประกาศไปแล้วจำนวน ๖ ฉบับได้หรือไม่ เพียงใด

    . หากไม่สามารถดำเนินการตามข้อ ๑ ได้ กระทรวงมหาดไทยสามารถอาศัยอำนาจตามกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่กำหนดให้กระทรวงมหาดไทยมีอำนาจออกระเบียบเกี่ยวกับการคลังและงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายเงินในลักษณะการให้ทุนการศึกษาแก่บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้หรือไม่และควรมีแนวทางปฏิบัติหรือแก้ไขปัญหาในกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้มีการดำเนินการเบิกจ่ายเงินทุนการศึกษาตามประกาศกระทรวงมหาดไทยทั้ง ๖ ฉบับ ในข้อ ๑ และหนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องไปแล้วโดยสุจริตอย่างไร

    คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๑ ) มีความเห็นดังนี้

              ประเด็นที่หนึ่ง เห็นว่าการที่ข้อ ๔ แห่งระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๑ กำหนดให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามระเบียบนี้และมีอำนาจยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบ นั้น มิได้เป็นการกำหนดให้อำนาจออกระเบียบหรือข้อบังคับเพื่อเพิ่มประเภทรายจ่ายอื่นนอกเหนือจากรายจ่ายที่ระบุไว้ในมาตรา ๘๕ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ มาตรา ๖๗ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.๒๔๙๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย

    พระราชบัญญัติเทศบาล ( ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๐๕ และมาตรา ๗๕ แห่งพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.๒๕๔๐ สำหรับประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น เรื่อง กำหนดมาตรฐานกลางการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น ลงวันที่ ๒๕  มิถุนายน ๒๕๔๔ เป็นเรื่องอำนาจการกำหนดมาตรฐานกลางและแนวทางในการกำหนดโครงสร้างอัตราเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นให้มีสัดส่วนที่เหมาะสมแก่รายได้และการพัฒนาตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยประกาศดังกล่าวมิได้มีข้อความใดให้อำนาจกระทรวงมหาดไทยในการออกระเบียบในเรื่องดังกล่าวได้เลย

               ดังนั้น กระทรวงมหาดไทยจึงไม่สามารถอาศัยอำนาจตามข้อ ๔ แห่งระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฯ ประกอบกับประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น ฯ กำหนดหลักเกณฑ์การตั้งงบประมาณเพื่อให้ทุนการศึกษาแก่บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ ซึ่งเป็นไปตามแนวทางที่คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๑ ) ได้เคยให้ความเห็นไว้ในเรื่องเสร็จที่ ๔๕๘ / ๒๕๕๓ และเรื่องเสร็จที่ ๑๖๕ / ๒๕๕๖

               ประเด็นที่สอง การที่หารือว่ากระทรวงมหาดไทยสามารถอาศัยอำนาจตามกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่กำหนดให้กระทรวงมหาดไทยมีอำนาจในการออกระเบียบเกี่ยวกับการคลังและงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายเงินในลักษณะการให้ทุนการศึกษาแก่บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้หรือไม่ นั้น เข้าใจว่ากระทรวงมหาดไทยมุ่งหมายถึงมาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ มาตรา ๖๙ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.๒๔๙๖ และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด ฯ ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจกระทรวงมหาดไทยออกระเบียบว่าด้วยการคลังและการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บทบัญญัติดังกล่าวมิใช่บทบัญญัติที่ให้อำนาจกระทรวงมหาดไทยในการสร้างประเภทรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มเติมแต่อย่างใด ดังนั้น จึงไม่สามารถอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายเงินในลักษณะการให้ทุนการศึกษาแก่บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้

                อนึ่ง คณะกรรมการกฤษฎีกา ( คณะที่ ๑ ) มีข้อสังเกตว่า เมื่อกระทรวงมหาดไทยออกระเบียบในเรื่องใดแล้ว กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นมักจะออกหนังสือซักซ้อมความเข้าใจหรือซักซ้อมวิธีการ อันมีลักษณะเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากที่ปรากฏในระเบียบกระทรวงมหาดไทยเสมอ กระทรวงมหาดไทยสมควรตรวจสอบหรือพิจารณาให้รอบคอบว่ากรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นมีอำนาจในการออกหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขเพิ่มเติมได้หรือไม่เพียงใด

     

     

     

     

     

    คำตอบ
    ตามกฎหมายของท้องถิ่นแต่ละประเภท มีบทบัญญัติให้อำนาจกระทรวงมหาดไทยกำหนดรายจ่ายอื่นที่จะสอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ของท้องถิ่นนั้น ๆ อยู่แล้ว  กระทรวงมหาดไทยก็เคยอาศัยบทบัญญัติดังกล่าวออกกฎเกณฑ์ไว้อยู่ไม่น้อย  แต่ที่แล้วมา รัฐมนตรีก็ดี ปลัดกระทรวงก็ดี มักจะยังนึกว่า มหาดไทยมีอำนาจสั่งอะไร ๆก็ได้ จึงมักจะสั่งโดยไม่ดูถึงฐานอำนาจ จึงเกิดปัญหาอยู่เป็นประจำ กฤษฎีกาก็เตือนหลายครั้งแล้ว ทั้งเตือนฝากเจ้าหน้าที่ที่มาชี้แจง บางกรณีก็ตั้งเป็นข้อสังเกตไป  แต่คำเตือนเหล่านั้นก็คงอยู่เพียงแค่เจ้าหน้าที่ระดับล่าง ปลัดกระทรวงซึ่งเป็นแม่บ้านคงมัวแต่ยุ่งอยู่กับการติดตามและคอยรับใช้รัฐมนตรีเพื่อรักษาตำแหน่ง จึงไม่ได้ดู  ทำให้กระทรวงตกต่ำลงเรื่อย ๆ  กระทรวงมหาดไทยที่เคยยิ่งใหญ่ จึงค่อย ๆ เล็กลง ๆ  อีกไม่นาน การกำกับท้องถิ่น ก็คงถูกโยกย้ายไปอยู่ที่อื่น  นี่ยังไม่นับแนวคิดเรื่องการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด ที่นับวันแต่จะแรงขึ้นทุกวัน อีกหน่อยอาจไม่เหลืออะไร
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    5 ธันวาคม 2556