ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    020598 แรงงานสิน14 กุมภาพันธ์ 2550

    คำถาม
    แรงงาน

    สวัสดีครับท่านอาจารย์       

             กระผมต้องรบกวนเรียนถามอาจารย์อีกครั้ง เกี่ยวกับเรื่องการส่งลูกจ้างไปทำงานต่างประเทศดังที่ผมเคยเรียนถามอาจารย์ไปแล้ว และอาจารย์ได้ตอบเมื่อวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ แล้วนั้น

            ตาม พรบ.จัดหางานและคุ้มครองคนงาน พ.ศ. ๒๕๒๘ มาตรา ๔๙  ห้ามมิให้นายจ้างซึ่งอยู่ในประเทศไทยพาลูกจ้างไปทำงานในต่างประเทศ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดี

         มาตรานี้เอาผิดแก่ลูกจ้างได้ด้วยหรือไม่   ข้อเท็จจริงมีว่า "ในขณะที่มีการตกลงทำสัญญากันไปทำงานที่ต่างประเทศนั้น ลูกจ้างไม่รู้ว่านายจ้างไม่ได้รับอนุญาติให้ส่งลูกจ้างไปทำงานต่างประเทศได้   โดยนายจ้างได้ให้ลูกจ้างไปทำ พาสปอร์ต และนำพาสปอร์ต มาให้นายจ้าง แล้วนายจ้างจะนำพาสปอร์ตลูกจ้างไปทำวีซ่า ซึ่งเป็นวีซ่าท่องเที่ยว ซึ่งหลังจากนายจ้างได้ให้พาสปอร์ตลูกจ้างไป พาสสปอร์ตก็อยู่กับนายจ้างตลอด ซึ่งนายจ้างจะให้ลูกจ้างอีกครั้งก็ต่อเมื่อไปถึงด่านตรวจ ต.ม.ในวันเดินทาง  เมื่อ ต.ม.ถามว่าจะไปทำอะไร นายจ้างหรือตัวแทนนายจ้างได้บอกแก่เจ้าหน้าที่ว่า"จะไปท่องเที่ยว ลูกจ้างเหล่านี้ เป็นพนักงานดีเด่น " ลูกจ้างก็ไม่เข้าใจทำไมนายจ้างถึงได้ตอบ ด่าน ต.ม.เช่นนั้น ได้แต่ งง  แต่ด่าน ต.ม.ก็ไม่แน่ใจว่าจะไปท่องเที่ยวหรือเปล่า เพราะมีตัวเครื่องบินกลับ แบบ เปิด ไว้ ก็เลยส่งลูกจ้างพร้อมนายจ้างไปยังด่าน แรงงาน ซึ่งเมื่อไปถึงด่านแรงงาน นายจ้างหรือตัวแทนนายจ้างก็ยัง พูดยืนยันเช่นเดิมว่าไปท่องเที่ยว อย่างไรก็ตามด่านแรงงานก็ให้ลูกจ้างเซ็นเอกสาร ว่าจะกลับมารายงานตัวภายใน ๑๐ วัน ด้วยสถานการณ์บังคับขณะนั้นอีกทั้งไม่รู้ไม่เข้าใจ อีกทั้งไม่เคยไปต่างประเทศ ก็เลยเซ็นรับรองไป.........และได้เดินทางไปต่างประเทศ ..ทั้งที่เมื่อเห็นเหตุการณ์เช่นนั้นลูกจ้างทุกคนไม่ต้องการที่จะเดินทางไปแล้ว

             เช่นนี้ ลูกจ้างจะมีความผิดด้วยหรือไม่?   

             ที่ถามท่านอาจารย์ครั้งนี้ก็เพราะว่า ลูกจ้างไม่ต้องการให้นายจ้างหลอกลูกจ้างคนอื่นๆ ไปทำงานที่ต่างประเทศนั้นอีก เพราะเป็นลักษณะเป็นการแฝงเร้นบีบบังคับลูกจ้างทางอ้อมให้ขายบริการทางเพศ  ซึ่งลูกจ้างประสงค์จะแจ้งความดำเนินคดีต่อนายจ้างผู้นี้เพื่อไม่ให้เป็นภัยแก่บุคคลอื่นอีกต่อไป  แต่ก็ด้วยเกรงว่าตนจะมีความผิดไปด้วย ดังที่นายจ้างข่มขู่.....จึงขอเรียนปรึกษาท่านอาจารย์ ครับ

            และหากว่าลูกจ้างมีความผิดด้วย จะมีทางอื่น ที่จะดำเนินการกับนายจ้างได้หรือไม่   เพราะหากลูกจ้างมีความผิดด้วยลูกจ้างก็ไม่กล้าที่จะแจ้งความดำเนินคดี.

    ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างสูงครับ

    สิน

    คำตอบ
     ความผิดตามมาตรา ๔๙ เป็นความผิดสำหรับนายจ้าง   ลูกจ้างไม่มีความผิดด้วย 
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    14 กุมภาพันธ์ 2550