ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    046602 การทะเบียนราษฎรsu30 มีนาคม 2555

    คำถาม
    การทะเบียนราษฎร

    กราบเรียนท่านอาจารย์มีชัย ที่เคารพอย่างสูง

    มาตรา 26 แห่ง พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2551 ให้สำนักทะเบียนท้องถิ่นที่ดำเนินการอยู่แล้วในวันก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ(ใช้บังคับ 23 ส.ค. 2551) เป็นสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่จัดตั้งตามมาตรา 8/1 แห่ง พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดย พ.ร.บ.ฉบับนี้

                มาตรา 8/1 การจัดตั้งสำนักทะเบียนทะเบียนท้องถิ่น ให้เป็นไปตามที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลางประกาศ โดยคำนึงถึงสภาพแห่งความพร้อมและความสะดวกในการให้บริการประชาชน รวมตลอดถึงการไม่ซ้ำซ้อนและการประหยัด                              

                อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของสำนักทะเบียนที่จัดตั้งตามวรรคหนึ่งหรือควบรวมตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลางประกาศกำหนด

              คำถามข้อ 1  กรณีเทศบาลที่ได้รับการจัดตั้งก่อน วันที่ 23 ส.ค. 2551 แต่มิได้ปฏิบัติงานทะเบียนราษฎร จะถือว่าเป็นสำนักทะเบียนโดยผลของ พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 หรือจะต้องให้ผู้อำนวยการทะเบียนกลางประกาศกำหนดก่อนจึงจะจัดตั้งเป็นสำนักทะเบียนท้องถิ่นได้

              คำถามข้อ 2  ผู้อำนวยการทะเบียนกลาง ได้ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดตั้ง ยุบหรือควบรวมสำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น พ.ศ. 2522 มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไข จำนวน 8 ข้อ เช่น จำนวนราษฎรไม่น้อยกว่า 7,500 คน , ต้องผ่านการอบรมและการฝึกปฏิบัติงานด้านการทะเบียนราษฎรตามหลักสูตรที่กรมการปกครองกำหนด และต้องผ่านความเห็นชอบของสภาท้องถิ่น ฯ เป็นต้น

                  แต่กรณีคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งจัดตั้งโดยพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มีมติให้ถ่ายโอนงานทะเบียนราษฎรให้กับเทศบาลตำบลโดยไม่ต้องมีเกณฑ์การประเมินความพร้อม (รวมเทศบาลที่ได้จัดตั้งขึ้นใหม่หลังวันที่ 23 สิงหาคม 2551 )

                    เนื่องจากมติให้ถ่ายโอนงานทะเบียนราษฎรดังกล่าวขัดแย้งกับประกาศสำนักทะเบียนกลางข้างต้น เทศบาลที่มีคุณสมบัติไม่ครบตามหลักเกณฑ์ของประกาศสำนักทะเบียนกลาง เช่น จำนวนราษฎร 5,000 คน และไม่ได้ผ่านการอบรมตามที่กรมการปกครองกำหนด  ผู้อำนวยการทะเบียนกลางจะสามารถถ่ายโอนงานทะเบียนราษฎรให้กับเทศบาลที่มีคุณสมบัติไม่ครบตามหลักเกณฑ์ได้หรือไม่ เพราะอะไร

                    กราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง

     

    คำตอบ

    คำตอบข้อ 1 เมื่อไม่เคยดำเนินการ ก็ย่อมไม่เข้าข่ายตามบทเฉพาะกาล

    คำตอบข้อ 2 คณะกรรมการกระจายอำนาจ มีแต่ความอยาก โดยไม่ได้สนใจว่าอำนาจอยู่ที่ใคร หรือจะต้องเตรียมการอย่างไร ความอยากนั้นจึง "สมอยาก" บ้าง "ไม่สมอยากบ้าง" เมื่อนายทะเบียนกลางเขามีอำนาจกำหนดกฎเกณฑ์ตามเหตุตามผล ตามสำนึกในความรับผิดชอบต่อความถูกต้องของทะเบียนราษฎร เขาก็ต้องปฏิบัติไปตามกฎเกณฑ์นั้น  ตราบใดที่ยังไม่ได้เปลี่ยนกฎเกณฑ์ ความอยากของคณะกรรมการกระจายอำนาจก็ยังเป็นเพียง "ความอยาก" อยู่นั่นเอง  แต่ถ้าคณะกรรมการ       กระจายอำนาจสั่งการ (ตามอำนาจ-- ถ้ามี) ไปยังนายทะเบียนกลางให้แก้ไขกฎเกณฑ์ให้เป็นไปตามความอยาก นายทะเบียนกลางเขาก็อาจแก้ไขกฎเกณฑ์ให้ เพราะในกรณีเช่นนั้นเท่ากับเขาทำตามคำสั่ง หากเกิดความเสียหายเดือดร้อนกับราษฎรขึ้น เขาจะได้โยนไปให้เป็นความรับผิดชอบของคณะกรรมการกระจายอำนาจได้


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    30 มีนาคม 2555