ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    048161 ให้โดยเสน่หาปุณ21 ตุลาคม 2555

    คำถาม
    ให้โดยเสน่หา

    นาง ก.มีความประสงค์จะยกเงินต้นพร้อมดอกเบี่ยทั้งหมดในบัญชีธนาคารซึ่่งฝากไว้ในามของนาง ก.เอง ให้กับนาย ข. หลานชายโดยจะยกให้เมื่อนาย ข.อายุครบ 25 ปี ดังนั้น เมื่อ ปี 2550  นาง ก.จึงได้เขียนข้อความไว้ในกระดาษแผ่นหนึ่งว่า "ข้าพเจ้า นาง ก.ขอยกเงินต้นพร้อมดอกเบี่ยทั้งหมดในบัญชีธนาคาร.....เลขที่............ให้กับ นาย ข. โดยมีเงือนไขว่าให้ตกเป็นของนาย ข. เมื่อนายข.อายุครบ 25 ปี" พร้อมกับลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน และนำเอกสารนั้นเก็บรวมไว้กับสมุดเงินฝาก (เงินฝากดังกล่าว นาง ก.ไม่เคยถอนเลย มีแต่ฝากเพิ่ม ยอดเงินจึงมีเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยมา)

    เมื่อปี 2552 นาง ก.ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินของตนหลายรายการให้กับทายาท โดยไม่ปรากฏว่ามีรายการเงินในบัญชีดังกล่าวมาแล้วระบุไว้ในพินัยกรรม  ต่อมาเมื่อปี 2554 นาง ก. ถึงแก่กรรม ซึ่งในขณะนั้น นาย ข.อายุเพียง 24 ปี

    ขอเรียนถามอาจารย์ว่า 1) เงินในบัญชีเงินฝากดังกล่าว จะตกเป็นนาย ข.เมื่ออายุ 25 ปี ตามความประสงค์ของนาง ก. หรือไม่ 2) ผู้จัดการมรดกของ นาง ก.จะมีหน้าที่ดำเนินการอย่างไรกับเงินจำนวนนี้

                                                            ขอบพระคุณค่ะ

    คำตอบ

    1. ไม่ตก เพราะเป็นเพียงความตั้งใจจะให้เท่านั้น ยังไม่ได้ให้ เงินนั้นจึงเป็นส่วนหนึ่งของมรดกที่ไม่มีพินัยกรรม (เพราะไม่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรม) และย่อมตกไปเป็นของทายาท

    2. ถ้าผู้จัดการมรดกและทายาทเห็นแก่ความตั้งใจของเจ้ามรดกที่จะยกเงินนี้ให้หลานชาย ก็อาจตกลงร่วมกัน แล้วตัดเงินดังกล่าวให้หลานชายไปก็ทำได้ 

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    21 ตุลาคม 2555