ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    037383 วิธีการถอดถอนผู้ใหญ่บ้าน+กฎหมายที่เกี่ยวข้องผู้ไร้ที่พึ่งทางกฎหมาย4 ตุลาคม 2552

    คำถาม
    วิธีการถอดถอนผู้ใหญ่บ้าน+กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

    เรียน อาจารย์ที่เคารพ

    เราชาวบ้านได้ทำการรวบรวมรายชื่อเพื่อทำการถอดถอนผู้ใหญ่บ้าน ต่ออำเภอ แต่ปรากฎว่าไม่ผ่าน และทุกคนมีความรู้สึกว่า การใช้สิทธิทางการเมืองของราษฎรธรรมดาอย่างเรารู้สึกยากลำบากเหลือเกิน ทั้งๆที่เราทุกคนทำไปเพื่อความสามัคคีของหมู่บ้าน ความชอบธรรมและปกป้องสิทธิของเราเอง แต่เค้าอาศัยช่องทางกฎหมายเพื่อให้ถูกกฎหมาย แต่เราจะสู้ต่อไปค่ะ จึงใคร่ขอทราบรายละเอียด+กฎหมายที่เกี่ยวข้อง คือ ( เราไม่มีใครทราบกฎหมายเลย)

    1.ชาวบ้านสามารถรวบรวมรายชื่อเพื่อถอนถอนผู้ใหญ่บ้านโดยไม่มีความผิดได้หรือไม่

    2.ผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งล่าสุดสามารถร่วมลงชื่อถอดถอนได้หรือไม่

    3.ต้องรวบรวมรายชื่อถึงกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งหักผู้ขาดคุณสมบัติ+มีลักษณะต้องห้าม ถูกต้องหรือไม่

    4.เป็นรายชื่อผู้มีสิทธิ ณ วันใด เช่น ณ วันยื่นคำร้อง ณ วันที่ 1 มกราคมของปีที่ยื่นคำร้อง หรือรายชื่อตามที่มีการเลือกตั้งครั้งล่าสุด ( แล้วกรณีที่ล่าสุดมีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน แต่เนื่องจากสมัครคนเดียว จึงไม่มีการเลือก ถือเป็นการเลือกตั้งล่าสุดหรือไม่และถือว่าทุกคนไปใช้สิทธิหรือไม่)

    5.กรณีที่ผู้ร่วมลงชื่อถอดถอนลงชื่อด้วยตนเอง แล้วสามารถมาถอนรายชื่อในภายหลังหลังยื่นคำร้องให้อำเภอแล้วหรือไม่ ( ดูจากกฎหมายอะไร )

    6.วิธีการถอนชื่อต้องทำในรูปแบบไหน มีเอกสารอะไร และพ่อแม่สามารถไปถอนชื่อของคนทั้งครอบครัว เช่น ลูก ด้วยหรือไม่

    7.กรณีรวบรวมรายชื่อไม่ครบจำนวน หน่วยงานราชการต้องทำยังไป เช่น ต้องแจ้งผู้ยื่นเรืองแก้ไข หรือประกาศผลเลย แล้วจบ

    8.กรณียื่นเรื่องแล้วไม่ผ่าน ชาววบ้านสามารถรวบรวมรายชื่อใหม่แล้วยื่นเข้าไปใหม่หรือไม่

    9.ในกรณีที่ชาวบ้านไม่เอาผู้ใหญ่บ้าน โดยยังไม่มีความผิดนั้น ในหนังสือลงชื่อนั้นไม่ต้องระบุความผิดใช่หรือไม่

    10.ทุกคำถามรบกวนอาจารย์ระบุกฎหมายหรือระเบียบปฎิบัติที่ถือเป็นแนวปฎิบัติด้วยค่ะ เพื่อจะใช้เป็นตวามรู้และเป็นข้อมูลสำคัญในการเข้าชื่อต่อสู้ครั้งใหม่ค่ะ ประกอบกับตอนนี้เราชาวบ้านมีความรู้สึกว่าหน่วยงานราชการทำงานโดยไม่ได้มองความเดือดร้อนหรือข้อเรียกร้องประชาชนเป็นสำคัญ แต่กลับให้ความสำคัญกับการมองทางออกให้ผู้ใหญ่บ้าน

    11.ใคร่รบกวนอาจารย์ช่วยแนะนำแนวทางที่เราพอจะกระทำได้เพิ่อให้การต่อสู้ประสบความสำคัญ หรือต้องติดต่อหน่วยงานนอกเหนือจากอำเภอ

    12.สาเหตุที่มีผู้สมัครผู้ใหญ่บ้านคนเดียว เนื่องจากผู้ใหญ่บ้านคนเก่าได้ให้คำมั่นด้วยวาจากับประชาชนหลายๆคนว่า จะขอเป็นเพียงระยะสั้นๆ เนื่องจากอีกเพียง 1 ปี 8 เดือนก็จะเกษียณแล้ว  ชาวบ้านพิจารณาแล้วเห็นว่า ให้ผู้ใหญ่บ้านคนเดิมเป็นอีกจนครบเกษียณก็ไม่เสียหาย อีกทั้งเพื่อความสามัคคีของหมู่บ้าน ทุกคนจึงร่วมใจกันไม่ไปสมัคร แต่ในวันสุดท้ายของการรับสมัคร ผู้ใหญ่บ้านคนเดิมกลับให้ลูกสาว( อายุ 25-28 )ไปสมัครแทน เมื่อชาวบ้านทราบก็ปิดรับสมัครแล้ว แก้ไขอะไรไม่ได้ เราชาวบ้านจึงต้องเรียกร้องสิทธิที่ถูกฉ้อฉลไปคืน แต่ผู้ใหญ่บ้านกลับขู่ชาวบ้านว่าจะฟ้องหมิ่นประมาท ถ้าเอาเรื่องคำมั่นดังกล่าวไปพูดในที่สาธารณะ  ช่วยแนะนำด้วยค่ะ

    13.การร้องเรียนการทำงานในโครงการต่างๆของผู้ใหญ่บ้านคนเดิมหลังเกษียณ สามารถกระทำได้หรือไม่  เราเคยร้องเรียนกับอำเภอแล้วไม่เห้นมีอะไรเกิดขึ้นเลย นอกจากวันที่เราไปยื่นเรื่องถอดถอนผู้ใหญ่บ้านแล้ว มีเจ้าหน้าที่แข้งด้วยวาจาว่าตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว ไม่เห็นมีความผิดอะไร  แค่นั้น จบ

    14.รูปแบบหนังสือลงชื่อถอดถอนมีรูปแบบตายตัวหรือไม่ ถาไม่เป็นไปตามรูปแบบนั้น แต่มีช้อมูลที่มีสาระสำคัญครบถ้วนไม่ทราบวาสสามารถใช้ได้หรือไม่

    15.กรณีหน่วยงานราชการสรุปว่าการถอดถอนตกไป เราสามารถขอหลักฐานเอกสารที่เรายื่นเรื่องเข้าไปคืน และนำมารวบรวมเพิ่มหรือแก้ไขเพื่อยื่นใหม่ได้หรือไม่

     

    รบกวนด้วยค่ะ เพราะหลายตนถอดใจแล้วค่ะ

    ขอแสดงความนับถือ

    เราผู้ไร้ที่พึ่งทางกฎหมาย

    คำตอบ

    เรียน ผู้ไร้ที่พึ่งทางกฎหมาย

    1. ตามกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่มาตรา ๑๔(๖) กำหนดให้ผู้ใหญ่บ้านพ้นจากตำแหน่งเมื่อราษฎรในหมู่บ้านที่มีคุณสมบัติตามมาตรา 11 ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา 11 ทั้งหมดของหมู่บ้าน เข้าชื่อกันขอให้ออกจากตำแหน่ง เมื่อได้ชื่อครบแล้ว นายอำเภอต้องสั่งให้พ้นจากตำแหน่งไม่ว่าจะมีความผิดหรือไม่  คุณสมบัติของราษฎรตามมาตรา 11 คือ

       (๑) มีสัญชาติไทย และมีอายุไม่กว่า 18 ปีในวันที่ 1 ของปีที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน

       (๒) ไม่เป็นภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวช

       (๓) ไม่คนวิกลจรติ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

       (๔) มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ประจำในหมู่บ้านและมีชื่อในทะเบียนบ้านติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๓ เดือนถึงวันเลือก

    2. ได้

    3. ต้องรวบรวมให้ได้กึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิทั้งหมด

    4. ดูข้อ 1

    5. การถอนชื่อเป็นสิทธิของแต่ละคน  แต่ถ้ายื่นถึงนายอำเภอครบแล้ว การถอนหลังจากนั้นไม่น่าจะมีผลอะไร เพราะทันทีที่มีคนเข้าชื่อครบและยื่นต่อนายอำเภอแล้ว นายอำเภอมีหน้าที่ต้องสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง

    6. การถอนชื่อเป็นสิทธิส่วนบุคคล คนอื่นถอนแทนไม่ได้

    7. ถ้าชื่อที่ยื่นไปไม่ครบ นายอำเภอก็ทำอะไรไม่ได้

    8. ย่อมทำได้ไม่มีอะไรห้าม

    9. เพียงแต่ระบุว่าชาวบ้านประสงค์จะให้ออกจากตำแหน่ง โดยไม่ต้องระบุความผิด

    10 เจ้าหน้าที่เขาก็ต้องปฏิบัติไปตามกฎหมาย

    11. ไม่ทราบเหตุผล เลยไม่รู้จะแนะนำอย่างไร

    12  คงไม่สามารถแนะนำให้ไปทะเลาะกันได้

    13. การขอให้ออกจากตำแหน่งตามมาตรานี้ไม่จำเป็นต้องมีความผิด

    14 ไม่มี

    15 ไม่แน่ใจว่าทางอำเภอเขาต้องเก็บไว้เป็นหลักฐานหรือไม่ ควรลองถามเขาดู

        สำหรับกฎหมายนั้น ควรดูกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ มาตรา ๑๔ (๖)


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    4 ตุลาคม 2552