ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    043433 บริษัทรักษาความปลอดภัยต้องรับผิดหรือไม่รปภ.20 มกราคม 2554

    คำถาม
    บริษัทรักษาความปลอดภัยต้องรับผิดหรือไม่
    บริษัทผู้ว่าจ้างตกลงจ้างบริษัทรักษาความปลอดภัย  ดูแลความปลอดภัยภายในบริเวณของบริษัทผู้ว่าจ้าง โดยทำสัญญาขึ้นมา 1 ฉบับ เมื่อเดือนตุลาคม 2553มีกำหนด 1 ปี โดยทั้งสองฝ่ายยังไม่ได้ลงลายมือชื่อแต่อย่างไร ต่อมาประมาณเดือนธันวาคมได้เกิดมีทรัพย์สินของบริษัทผู้ว่าจ้างสูญหาย บริษัทผู้ว่าจ้างได้เรียกร้องค่าเสียหายของทรัพย์สินประมาณ 1 แสนบาท ต่อบริษัทรักษาความปลอดภัย แต่ก่อนจะเกิดเหตุทางบริษัทรักษาความปลอดภัยได้แจ้งต่อบริษัทผู้ว่าจ้างโดยวาจา (ในสัญญาระบุว่าต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร) ว่าแสงสว่างไม่เพียงพอ และขอให้ติดตั้งกล้องวงจรปิดให้ เนื่องจากจำนวนรปภ.ไม่ทั่วถึงกับจำนวนพื้นที่ แต่ทางบริษัทผู้ว่าจ้างก็มิได้ดำเนินการแต่อย่างใด จนเกิดเหตุดังกล่าวขึ้น ผมอยากสอบถามอาจารย์ว่าทางบริษัทรักษาความปลอดภัยต้องรับผิดต่อค่าเสียหายหรือไม่ (ถ้าเหตุดังกล่าวมิได้เกิดจากความจงใจ หรือ ประมาทเลินเล่อของพนักงานรปภ.แต่อย่างใด)  และข้อตกลงตามสัญญาที่ทำขึ้นโดยยังมิได้ลงลายมือชื่อกันใช้บังคับต่อกันได้หรือไม่ หรือมีทางไหนที่พอจะยกขึ้นต่อสู้ได้บ้างครับ  ขอความกรุณาให้อาจารย์ช่วยตอบคำถามให้ด้วยนะคับ ตอนนี้ร้อนใจมากคับ      ขอบพระคุณอย่างสูงครับ
    คำตอบ
    สัญญาจ้างแรงงานหรือจ้างทำของนั้น ไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือก็อาจใช้บังคับกันได้ ส่วนเรื่องที่ถามมานั้น ควรปรึกษาทนายความ เพราะเขาจะได้ซักข้อเท็จจริงและอธิบายข้อต่อสู้ให้ได้
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    20 มกราคม 2554