ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    050244 มรดกกนกวรรณ16 กรกฎาคม 2557

    คำถาม
    มรดก

    สามีได้รับมรดกจากบิดา โดยบางส่วนอยู่ในชื่อของสามี บางส่วนยังอยู่ในชื่อของบิดา โดยญาติๆได้ตั้งลูกพี่ลูกน้องเป็นผู้จัดการมรดกในส่วนของบิดา ต่อมาสามีเสียชีวิต และไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ อยากทราบว่า

    1. มรดกในชื่อของสามี ต้องแบ่งอย่างไร นอกจากภรรยาและบุตร ญาติพี่น้องของสามีมีส่วนในมรดกหรือไม่

    2. มรดกที่ยังอยู่ในชื่อบิดา ที่ตั้งญาติเป็นผู้จัดการมรดกไว้ เมื่อสามีเสียชีวิต การแต่งตั้งเป็นโมฆะหรือไม่

    3. หากการแต่งตั้งไม่เป็นโมฆะ ดิฉันจะขอยกเลิก และขอเป็นผู้จัดการมรดกของสามีที่ยังอยู๋ในชื่อ บิดาสามีได้หรือไม่

    4. ระหว่างนี้ (เขาได้พูดไว้ แต่ดิฉันไม่ตกลง) หาก ญาติที่เป็นผู้จัดการมรดก โอนเงินเข้าบัญชี โดยแจ้งว่าเป็นค่าซื้อขายบ้านเช่า โดยราคาไม่เหมาะสม โดยอ้างเหตุจำเป็นว่า เขาเห็นว่าพิจารณาแล้ว จำเป็นต้องขาย (ให้กับญาติๆสามี) เพราะเหตุดิฉันมีหนี้สิน และต้องเลี้ยงดูบุตรหลายค โดยดิฉันไม่ได้ร้องขอ เช่นนี้ ดิฉันจะฟ้องร้องได้หรือไม่

    กราบขอบพระคุณ

    คำตอบ

    1. เมื่อที่ดินอยู่ในชื่อของสามี ที่ดินนั้นก็ไม่ใช่มรดกของบิดา แต่เป็นทรัพย์สินของสามี เมื่อสามีตายจึงเป็นมรดกของสามีที่จะตกได้แก่บุตรและภรรยา ญาติพี่น้องอื่นไม่เกี่ยว

    2. ไม่เป็นโมฆะ เว้นแต่คุณจะไปร้องคัดค้านว่าพวกเขาไม่ควรเป็นผู้จัดการมรดก

    3.คุณอาจร้องขอเข้าเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับเขาในนามของบุตรของคุณได้ แต่ตัวคุณไม่มีสิทธิในมรดกในส่วนที่เป็นของบิดาของสามี  คุณมีแต่สิทธิในส่วนที่เป็นทรัพย์สินของสามีคุณ ตามข้อ 1.

    4. คุณควรรีบร้องขอต่อศาลเพื่อเข้าเป็นผู้จัดการมรดกร่วมแทนบุตรของคุณโดยเร็ว จะได้มีสิทธิมีเสียงกับเขาได้


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    16 กรกฎาคม 2557