ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    048959 การทำพินัยกรรม 2 ทอดนุชา28 มีนาคม 2556

    คำถาม
    การทำพินัยกรรม 2 ทอด
    เรียนอ.มีชัยค่ะ
    ดิฉันมีทรัพย์สินบางส่วนต้องการยกให้หลาน (ลูกของพี่สาว)ในอนาคต แต่ต้องการให้แฟนของดิฉันได้รับก่อนเผื่อฉุกเฉินต้องใช้เงิน แล้วถ้าแฟนตายก็ให้ยกมรดกเหล่านั้นมายังหลานต่อ  ดังนั้นจะทำพินัยกรรมแบบฝ่ายเอกสารฝ่ายเมือง พร้อมกัน 2 ฉบับ โดยจะให้มรดกบางส่วนกับแฟน (ไม่ได้จดทะเบียน ไม่มีลูก) เพื่อเอาไว้ใช้ยามแก่ และเพื่อเป็นการป้องกันมรดกที่เราให้แฟนไปตกไปฝั่งบ้านของแฟน แฟนจะทำพินัยกรรมยกมรดกที่ได้จากเรา(ถ้ายังมีเหลืออยู่ณวันเสียชีวิต)ให้กับพี่น้องทางบ้านเรา ซึ่งเป็นความตั้งใจของเราและแฟน ขอถามดังนี้ค่ะ
    1 เนื่องจากการทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง ต้องใช้เอกสารตัวจริงมาแสดงว่าเราเป็นเจ้าของ ในกรณีพินัยกรรมของแฟนซึ่งยังไม่ได้มรดกจากเรา จะสามารถทำพินัยกรรมได้หรือไม่ แล้วจะอ้างอิงทรัพย์สินมรดกที่ยังไม่เกิดได้อย่างไร และควรทำรูปแบบใดจึงจะรัดกุมคะ
     
    2.ควรทำฉบับเดียวหรือแยกกันต่างคนต่างทำ ถ้าทำฉบับเดียวดิฉันต้องระบุในพินัยกรรมอย่างไรจึงจะได้ตามวัตถุประสงค์
     
    3.การไปจดพินัยกรรมที่สำนักงานเขตจำเป็นต้องเป็นเขตในทะเบียนบ้านหรือไม่ ถ้าเอาเขตที่ใกล้สะดวกแถวบ้านได้หรือไม่ จะทำให้ทายาทลำบากในการจัดการหรือไม่

    4 โฉนดที่ติดจำนอง ไม่มีตัวจริง สามารถใช้สำเนาอย่างเดียวได้หรือไม่ ในการยื่นเอกสารทำพินัยกรรม
     
    5 การระบุผู้จัดการมรดกในพินัยกรรม ผู้จัดการต้องปฎิบัติตามพินัยกรรมเท่านั้นใช่มั้ยคะ ผู้จัดการมรดกมีสิทธิ์บิดพลิ้วได้หรือไม่
     
    6.มีประกันชีวิตระบุผู้รับผลประโยชน์เป็นมารดาเรา กะแฟน โดยระบุความเกี่ยวข้องเป็นสามี  เงินจะถึงแฟนเรารึไม่ เพราะในความจริงไม่ได้แต่งงานไม่ได้จดทะเบียนกัน และไม่มีบุตรด้วยค่ะ
     
    7.และถ้ากรณีตายพร้อมกัน มรดกเราจะตกไปทางพ่อแม่พี่น้องแฟนหรือไม่ หรือไหลมาทางบ้านเรา
     
    รบกวนเวลาอ.ช่วยตอบด้วยค่ะ
    คำตอบ

    1.  ไม่จำเป็นต้องมีเอกสารแสดงความเป็นเจ้าของหรอก เพราะการทำพินัยกรรม เป็นเรื่องการเผื่อตายในวันข้างหน้า  ทรัพย์สินที่อาจได้มาในวันข้างหน้าก็สามารถทำพินัยกรรมยกให้ใครก็ได้

    2. ก็ต้องทำแยกจากกัน เพราะทรัพย์สินของใคร คนนั้นก็ต้องเป็นคนทำพินัยกรรม จะทำแทนกันหรือเผื่อกันไม่ได้

    3. การทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง คือ การไปที่อำเภอหรือเขต เพื่อให้นายอำเภอทำให้ (ไม่ใช่ทำเสร็จแล้วไปจดทะเบียน) ส่วนจะทำที่อำเภอไหนก็ได้

    4. การทำพินัยกรรมไม่จำเป็นต้องมีเอกสารเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์หรือสำเนาแต่อย่างใด ถ้ารู้ว่าเป็นทรัพย์อะไร และทรัพย์นั้นมีเอกสารปรกอบ ก็ระบุเลขที่อ้างอ้ิงไว้ชัดเจน เช่น โฉนดเลขที่เท่าไร ระวางอะไร ที่ดินเนื้อที่เท่าไร อยู่ตำบลใด อำเภอใด มีเนื้อที่เท่าไร

    5. ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่จัดการมรดกตามที่พินัยกรรมระบุไว้

    6. ถ้าคุณระบุให้เขาได้รับประโยชน์ด้วย เขาก็ย่อมได้รับตามที่คุณระบุ

    7. ถ้าตายพร้อมกัน  หากมีพินัยกรรม มรดกก็จะไปตามพินัยกรรม แต่ถ้าไม่มีพินัยกรรม ทรัพย์ของใครก็ย่อมตกไปยังทายาทของคนนั้น ถ้าสามีคุณตาย ทรัพย์สินของเขาก็ย่อมตกไปยังทายาทฝ่ายเขา ไม่ไหลมาทางฝ่ายคุณหรอก เพราะคุณกับเขาไม่ได้เป็นอะไรกันตามกฎหมาย ถึงเป็นสามีภรรยาตามกฎหมาย ก็ยังไม่ไหลมาอยู่นั่นเอง


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    28 มีนาคม 2556