ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    040901 ความแตกต่างของนิยามคำว่า"คำสั่ง"กับ"หนังสือ"นิติกร อบต.2 กรกฎาคม 2553

    คำถาม
    ความแตกต่างของนิยามคำว่า"คำสั่ง"กับ"หนังสือ"
    กราบเรียนท่านอาจารย์ กระผมใคร่สงสัยในข้อกฎหมาย นิยามคำว่า "คำสั่ง"  มีความหมายแตกต่างกันอย่างไรกับคำว่า "หนังสือ" และจะถือว่า "คำสั่ง" เป็น"หนังสือ"ได้หรือไม่ .....ยกตัวอย่างเช่น... ตาม พรบ.สภาตำบลและ อบต.มาตรา 60 วรรค 5 บัญญัติไว้ว่า...นายก อบต.อาจมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้รองนายก อบต.เป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนนายก อบต. แต่ถ้ามอบให้ปลัด หรือรองปลัด อบต.เป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนให้ทำเป็นคำสั่งและประกาศให้ประชาชนทราบ....
    คำตอบ
    การให้ทำเป็นหนังสือ ก็แปลว่าทำอย่างไรก็ได้ให้มีข้อความมอบหมายให้เขาไปทำแทนก็แล้วกัน  เช่น ปลัด อบต.มีหนังสือถึง นายก อบต.แจ้งว่า ราษฎรเขาเชิญให้นายก อบต.ไปเปิดงานสงกรานต์  นายก อบต. ก็เขียนต่อท้ายหนังสือของปลัด ว่า "ให้รองนายกฯไปทน" อย่างนี้ก็ใช้ได้แล้ว   แต่ในกรณีทำเป็นคำสั่ง นั้นต้องออกเป็นคำสั่ง มีเลขที่คำสั่ง ตามแบบฟอร์มของทางราชการ นอกจากนั้นในกรณีมอบให้ปลัดยังต้องประกาศให้ประชาชนทราบ
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    2 กรกฎาคม 2553