ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    047805 อายุความjawsour6 กันยายน 2555

    คำถาม
    อายุความ

    เจ้ามรดกมีลูกทั้งหมด 6 คน (เสียชีวิต ไป 1 คน ก่อนเจ้ามรดก )ในปี 2541 ตกลงนำลูก 5 คน เข้าชื่อกรรมสิทธิ์รวม เจ้ามรดกไม่ได้กล่าวถึง ทายาทของลูกที่เสียชีวิตไปก่อน โดยได้ทำการออกรังวัดไว้ แล้ว  และต่อมา เจ้ามรดกได้เสียชีวิต  ชื่อในโฉนดยังเป็นชื่อ ของเจ้ามรดก พร้อมลูก 5 คน ซึ่งถือกรรมสิทธิ์รวม ในปี 2542พี่น้อง 5 คน ยินยอมให้พี่คนโต เป็นผู้จัดการมรดกเฉพาะส่วน ของเจ้ามรดกเท่านั้น และรับโอนมรดกเฉพาะส่วนของเจ้ามรดกเท่านั้น ส่วนของคนอื่นคงเดิม (เป็นคำบรรยายส่วนหลังโฉนด )ซึ่งสอดคล้องกับคำพูดของเจ้ามรดกที่จะยกส่วนของเจ้ามรดกให้แก่คนโต เนื่องจากพี่คนโต เป็นคนไถ่จำนองที่มรดกทั้งหมดออกมา ทำให้การออกโฉนด ณ กรมที่ดินไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ

    พี่คนโตจึงได้ดำเนินการ แบ่งกรรมสิทธิ์รวมพร้อมออกเลขที่โฉนดให้แต่ละคนไว้เป็นสัดส่วน และต่างเข้าครอบครองในกรรมสิทธิ์ของตน บางคนก็ขายไปแล้ว บางคนก็จำนองไปแล้ว ต่อมา พี่น้อง 2 คน (เสียชีวิต ไป 2 คน) ได้ทำหนังสือ ขอให้พี่คนโต โอนกรรมสิทธิ์คืนให้แก่ทายาทของเจ้ามรดกภายใน 15 วัน มิฉะนั้นจะดำเนินตามกฎหมายต่อไป

    คำถาม  มี มาตราใด ที่จะแย้งกับ พี่น้องทั้งสองได้ หรือมีแนวทางตามข้อเท็จจริงอย่างไร

    คำตอบ
    ตอบไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่า ก่อนเจ้ามรดกตาย ได้โอนที่ดินให้แก่ลูกแล้วหรือยัง ถ้าโอนแล้วก็เป็นการยกให้ ไม่ใช่มรดก (มรดกจะเกิดมีขึ้นต่อเมื่อเจ้าของทรัพย์ตาย) เมื่อโอนให้ไปแล้ว เวลาเจ้าของทรัพย์ตาย ทร้ัพย์นั้นก็ไม่ใช่มรดกอีกต่อไป เพราะเป็นของคนอื่นไปแล้ว  อะไรที่ยังไม่ได้โอนทางทะเบียน (แม้จะเคยพูดว่าจะยกให้ใคร) ก็เป็นทรัพย์มรดก ตกได้แก่ทายาทโดยธรรมทุกคน เว้นแต่จะมีพินัยกรรมระบุไว้เป็นอย่างอื่น
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    6 กันยายน 2555