ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    048636 มรดกผู้น้อย22 มกราคม 2556

    คำถาม
    มรดก

    ขอเรียนถามท่าน อาจารย์ เป็นกรณีศึกษา และกำลังเกิดขึ้นกับคนใกล้ตัว  ตอนนี้กำลังศึกษาว่ามีกรณีใดบ้างที่จะได้ที่ดินที่ขายไปคืนค่ะ  รบกวนท่านอาจารย์ช่วยแนะนำด้วยนะคะ 

    ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า

    แม่เสียชีวิตเมื่อปี 2548 พ่อมีชีวิตอยู่ และมีลูกอีก 5 คน ทรัพย์สินยังไม่ได้แบ่งแยกทั้งสินสมรส และ มรดกของแม่ ต่อมาเมื่อปี 2551 พ่อได้ไปขอเป็นผู้จัดการมรดก โดยปลอมลายมือชื่อลูก ทั้ง 5 คน ว่ายินยอมให้เป็นผู้จัดการมรดก แล้วได้เป็นผู้จัดการมรดก และต่อมาเมื่อธันวา 2555 พ่อได้โอนขายที่ดิน 1 แปลง (มีที่ดินอยู่หลายแปลง) ให้คนภายนอกที่อยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน โดยที่ลูกทุกคนไม่ทราบและไม่ได้ยินยอมด้วยทั้งเรื่องผู้จัดการมรดก และ ขายที่ดิน (เพราะลูกอยู่ต่างจังหวัด) พ่อขายในราคาที่ต่ำกว่าการซื้อขายที่ดินในระแวกนั้นมาก คือ ที่ดินในระแวกน้้น1 ไร่ ซื้อขายที่ 1 ล้าน บาท แต่พ่อขายไป 4 แสนบาท เมื่อลูกๆทราบเรื่องจึงไปขอซื้อที่ดินแปลงนั้นคืน ซึงระยะเวลาห่างกันแค่ 1 เดือน หลังจากที่เขาซื้อไปแล้ว คนที่ซื้อไปบอกจะขายคืนในราคา 7  แสนบาท แล้วภายในสิ่นเดือน มกราคม 56 นีเขาก็จะโอนขายต่อให้คนอื่นในราคา 7 แสนเหมือนกัน

    ขอเรียนถามท่านอาจารย์ดังนี้ค่ะ 

    1.กรณีที่พ่อซึ่งได้เป็นผู้จัดการมรดกโดยปลอมลายมือชื่อลูก เมื่อลูกๆ ขอถอนพ่อออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก เพราะเป็นผู้จัดการมรดกโดยไม่ชอบ (และที่ดินยังไม่ได้แบ่ง)  จะถือว่าที่ดินที่พ่อโอนขายให้บุคคลภายนอกโดยไม่มีสิทธิ์  ผู้ที่ซื้อไปจากพ่อย่อมไม่มีสิทธิ์ จะเข้าข้อกฎหมายผู้รับโอนไม่มีสิทธิ์ดีกว่าผู้โอนไหมคะ

    2. ถ้าเราจะฟ้องเพิกถอนการซื้อขาย ระหว่างพ่อกับคนซื้อ ด้วยเหตุที่ว่ารับซื้อโดยไม่สุตจริต จากข้อเท็จจริงเราพอมีทางชนะบ้างไหมคะ  ถ้าคนซื้อเขาอ้างว่าซื้อในส่วนของพ่อ แบบนี้ใครมีเปอร์เซ้นแพ้ชนะคะอาจารย์ ( ที่ว่ารับซื้อไม่สุจริต คนซื้อเขาต้องไม่สุจริตเรื่องไหนบ้างคะที่เราพอจะอ้างได้  เรื่องรู้ว่าลูกไม่ยินยอม รู้ว่าเป็นที่มรดก เรื่องราคา ได้ไหม)

    3. ถ้าลูกฟ้องพ่อในฐานะผู้จัดการมรดกยักยอกทรัพย์ เป็นอุทลุมไหมคะ ?

    หนูเคยอ่านฎีกา 1971/2551  ซึ่งตัดสินข้อกฎหมายผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน  แต่ฎีกานี้ข้อเท็จจริงมีการพูดคุยเรื่องแบ่งแยกไว้แล้ว แต่ยังไม่ได้โอน  แต่ของหนู่ยังไม่ได้มีการพูดถึงการแบ่งแยก  ตรงนี้จะพอเทียบเคียงได้ไหมคะอาจารย์

    รบกวนท่านอาจารย์ด้วยนะคะ

    ขอให้อาจารย์สุขภาพแข็งแรงคะ

     

    ผู้น้อยศึกษากฎหมาย

    คำตอบ

    1. การเพิกถอนความเป็นผู้จัดการมรดก มีผลตั้งแต่วันที่ศาลสั่งถอน  ในระหว่างที่ยังไม่ได้ถอน พ่อเป็นผู้จัดการมรดก จึงมีอำนาจขาย  เมื่อขายแล้วถ้าไม่เอาเงินมาแบ่งให้ทายาท ก็เป็นเรื่องระหว่างทายาทกับผู้จัดการมรดก ไม่เกี่ยวกับคนนอกที่ซื้อที่ดินไป เว้นแต่จะได้ความว่าผู้ซื้อที่ดินสมคบกับผู้จัดการมรดกเพื่อยักย้ายมรดก

    2. ถ้าจะฟ้องว่าเขาซื้อโดยไม่สุจริต ก็ต้องรู้ว่าเขาไม่สุจริตอย่างไร

    3. เป็นอุทลุม

    4. ตอบไม่ถูก เพราะไม่รู้ว่าฎีกานั้นเป็นเรื่องอะไร และเรื่องของคุณเท่าที่เล่ามา กรณีก็จะเป็นดังคำตอบในข้อ 1


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    22 มกราคม 2556