ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    019847 แรงงานจอย12 ธันวาคม 2549

    คำถาม
    แรงงาน

    เรียน อาจารย์มีชัย ที่เคารพ

            ๑.) ตามระเบียบข้อบังคับของบริษัทฯ การลาออกจากงานจะต้องยื่นหนังสือลาออกอย่างน้อย ๓๐ วัน กรณีตามขัอเท็จจริง สามีของดิฉันยื่นหนังสือลาออกวันที่ ๑๕ พ.ย.๒๕๔๙ โดยหนังสือลาออกดังกล่าวมีผลใช้บังคับวันที่ ๓๐ พ.ย.๒๕๔๙ ซึ่งเท่ากับว่าสามีของดิฉันทำงานครบเดือน แต่ปรากฎว่า ณ ปัจจุบันบริษัทฯ ยังมิได้จ่ายเงินเดือนเลย ดิฉันและสามีจะทำอย่างไรดี

            ๒.) อนึ่ง หนังสือลาออกดังกล่าว ทางบริษัทฯ มิได้อนุมัติให้ลาออกแต่กลับมีหนังสือเลิกจ้างแทน กรณีตามข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้นเมื่อสามีของดิฉันได้ฝ่าฝืนข้อบังคับของบริษัทฯ และบริษํทฯ ก็มิได้มีหนังสือตักเตือนตามกฎหมายแรงงาน ม.๑๑๙ (๔) กรณีนี้สามีของดิฉันสามารถเรียกเงินค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานได้หรือไม่

            ดังนั้น สามีของดิฉันมีสิทธิเรียกร้องเงินเดือนจากบริษัทฯ ได้หรือไม่ อย่างไร และสามารถเรียกเงินค่าชดเชยจากบริษัทฯ นายจ้างได้หรือไม่  

            จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาให้คำตอบ

            ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง

            จอย          

             

    คำตอบ

    เรียน จอย

         1. ร้องต่อสำนักงานแรงงาน

         2. ต้องขึ้นอยู่กับข้อบังคับและสัญญาจ้างงานระหว่างกันว่าระบุเงื่อนไขในการลาออกไว้อย่างไร

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    12 ธันวาคม 2549