ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    046896 มติคณะรัฐมนตรีจะมีผลใช้บังคับกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้แค่ไหน เพียงไรพ่อลูกอ่อน12 พฤษภาคม 2555

    คำถาม
    มติคณะรัฐมนตรีจะมีผลใช้บังคับกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้แค่ไหน เพียงไร

    ขออนุญาตเรียนถาม ท่านอาจารย์ ดังนี้

    ๑. คณะรัฐมนตรี จะมีมติ เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งไม่ขัดต่อกฎหมาย เช่น การมีมติเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพก่อสร้าง และกำหนดให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถือปฏิบัติ ได้ หรือไม่

    ๒. การมีมติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องปฏิบัติ ตาม ๑. จะถือเป็นการสั่งการให้ต้องปฏิบัติ อันขัดกับหลักการกำกับดูแล ซึ่งเป็นหลักย่อยหลักหนึ่งในหลักเรื่องการกระจายอำนาจ หรือไม่ ทัั้งนี้เพราะโดยหลักแล้ว ราชการส่วนกลางกับส่วนภูมิภาค มีหน้าที่กำกับดูแลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย ได้เท่านั้น จะสั่งการให้ปฏิบัติ เหมือนกรณีการใช้อำนาจบังคับบัญชา ส่วนราชการ ในสังกัด ตามหลักการแบ่งอำนาจ มิได้ อีกทั้ง มติคณะรัฐมนตรี ก็ไม่ถือเป็นกฎหมาย ซึ่งอยู่ในขอบข่ายของการกำกับดูแล ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย

    ๓. การที่โครงสร้างทางกฎหมาย เช่น ตามกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น หรือหลักกฎหมายทั่วไปว่าด้วยการจัดระเบียบราชการบริหาร กำหนดให้ รมว.มหาดไทย เป็นผู้กำกับดูแล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จะมีผลเป็นการจำกัดอำนาจของนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล หรือคณะรัฐมนตรี ในฐานะองค์กรสูงสุดของฝ่ายบริหาร ในการสั่งการหรือกำกับดูแล อปท. โดยต้องสั่งการหรือกำกับดูแล ผ่าน รมว.มหาดไทย ได้ เท่านั้น ใช่หรือไม่ มีกรณีอื่นที่สั่งการหรือกำกับดูแลโดยตรงเลย ได้หรือไม่

    ๔. ความมีผลของมติคณะรัฐมนตรี ในการใช้ยันต่อหน่วยงานของรัฐ จะมีผลนับแต่วันที่หน่วยงานรัฐนั้น ทราบมติ ครม.ตามความเป็นจริงหรือตามข้อเท็จจริง หรือจะถือวันที่มีหนังสือเวียนจากหน่วยงานต้นสังกัดหรือที่กำกับดูแล แจ้งให้ทราบเป็นหนังสือ เช่น ผู้ประกอบการที่ได้รับประโยชน์จากมติ ครม. ปริ้นท์มติ ครม. มาอ้างสิทธิต่อหน่วยงานของรัฐ แต่หน่วยงานของรัฐนั้น ยังไม่ได้รับแจ้งมติ ครม.อย่างเป็นทางการ

    ๕. อำนาจของนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล ตาม ม.11 (1) แห่ง พรบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ที่ว่า มีอำนาจกำกับโดยทั่วไปซึ่งการบริหารราชการแผ่นดิน ...กรณีจำเป็นจะยับยั้งการปฏิบัติราชการใดๆ ที่ขัดต่อนโยบายหรือมติคณะรัฐมนตรีก็ได้ นายกรัฐมนตรีจะใช้อำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ในการสั่งการให้ อปท. ปฏิบัติตาม "กฎหมาย" หรือ "มติ ครม." ได้ หรือไม่ และถ้าพบว่า อปท.ใด ไม่ปฏิบัติตาม "มติ ครม." จะใช้อำนาจยับยั้งการปฏิบัติราชการของ อปท.ได้หรือไม่ การใช้อำนาจดังกล่าว จะทำได้ด้วยตนเอง หรือต้องผ่านหน่วยงานกำกับดูแลที่กฎหมายกำหนด (รมว.มหาดไทย/ปลัด มท./อธิบดีกรมส่งเสริมฯ/ผู้ว่าฯ/นายอำเภอ)

    ด้วยความนับถืออย่างยิ่ง และขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง

    คำตอบ

    เท่าที่จำได้ หน้าที่ของท้องถิ่นอย่างหนึ่งคือต้องปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบและมติคณะรัฐมนตรี  การไม่ปฏิบัติตามถ้าก่อให้เกิดความเสียหายแก่ท้องถิ่น เป็นความผิดในตัว ผู้ัมีอำนาจกำกับ เช่นนายอำเภอหรือผู้ว่า อาจดำเนินนการอย่างหนึ่งอย่างใดทางปกครอง เช่น ยุบสภา หรือสั่งให้พ้นจากตำแหน่งได้  ขณะนี้ผู้ตอบอยู่่ต่างประเทศไม่สะดวกในการตรวจสอบกฎหมาย จึงลองควรศึกษากฎหมายท้องถิ่นแต่ละระดับประกอบกับกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินให้ละเอียด


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    12 พฤษภาคม 2555