ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    014687 คำถามเกี่ยวกับระเบียบงานบุคคลศรัณย์14 สิงหาคม 2548

    คำถาม
    คำถามเกี่ยวกับระเบียบงานบุคคล

    ขอเรียนถามเกี่ยวกับระเบียบบุคคลครับ (ผมเคยพิมพ์คำถามเข้ามา แต่พอมาเช็คคำถามเหมือนจะหายไป จึงขออนุญาตถามใหม่ ถ้าเป็นการถามซ้ำ ต้องกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ)

    1. ถ้าพนักงานที่ลาออกไปแล้วติดต่อมาที่บริษัทเพื่อขอให้ออกหนังสือรับรองการทำงาน บริษัทจะต้องออกให้ทุกกรณีหรือไม่ แม้จะผ่านไปหลายปีแล้วก็ตาม ตามกฎหมายแรงงานได้กำหนดเรื่องนี้ไว้อย่างไรครับ  ที่เป็นห่วงคือ พนักงานที่ลาออกไปหลายปีแล้ว เราก็ไม่รู้ว่าเขาไปทำอะไรบ้างในระหว่างนั้น การจะออกหนังสือรับรองให้ก็ดูจะเป็นกังวลอยู่เหมือนกัน แต่หากจะไม่ออกให้ ก็ดูเหมือนจะแล้งน้ำใจไปอีก

    2. ตามกฎหมายได้ให้สิทธิพนักงานลากิจหรือลาพักร้อนได้ตามกำหนด อยากทราบว่า นายจ้างมีสิทธิไม่อนุญาตให้ลาได้หรือไม่ เช่น กรณีมีงานเร่งด่วน  พนักงานอาจอ้างว่าเขามีสิทธิตามกฎหมาย  อย่างในกรณีบางบริษัทกำหนดว่าเดือนธันวาคมห้ามลาพักร้อน อย่างนี้พนักงานจะอ้างสิทธิได้หรือไม่ครับ

    ขอบคุณครับ

    คำตอบ

        1. ความผูกพันในเรื่องการออกหนังสือรับรองในการทำงาน ไม่ใช่เรื่องกฎหมายแรงงาน หากแต่เป็นความผูกพันตามกฎหมายทั่วไป ถ้าไม่มีเหตุอะไรที่จะปฏิเสธไม่ออกให้ ก็ต้องออกให้เขา แต่การออกหนังสือรับรองนั้นก็เป็นการออกตามสภาพความเป็นจริง เช่น เคยทำงานตั้งแต่เมื่อไรถึงเมื่อไร และในระหว่างที่ทำงานอยู่นั้นมีพฤติการณ์อย่างไร  โดยไม่จำเป็นต้องรับรองถึงพฤติกรรมภายหลังจากนั้น

       2. การลากิจและลาป่วยเป็นสิทธิของลูกจ้าง เมื่อเขามีกิจหรือป่วย จะไม่ให้เขาลาไม่ได้ ตราบเท่าที่ลาไม่เกินตามกำหนดไว้ในข้อบังคับ  ส่วนการลาพักร้อนนั้น บริษัทอาจกำหนดได้ว่าจะลาช่วงไหนได้บ้าง

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    14 สิงหาคม 2548