ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    045454 ลูกจ้างตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 267นายชนะศักดิ์ เรื่องลพ4 สิงหาคม 2554

    คำถาม
    ลูกจ้างตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 267

    เรียน  ท่านอาจารย์มีชัย   ฤชุพันธุ์  ที่เคารพ

             รัฐธรรมนูญมาตรา  267  ห้ามนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเป็นลูกจ้างของบุคคลใดก็มิได้ด้วย  เรื่องนี้เคยมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกรณีของท่านนายกสมัคร  โดยศาลรัฐธรรมนูญให้เหตุผลว่าแม้ไม่เป็นลูกจ้างตามความหมายของ ปพพ. กฎหมายคู้มครองแรงงาน หรือกฎหมายภาษีอากร แต่รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ที่มีเจตนารมณ์ป้องกันการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์สาธารณะ การตีความต้องแปลตามความหมายทั่วไปตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตปี 42 คือลูกจ้างหมายถึงผู้รับจ้างทำการงาน  ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้นายจ้าง  โดยได้รับค่าจ้าง  ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร  โดยมิคำนึงว่าจะมีสัญญาจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ หรือได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าจ้าง  สินจ้าง หรือค่าตอบแทนในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินอื่น 

             จากความหมายที่กล่าวมา  กรณีผมเป็นตัวแทนขายประกันวินาศภัยได้รับแต่งตั้งจากบริษัทประกันภัย  ให้เป็นตัวแทนโดยได้ทำสัญญาเป็นตัวแทนไว้ต่อกัน รวมทั้งได้รับแต่งตั้งจากอีกบริษัทหนึงให้เป็นนายหน้าประกันวินาศภัย ได้มีการทำสัญญาเช่นเดียวกัน ภาระกิจคือเป็นผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลเข้าทำสัญญาประกันภัยกับบริษัท โดยผมจะได้รับค่าตอบแทนจากการทำประกันเป็นราย ๆ ไป เฉพาะที่ผมเป็นผู้ชี้ช่องเท่านั้น  แต่ในสัญญาจะระบุว่าความสัมพันธ์ระหว่างผมกับบริษัท(ที่ผมเป็นคู่สัญญา) ผมซึ่งเป็นนายหน้าไม่มีนิติสัพันธ์กับบริษัท ในฐานะนายจ้างและลูกจ้างแต่อย่างใด  ส่วนในสัญญาตัวแทนระบุว่า ความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับผมซึ่งเป็นตัวแทน  เป็นไปในฐานะตัวการกับตัวแทนรับมอบอำนาจเฉพาะการเท่านั้น  มิใช่ฐานะนายจ้างกับลูกจ้าง  ปัญหาคือ  ผมจะสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายก อปท. แต่รัฐธรรมนูญมาตรา 284 วรรคสิบ  ให้นำมาตรา 267 มาใช้บังคับกับผู้บริหารท้องถิ่นด้วย  จึงขอเรียนถามว่า

            1. อาชีพการขายประกันโดยเป็นนายหน้าหรือตัวแทนตามที่กล่าวถือเป็นลูกจ้างของบริษัทตามพจนานุกรมอย่างกรณีของท่านนายกสมัครหรือไม่

            2. กรณีเป็นการจ้างทำของจะถือเป็นลูกจ้างตามมาตรา 267 ประกอบพจนานุกรมเช่นเดียวกับของนายกสมัครหรือไม่

    คำตอบ
    ถ้าดูตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่มองอย่างกว้าง กรณีของคุณทั้งสองกรณี ก็ถือว่าเขาข่ายเป็น ลูกจ้าง
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    4 สิงหาคม 2554