ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    024335 นิยามของค่าจ้างที่นำมาเป็นฐานคำนวณค่าล่วงเวลาและค่าชดเชยPam1 พฤศจิกายน 2550

    คำถาม
    นิยามของค่าจ้างที่นำมาเป็นฐานคำนวณค่าล่วงเวลาและค่าชดเชย

    สวัสดีค่ะอาจารย์มีชัย

    ขอเรียนถามอาจารย์เกี่ยวกับปัญหากฎหมายแรงงาน ดังนี้นะคะ

     

    ที่บริษัทมีการแยกประเภทของการจ่ายเงินเดือนโดยคร่าว ๆ  ดังนี้ค่ะ

    1.Basic salary

    2.Licence fee

    3.Site allowance

    4.Position fee

    5.Bus fee

    6.Overtime

     

    สำหรับลำดับที่ 1-5 บริษัทได้จ่ายเป็นรายได้ที่แน่นอนทุกเดือน ๆ ละเท่า ๆ กันค่ะ

    (ค่ารถในลำดับที่ 5 เป็นค่ารถที่บริษัทได้ช่วยเหลือให้แก่พนักงานทุกคนคนละเท่า ๆ กันอยู่แล้วค่ะ)

    ส่วนลำดับที่ 6 ค่าล่วงเวลา ก็จ่ายตามจำนวนชั่วโมงที่พนักงานแต่ละคนทำแต่ละเดือน

     

    อยากจะขอคำปรึกษาทางกฏหมายค่ะว่าการจ่ายค่าล่วงเวลาแต่ละเดือนที่ถูกต้องตามกฎหมาย

    จะต้องนำรายได้ลำดับไหนบ้างมาเป็นฐานเพื่อคำนวณ  เพราะว่าในปัจจุบันที่ทางบริษัทคำนวณให้

    เค้าแค่คำนวณจากตัว Basic salary อย่างเดียวหน่ะคะ  คือโดยส่วนตัวมีความเห็นว่าไม่ถูกต้อง

    เพราะรายได้ในลำดับที่ 2-3-4-5 ก็น่าจะเป็นค่าจ้างที่ควรจะนำมาบวกกับ Basic salary เพื่อคำนวณเป็นค่าล่วงเวลาหรือค่าชดเชยไปด้วย

    รบกวนช่วยตอบคำถามนี้ด้วยนะคะ  ว่าตามกฎหมายจริง ๆ แล้วต้องคำนวณกันอย่างไรค่ะ

    ขอบพระคุณมากค่ะ

    คำตอบ

    เรียน Pam

       ก็ต้องคำนวณอย่างที่คุณเข้าใจนั่นแหละยกเว้น กรณีรายการ 4 ซึ่งถือว่าเป็นสวัสดิการ

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    1 พฤศจิกายน 2550