ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    018908 เงินทดแทนเรื่องการย้ายฐานกัปตันชาตรี สมนึก9 ตุลาคม 2549

    คำถาม
    เงินทดแทนเรื่องการย้ายฐาน

     อาจารย์ครับ ผมขออนุญาตเรียนถามเรื่องเงินทดแทนเนื่องจาก การย้ายสถานที่ทํางานจากดอนเมืองไปสุวรรณภูมิ โดยบริษัทได้จ่ายค่าย้ายฐานให้กับพนักงานที่มีผลกระทบในส่วนอื่นๆของบริษัท โดยพนักงานระดับ 1-7 ได้รับคนละ 20000 บาท มากกว่าระดับ7 ได้รับคนละ 30000 บาท แต่ลูกเรือทั้งหมดไม่ได้รับเงินดังกล่าว
    โดยDDให้เหตุผลว่าลูกเรือได้รับเบี้ยเลี้ยงแล้ว ลูกเรือไม่ต้องไปศูนย์ปฏิบัติการทุกวัน และลูกเรือได้รับสวัสดิการรถส่งบ้านอยู่แล้ว

    ไม่ทราบว่าจากข้อเท็จจริงข้างต้นนี้ ผมและลูกเรือทุกท่านมีสิทธิได้รับเงินค่าย้ายฐานเหมือนพนักงานที่มีผลกระทบในส่วนอื่นๆด้วยหรือไม่ อ้างอิงได้จากตัวบทกม.หรือคําพิพากษาฏีกาใดบ้างครับ และกระผมขออนุญาตอาจารย์ในการนําคําตอบที่ได้ไปเผยแพร่ใน website TG fleet.com ซึ่งมีกระผมเป็นผู้ดูแลอยู่ด้วยครับ ขอบพระคุณอาจารย์มากครับ
    _________________

    คำตอบ

    เรียน กัปตันชาตรี

          ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนดเรื่องกรณีนายจ้างย้ายสถานประกอบอันเป็นเหตุให้กระทบกระเทือนต่อการดำรงชีวิตของลูกจ้างไว้ว่า ลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างได้โดยมีสิทธิได้รับเงินชดเชย  ไม่พบว่านายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินให้ลูกจ้าง เข้าใจว่าการที่บริษัทจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้าง เป็นเรื่องของความสมัครใจ หรือมิฉะนั้นก็เป็นการจ่ายตามข้อบังคับหรือระเบียบของบริษัท (ซึ่งผมไม่มีทางทราบได้ว่ามีอยู่อย่างไร) ถ้าเป็นกรณีที่นายจ้างจ่ายเงินเพื่อบันเทาผลกระทบ นายจ้างก็ย่อมมีสิทธิจ่ายให้เฉพาะลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบ โดยไม่จ่ายให้แก่ลูกจ้างที่ไม่ได้รับผลประทบได้

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    9 ตุลาคม 2549